เจาะลึกน้ำท่วมใหญ่ในลิเบีย เหตุจากความขัดแย้งทางการเมือง

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ในเมืองเดอร์ ประเทศลิเบียยังไม่ชัดเจน แต่ตามรายงานของสหประชาชาติที่เผยแพร่เมื่อวันเสาร์ ระบุตัวว่ามีอย่างน้อย 11,300 คน ในขณะที่อีก 10,100 คนยังคงสูญหาย

เขื่อนร้าวนานแล้ว

เมื่อ 17 ปีที่แล้วนักอุทกวิทยา อับดุล วานิส อัสชัวร์ ได้รวบรวมข้อมูลสภาพเขื่อนทั้งสองแห่งในเมืองเดอร์นาที่แตก โดยพบว่าขณะนั้นเขื่อนเริ่มมีรอยร้าว และมีรายงานหลายฉบับเตือนภัยไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำเดอร์นาหากไม่มีการบำรุงรักษาเขื่อน

“มีคำเตือนก่อนหน้า รัฐรู้เรื่องนี้ดี ไม่ว่าจะผ่านผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการน้ำสาธารณะหรือบริษัทต่างชาติที่มาประเมินเขื่อน รัฐบาลลิเบียรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นในหุบเขาแม่น้ำเดอร์นา และรับทราบอันตรายของสถานการณ์นี้มาเป็นเวลานานแล้ว”

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 รัฐบาลได้ว่าจ้างงานบริษัท อาร์เซล ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศตุรกีเพื่อซ่อมแซมเขื่อนดังกล่าว ซึ่งจากการตรวจสอบของสำนักข่าว Reuters พบว่าในเว็บไซต์ของบริษัทอาร์เซล ได้ระบุโครงการซ่อมแซมเขื่อนในเดอร์นาว่าเริ่มในปี 2550 และแล้วเสร็จในปี 2555

ทางสำนักข่าว Reuters ได้ติดต่อไปยังบริษัทอาร์เซลเพื่อสอบถาม แต่ไม่ได้รับการตอบกลับ จึงติดต่อไปยังโฆษกคณะกรรมการกระทรวงทรัพยากรน้ำของลิเบีย จึงได้คำตอบว่าผู้รับเหมาไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้เนื่องจากสถานการณ์ด้านความปลอดภัยในประเทศของลิเบีย และไม่ได้กลับมาเมื่อมีการร้องขอทั้งที่รัฐบาลได้ทำการจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว

เหตุการณ์ความไม่สงบของลิเบียเริ่มตั้งแต่ในปี 2554 โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้ปกครองลิเบียซึ่งดำรงตำแหน่งมายาวนานถูกโค่นล้ม ในการลุกฮือของประชาชนจนเกิดสงครามกลางเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือ นาโต้

ถึงแม้กัดดาฟีจะพ่ายแพ้ต่อสงคราม แต่เมืองเดอร์นาก็ไม่ได้ถูกปกครองโดยกลุ่มรัฐบาลกลางซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานชาติแต่ถูกควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ที่สืบทอดต่อกันมา ซึ่งรวมถึงอัลกออิดะห์และกลุ่มรัฐอิสลาม

ในปี 2564 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของลิเบียได้รายงานว่ากระทรวงทรัพยากรน้ำ ‘เพิกเฉย’ ต่อการเดินหน้าบำรุงรักษาเขื่อนหลัก 2 ทั้งแห่งในเดอร์นา ซึ่งในรายงานระบุเพิ่มว่างบประมาณที่จัดสรรจำนวน 2.3 ล้านยูโร สำหรับการบำรุงรักษาและฟื้นฟูเขื่อน ถูกหักไปเพียงบางส่วน แต่ไม่ได้แจ้งว่าเงินเหล่านั้นถูกใช้ไปแล้วหรือถูกใช้ไปเพื่ออะไร

ระบบ (ไม่) เตือนภัย

นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าเหตุการสูญเสียครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ความล้มเหลวในการซ่อมแซมเขื่อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระบบเตือนภัยที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ขัดแย้ง

อับดุลเมนัม อัล-ไกธี นายกเทศมนตรีเมืองเดอร์นา กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์อาหรับ อัล-ฮาดาธ เมื่อวันศุกร์ว่าเขาได้สั่งอพยพผู้คนออกจากเมืองเป็นการส่วนตัว 3-4 วันก่อนเกิดภัยพิบัติ ชาวบ้านบอกกับสำนักข่าว Reuters ว่ามีตำรวจบอกให้พวกเขาอพยพ แต่ดูเหมือนจะมีเพียงไม่กี่คนที่ฟังและอพยพออกจากพื้นที่

