Climate Change

  • นิตยสาร Time ฉบับเดือนพฤษภาคม 2562 ยกย่องให้เกรต้า ธันเบิร์ก เป็นหนึ่งในผู้นำรุ่นใหม่ และเธอยังเป็นแนวหน้าของคนรุ่นใหม่ในการสื่อสารกับผู้นำโลกให้ลงมือทำจริง ๆ จัง เพื่อสกัดกั้นวิกฤตจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก แต่ปฏิกิริยาของบรรดาผู้นำโลกต่อเกรต้านั้นรุนแรงพอ ๆ กับที่เธอโจมตีพวกเขา นอกจากผู้นำระดับโลกจะไม่ยอมฟังเสียงเธอแล้ว ยังตำหนิเธออย่างรุนแรง แต่ก็มีผู้นำและนักการเมืองจำนวนหนึ่งที่รับฟังและเห็นด้วยกับการรณรงค์ของเธอ

  • ในปี พ.ศ. 2562 เป็นปีที่มีการเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่คึกคักที่สุดปีหนึ่ง ทว่า รายงานแต่ละชิ้นไม่ได้ทำให้วงการวิทยาศาสตร์คึกคักไปด้วย เพราะทุกฉบับเตือนเราว่าสถานการณ์กำลังน่าเป็นห่วง โลกร้อนกำลังทำลายองค์ประกอบทุกอย่างของโลก ไม่เฉพาะแค่สภาพอากาศ แต่ยังรวมถึง ดิน ทะเล และไฟป่าที่เกิดถี่ขึ้น และเมื่อองค์ประกอบเหล่านี้เสื่อมถอยลง มนุษย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รับผลกระทบ

  • “เขาดินสอ” ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร สูงจากระดับน้ำทะเล 350 เมตร ซึ่งเป็นหมุดหมายของ “นักดูนก” ของประเทศในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและยุโรป ต่างเดินทางมาท่องเที่ยวดูนกเป็นประจำทุกปีตั้งแต่เดือนเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จนทำให้ “เขาดินสอ” ติดอันดับจุดดูเหยี่ยวและนกอพยพที่ดีที่สุด 1 ใน 5 ของโลก

  • หลายคนอาจจะเพิ่งรู้จัก เกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) จากปาฐกถาอันร้อนแรงและดุดันของเธอในการประชุม Climate Action โดยเฉพาะวลีสั้น ๆ ที่กัดกินหัวใจว่า “How dare you?” เมื่อเธอตั้งคำถามต่อนักการเมืองและผู้นำโลกที่สนใจกับเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าหายนะจากปัญหาโลกร้อน แต่เด็กสาวชาวสวีเดน วัย 16 นักเคลื่อนไหวด้านปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสหภาพอากาศรายนี้ไม่ได้พูดด้วยอารมณ์ทุกครั้ง และเกือบทุกครั้งเธอจะยกสถิติและรายงานทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมายืนยันในสิ่งที่เธอต้องการให้ชาวโลกได้ตระหนัก

  • รศ.ดร.ประวิทย์ โตวัฒนะ คณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผย igreen ว่า ผลงานวิจัยของคณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล จากสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาลัยวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 เรื่อง มีดังนี้ 1) จากการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างปลาเศรษฐกิจที่วางจำหน่ายในตลาดสดจำนวน 165 ตัวอย่าง และ 2) จากการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างปลาเศรษฐกิจที่วางจำหน่ายในตลาดสด

  • รศ.ดร.ประวิทย์ โตวัฒนะ คณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผย igreen ว่า นักศึกษาของสถาบันฯ ได้ทำการวิจัยเรื่องไมโครพลาสติกมาก่อนจะมีข่าวพบไมโครพลาสติกในปลาทูของไทย โดยก่อนหน้านี้นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการจัดการทางทะเลและชายฝั่ง ชาวบังคลาเทศของสถาบันฯ ศึกษาพบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาเศรษฐกิจของอ่าวไทยหลายชนิดมากกว่าหนึ่งของตัวอย่าง ซึ่งเป็นปลาที่จำหน่ายอยู่ในตลาดของ อ.สทิงพระ จ.สงขลา และงานวิจัยชิ้นดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศไป เมื่อปี 2561

Copyright @2021 – All Right Reserved.