Q แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกคืออะไร?
A สิ่งที่เรียกว่า “น้ำแข็งในแถบขั้วโลก” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พืดน้ำแข็ง (Ice sheet) และหิ้งน้ำแข็ง (Ice shelf) พืดน้ำแข็ง เป็นมวลของธารน้ำแข็งที่ปกคลุมภูมิประเทศโดยรอบ สามารถพบได้ในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาเท่านั้น ส่วนหิ้งน้ำแข็ง เป็นแผ่นน้ำแข็งมีความหนาเป็นธารน้ำแข็งไหลลงสู่ชายฝั่งและบนพื้นผิวมหาสมุทร พบได้ในทวีปแอนตาร์กติกา, กรีนแลนด์, แคนาดา และรัสเซียอาร์กติก ส่วนมวลน้ำแข็งอาร์คติก (Arctic ice pack) อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ
Q มีคนอาศัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็งไหม?
A ภูมิอากาศที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อชีวิตมนุษย์ แอนตาร์กติกาซึ่งเป็นทวีปที่หนาวที่สุดในโลก ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่ถาวร แต่มีประชากรจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในสถานีวิจัยในบริเวณชายฝั่ง
Q แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกสำคัญอย่างไร?
A พืดน้ำแข็งแอนตาร์คติคเป็นน้ำแข็งก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 14 ล้านตารางกิโลเมตร และมีน้ำแข็ง 30 ล้านลูกบาศก์เมตร ประมาณ 90% ของมวลน้ำแข็งของโลกอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา
Q เกิดอะไรขึ้นกับมวลน้ำแข็งขั้วโลกในเวลานี้?
A ต่อไปนี้คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดในปีนี้ (2019) กับมวลน้ำแข็งขั้วโลก
1. ธารน้ำแข็ง Thwaites Glacier ในแอนตาร์ติกละลายอย่างรวดเร็วจนเกิดความไร้เสถียรภาพ Alex Robel ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่าหากเกิดความไร้เสถียรภาพขึ้น แผ่นน้ำแข็งอาจหายไปในระยะเวลา 150 ปีแม้ว่าอุณหภูมิจะหยุดสูงขึ้นก็ตาม
2. มวลน้ำแข็งทะเลที่เก่าแก่ที่สุดและหนาที่สุดในแถบอาร์กติกเริ่มสลายตัว เปิดเป็นร่องน่านน้ำทางตอนเหนือของกรีนแลนด์ ซึ่งปกติจะไม่ละลายและจับตัวเป็นแผ่นแม้ในฤดูร้อน
3. จากข้อมูลของ NSIDC แสดงให้เห็นว่าเพียงน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกมีอายุมากกว่า 4 ปีเหลือแค่ 1.2% เท่านั้น เทียบกับเมื่อ 35 ปีก่อน น้ำแข็งที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปเกือบ 1 ใน 3 ของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าการละลลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและน่าตกใจมาก
Q การละลายเกิดขึ้นเมื่อไร?
A จากการศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ว่า การละลายอาจเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 – 1970 แต่จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้โดย University of California พบว่าน้ำแข็ง 280% ละลายเร็วอย่างมากในช่วง 40 ปีหลัง แสดงให้เห็นว่าการกระทำของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ทำให้เกิดการละลายอย่างรวดเร็ว
Q สาเหตุของการละลายคืออะไร?
A กระทำของมนุษย์ หรือ anthropogenic actions เช่นการปล่อยก๊าซคาร์บอน ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น แต่น้ำแข็งขั้วโลกยังมีปัจจัยเฉพาะที่ทำให้ละลายเร็วขึ้นอีก นั่นคือ feedback หรือปฏิกริยาย้อนกลับจากการสูญเสียน้ำแข็ง กล่วคือ เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์กระทบกับหิมะและน้ำแข็งรังสีประมาณ 90% จะสะท้อนกลับสู่อวกาศ เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้หิมะและน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น ผืนดินที่อยู่ใต้น้ำแข็งก็จะสัมผัสกับพื้นผิวโลกมากขึ้น ยังผลให้ดินดูดซับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์แล้วปล่อยความร้อนสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้โลกยิ่งร้อน น้ำแข็งยิ่งละลายเร็ว
Q เมื่อมันละลายมากขึ้นส่งผลอะไร?
A ถ้าพืดน้ำแข็งแอนตาร์คติคละลายจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 58 เมตร ส่วนพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ครอบคลุมพื้นผิวของกรีนแลนด์ประมาณ 82% และหากละลายจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 7.2 เมตร นอกจากนี้ ยังเกิด feedback หรือปฏิกริยาย้อนกลับอีกด้วย นั่นคือ ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดดินในบริเวณขั้วโลกที่ถูกแช่แข็งมากถึง 40,000 ปีที่จะละลาย ทำให้คาร์บอนที่กักอยู่ภายในดินถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เช่นคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน ก๊าซเหล่านี้ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อนเพิ่มขึ้น