แม้กระทั่งในคืนวันอาทิตย์ก่อนพายุจะเข้าเขื่อนจะแตก คณะกรรมการความมั่นคงเดอร์นาได้โพสต์ประกาศเคอร์ฟิว ระบุว่าป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรักษาความปลอดภัยในการเผชิญกับสภาพอากาศที่คาดการณ์ไว้

คืนเดียวกันนั้น กระทรวงทรัพยากรน้ำก็ออกโพสต์ผ่านเฟสบุ๊กเพจแจ้งให้ประชาชนไม่ต้องกังวล “เขื่อนอยู่ในสภาพดี และสิ่งต่างๆ อยู่ภายใต้การควบคุม”

เพตเตรี ทาลาส หัวหน้าองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในกรุงเจนีวา ระบุว่าในประเทศที่มีหน่วยงานด้านสภาพอากาศยังทำทำงานอยู่ เราสามารถหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บล้มตายของมนุษย์ส่วนใหญ่ได้

การกล่าวโทษไม่ใช่เรื่องง่ายในลิเบีย ที่ซึ่งกลุ่มติดอาวุธหลายสิบกลุ่มทำสงครามกันไม่กี่ครั้ง โดยไม่มีรัฐบาลใดมีอำนาจทั่วประเทศนับตั้งแต่กัดดาฟีล่มสลาย

รัฐบาลลิเบียที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลจะอยู่ที่กรุงตริโปลี ทางตะวันตกของประเทศ ไม่มีอำนาจปกครองลิเบียตะวันออกซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมและบริหารของกองทัพแห่งชาติลิเบียแห่งคาลิฟา ฮาฟเตอร์ ซึ่งเป็นขั้วฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลลิเบีย

โครงการจัดการชลประทานที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในลิเบีย

ลิเบียมีประวัติยาวนานหลายทศวรรษเกี่ยวกับโครงการวิศวกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการจัดการน้ำในทะเลทราย ในสมัยของกัดดาฟี เกิดโครงการจัดการชลประทานที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Great Man-Made River ซึ่งเป็นการสูบน้ำจากชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินที่อยู่ลึกลงไปในทะเลทรายซาฮารา โดยส่งผ่านเครือข่ายท่อส่งน้ำใต้ดินไปยังเมืองต่างๆ รวมถึงลิเบียตะวันออก ครอบคลุมระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร จนถือได้ว่า 70% ของแหล่งน้ำจืดในลิเบียมาจากโครงการดังกล่าว

แต่นับตั้งแต่กัดดาฟีล่มสลาย ประเทศถูกแบ่งออกเปน 2 ฝั่ง และปกครองด้วย 2 ขั้วอำนาจ ที่ใช้กลไกความมั่งคั่งของทรัพยากร ‘น้ำมัน’ เป็นตัวแข่งขันในการควบคุมการบริหาร

เมื่อวันพฤหัสบดี นายกรัฐมนตรีอับดุลฮามิด อัล-ดไบบาห์ หัวหน้ารัฐบาลกลางที่ได้รับการยอมรับในนานาชาติ ได้กล่าวโทษต่อความประมาทเลินเล่อ ความแตกแยกทางการเมือง สงคราม และ “สูญเสียงบประมาณ” สำหรับงานซ่อมแซมเขื่อนที่ยังจัดการไม่เสร็จ

ยูเซฟ อัลฟคาครี ครูประวัติศาสตร์ วัย 63 ปี เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์วันนั้นว่าเมื่อน้ำเริ่มไหลเข้าบ้าน ตัวเขา ลูกชายทั้งสองและพร้อมภรรยาหนีขึ้นไปบนหลังคา ในขณะนั้นน้ำไหลแรงและเชี่ยวเหมือนงู ทุกคนทำได้แค่สวดภาวนา และร้องไห้ เพราะเราเห็นเพียงความตาย

“ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราสูญเสียหลายพันคนในระหว่างสงคราม แต่เหตุการณ์นี้เราสูญเสียพวกเขาในวันเดียว”

ที่มา :

  • Sep 18,2023. Insight: ‘They knew’ – fury of Libyans that warnings went unheeded before flood.
  • Sep 18,2023. Rescuers call for more help in Libya as they face grim task of retrieving bodies from the sea. CNN
  • Sep 17, 2023. Flood-hit Libyan city facing long recovery as search for missing goes on. Saltwir

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน