อินเดียเดือดระอุ เสี่ยงร้อนเกินขีดจำกัดมนุษย์จะอยู่รอด

A farmer pours water on himself while working at a wheat farm in Punjab, India, on Sunday, May 1, 2022. A blistering heat wave has scorched what fields in India, reducing yields in the second-biggest grower and damping expectations for exports that the world is relying on to alleviate a global shortage. Photographer: T. Narayan/Bloomberg

อินเดียประเทศที่มีประชากรอันดับ 2 ของโลก เสี่ยงเผชิญคลื่นความร้อนรุนแรงเกินขีดจำกัดที่มนุษย์จะอยู่รอด 

สำนักงานสภาพอากาศแห่งชาติคาดการณ์ว่าอินเดียจะเผชิญอุณหภูมิที่สูงขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดคลื่นความร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ซ้ำรอยจากปีที่แล้ว ซึ่งทำให้พืชผลเสียหายเป็นวงกว้างและทำให้ไฟดับนานหลายชั่วโมง

แม้อุณหภูมิที่สูงถึง 50 องศาเซลเซียสจะรุนแรงเกินมนุษย์จะทนไหว แต่ความเสียหายกลับเลวร้ายยิ่งกว่า โดยเฉพาะกับประชากร 1.4 พันล้านคนของอินเดียที่ติดอยู่ในเมืองที่แออัดและไม่สามารถเข้าถึงเครื่องปรับอากาศได้

ความเครียดจากความร้อนสำหรับมนุษย์คือการรวมกันของอุณหภูมิและความชื้น” คีแรน ฮันต์ นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยรีดดิ้ง ผู้ศึกษารูปแบบสภาพอากาศของประเทศกล่าว “โดยทั่วไปแล้วอินเดียมีความชื้นมากกว่าที่ที่มีอากาศร้อนพอๆ กัน เช่น ทะเลทรายซาฮารา ซึ่งหมายความว่าการขับเหงื่อจะมีประสิทธิภาพน้อยลงหรือไม่มีประสิทธิภาพเลย

ในสภาวะอากาศร้อนและร่างกายขับเหงื่อได้น้อยหรือขับเหงื่อไม่ได้เลยนั้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายเราร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียส

พื้นฐานแล้วหากในอากาศมีความชื้นต่ำความร้อนจะถูกระบายออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง ในทางตรงกันข้ามยิ่งความชื้นในอากาศสูงเท่าไหร่ความร้อนกถูกระบายออกไปช้าทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น

เช่น เมื่ออุณหภูมิของอากาศที่วัดทั่วไปอยู่ที่ 46 องศาเซลเซียส และความชื้นอยู่ที่ 30% อุณหภูมิกระเปาะเปียกจะอยู่ที่ประมาณ 30.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่แต่ร่างกายทนได้

ในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิของอากาศที่วัดทั่วไปอยู่ที่ 39 องศาเซลเซียส และความชื้นสูง 77% อุณหภูมิกระเปาะเปียกจะอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย

นี่คือเหตุผลที่อินเดียนิยมอ่านอุณหภูมิกระเปาะเปียกซึ่งรวมอุณหภูมิของอากาศและความชื้นสัมพัทธ์เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถวัดความเครียดจากความร้อนในร่างกายมนุษย์ได้ดี 

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาสถานที่แห่งเดียวในโลกที่มีอุณหภูมิเทียบเท่ากับอินเดียตอนเหนือคือทะเลทรายซาฮาราและบางส่วนของคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งทั้งสองแห่งนี้มีประชากรเบาบางมากเมื่อเทียบกับอินเดีย และด้วยประวัติอุณหภูมิขอวอินเดียที่สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส การเพิ่มขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ถึงขีดจำกัดการอยู่รอดของมนุษย์ได้

คลื่นความร้อนส่งผลกระทบต่อสังคมอินเดียในวงกว้าง ความยืดเยื้อที่เกิดขึ้นทำให้ดินแห้งอย่างมีนัยสำคัญส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม เชื่อมโยงต่อความมั่นคงด้านน้ำ และอาจนำไปสู่น้ำท่วมเฉพาะที่เนื่องจากดินไม่สามารถดูดซับฝนที่ตกหนักได้

ความร้อนที่รุนแรงยังส่งผลต่อเศรษฐกิจ ผลิตภาพแรงงานลดลงโดยเฉพาะในภาคส่วนกลางแจ้ง เช่น เกษตรกรรมและการก่อสร้าง ความต้องการความเย็นจะเพิ่มสูงขึ้นซึ่งอาจทำให้โครงข่ายไฟฟ้าทำงานหนักขึ้นและนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพทั่วไป เช่น โรคลมแดด ซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้สูงอายุ และชุมชนที่มีรายได้น้อยอย่างไม่สมส่วน

เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาธนาคารโลกเตือนว่าอินเดียอาจกลายเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในโลกที่อุณหภูมิกระเปาะเปียกสูงเกินเกณฑ์การอยู่รอดที่ 35 องศาเซลเซียส ซึ่งในขณะนี้อุณหภูมิกระเปาะเปียกของอินเดีย อยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส 

อ้างอิง

29 Mar 2023. India’s heat action plans exclude the most vulnerable: Report. Aljazeera

Mar 28, 2023. Record heat waves push India closer to limit of human survival. Japantimes

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่