พบซาก ‘โลมาอิรวดี’ ลอยอืดบริเวณเกาะช้าง

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 65​ นายแสงสุรี ซองทอง หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด เปิดเผย​ว่า​ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างได้รับการแจ้งข่าวจากชาวบ้านพบซากโลมาอิรวดี ความยาว 1.04 เมตร น้ำหนัก 5.75 กิโลกรัม บริเวณสะพานอรุณ (อ่าวธรรมชาติ) ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ก่อนนำส่งซากโลมาอิรวดีตัวดังกล่าว ให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อพิสูจน์สาเหตุการตายต่อไป

ปัจจุบันโลมาอิรวดีมีจำนวนที่ลดลงไปมาก เนื่องการล่าของมนุษย์ บางพื้นที่นำมาบริโภค เพื่อเป็นการปกป้องจากการถูกทำร้ายจนใกล้จะสูญพันธุ์ประเทศไทย จึงได้จัดให้โลมาอิรวดี เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 

อีกทั้งยังถูกจัดให้อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และในที่ประชุม Cites ปี 2546 ไทยได้เสนอให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองบัญชีที่ 1 อันมีผลทำให้โลมาอิรวดีได้รับการคุ้มครองในระดับนานาชาติ จัดเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ 1 ใน 20 ของปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยอีกด้วย.

ข้อมูลล่าสุดจากกองทุนสัตว์สัตว์ป่าโลก (WWF) เมื่อปี 2563 ระบุว่า ขณะนี้เหลือโลมาอิรวดี หรือโลมาหัวบาตรใน 6 ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ถึง 325 ตัว ประกอบด้วย

ลาวและกัมพูชา ไม่ถึง 91 ตัว อินโดนีเซีย ไม่ถึง 70 ตัว ฟิลิปปินส์ ไม่ถึง 42 ตัว เมียนมา ไม่ถึง 72 ตัว และไทย ไม่ถึง 50 ตัว

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่โลมาอิรวดีมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องมีสาเหตุจากการล่าเพื่อบริโภค แหล่งอาศัยมีมลพิษ อีกปัจจัยโลมาอิรวดี หรือโลมาหัวบาตรเพศเมียต้องมีอายุ 7-9 ปี กว่าจะพร้อมผสมพันธุ์ และยังต้องใช้เวลาตั้งท้องนานถึง 14 เดือน กว่าจะคลอด จึงตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์อย่างยิ่ง

อ้างอิง: https://bit.ly/3hcWlgs

อ่านประกอบ 

https://www.facebook.com/igreenstory/posts/3047035122279047

Related posts

‘เฉลิมชัย’ นำทีมไทยถก COP29 นำเสนอ 5 ประเด็นลดก๊าซ 222 ล้านตัน

ค่าฝุ่นปากีสถานทะลุ 1,900 รั้งอันดับโลก อ้างพัดข้ามพรมแดนจากอินเดีย

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน