‘ฤดูร้อนโลก’ เดินหน้าทุบสถิติ ระอุสุดตั้งแต่เคยบันทึกมา

สำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสแห่งสหภาพยุโรปเผยแพร่รายงานฉบับล่าสุด ระบุว่าเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเป็นช่วงที่โลกอุ่นที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกครั้งแรกในปี 1940

อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในฤดูร้อนที่ผ่านมาอยู่ที่ 16.77 องศาเซลเซียส สูงกว่าสถิติก่อนหน้าที่เกือบ 0.3 องศาเซลเซียส ที่วัดได้ในเดือนสิงหาคม 2019

นี่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ชุดแรกที่ยืนยันได้ว่านี่คือผลพวงจากวิกฤตโลกร้อนที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ ในรายงานยังระบุเพิ่มว่าอุณหภูมิสูงในปีนี้เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปของก๊าซเรือนกระจกและปรากฏการณ์เอลนีโญ

โดยสถิติที่ผ่านมาจะพบว่าอุณหูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน กรกฎาคม และต่อเนื่องมาถึงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งนับได้ว่าเป็นฤดูร้อนที่ร้อนจัดสำหรับพื้นที่ซีกโลกเหนือ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย

แม้หลายประเทศจะเริ่มเข้าสู่ปลายฤดูร้อน และอุณภูมิเริ่มลดต่ำลง แต่หลายมลรัฐของสหรัฐอเมริกายังเผชิญคลื่นความร้อนต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่ต้องต้องประกาศภาวะฉุกเฉินและประกาศหยุดเรียน โดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 38-39 องศาเซลเซียส นับว่าเป็นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดของสหรัฐอเมริกา

มารีอากราเซีย มิดุลลา หัวหน้าส่วนภูมิอากาศและพลังงาน WWF ในอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่ต้องเผชิญสภาพอากาศเลวร้ายในปีก่อน กล่าวว่าเหตุการ์สภาพอากาศที่เคยถูกมองว่าผิดปกติและผิดธรรมชาติกำลังกายเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำในปัจจุบัน

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวในแถลงการณ์รายงานล่าสุดของโคเปอร์นิคัสว่าวันสุนัขในฤดูร้อนปีนีมันไม่ใช่แค่เห่า แต่มันกัดจริง และนี่คือผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่บอกได้สภาพภูมิอากาศเริ่มพังทลายแล้วจริงๆ

วันสุนัขในฤดูร้อน คือชื่อเรียกวันที่สภาพอากาศร้อนอบอ้าวของยุโรป โดยมาจากการเกิดขึ้นของกลุ่มดาวซิริอุส หรือดาวหมาใหญ่ โดยมากจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมในซีกโลกเหนือ

มิดุลลากล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่ากรณีเช่นนี้เป็นเรื่องน่าหวาดกลัวและมีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อไป โดยคาดว่าจะเกิดคลื่นความร้อน ภัยแล้ง และอุทกภัยบ่อยขึ้น ขณะระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและสังคมโลก

ด้าน โจเอริ โรเกลจ์ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ จากสถาบันวิจัยเกรนแธม ขณะที่เอลนีโญขยายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงหลายเดือนข้างหน้า อุณหภูมิทั่วโลกจะคงสูงทุบเกินสถิติอีกเรื่อยๆ ต่อให้ไม่มีปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่แนวโน้มอุณหภูมิยังคงน่ากังวลมาก

ที่มา

  • Sep6, 2023. The world has just experienced the hottest summer on record. CNN
  • Sep6, 2023. Extreme heat forces school closings and early dismissals. ABC
  • Sep6, 2023. Dangerous heat wave hits eastern US: Latest forecast. ABC

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน