Climate Change

  • เมื่อ 30 กว่าปีก่อน “เกาะพิทักษ์” เกาะเล็กๆ ณ หมู่ 14 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีธรรมชาติทางทะเลเสื่อมโทรมอย่างมาก ชุมชนมีความแตกแยก เกิดปัญหายาเสพติด และมีการเล่นการพนัน ขณะที่อาชีพประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นอาชีพหลักหล่อเลี้ยงชุมชนก็ถูกเรือประมงพาณิชย์นำอวนลาก และอวนรุนเข้ามารุกรานแย่งชิงพื้นที่การจับสัตว์น้ำจนชาวบ้านแทบไม่มีทางออก

  • Q แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกคืออะไร? A สิ่งที่เรียกว่า “น้ำแข็งในแถบขั้วโลก” แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พืดน้ำแข็ง (Ice sheet) และหิ้งน้ำแข็ง (Ice shelf) พืดน้ำแข็ง เป็นมวลของธารน้ำแข็งที่ปกคลุมภูมิประเทศโดยรอบ สามารถพบได้ในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาเท่านั้น ส่วนหิ้งน้ำแข็ง เป็นแผ่นน้ำแข็งมีความหนาเป็นธารน้ำแข็งไหลลงสู่ชายฝั่งและบนพื้นผิวมหาสมุทร พบได้ในทวีปแอนตาร์กติกา, กรีนแลนด์, แคนาดา และรัสเซียอาร์กติก ส่วนมวลน้ำแข็งอาร์คติก (Arctic ice pack) อยู่ที่ขั้วโลกเหนือ

  • ผู้คนและผืนป่าต่างพึ่งพาอาศัยกันได้ คนจะสามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตของป่าเพื่อรายได้ ขณะเดียวกันพวกเขาจะช่วยอนุรักษ์ป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน การส่งเสริมให้คนเห็นคุณค่าของป่าและผลผลิตต่างๆ ในป่าจะทำให้ป่าได้รับการปกป้องมากขึ้นจากมนุษย์ ซึ่งการมีป่ามากขึ้นย่อมหมายถึงความสามารถในการดูดซับคาร์บอนและมลพิษต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนบนโลกที่มากขึ้น

  • การจัดการขยะพลาสติกถูกยกระดับเป็นปัญหาในระดับอาเซียนและระดับโลก เพราะแต่ละประเทศต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามหันตภัยจากพลาสติกได้ส่งผลร้ายแรงต่อระบบนิเวศ ตลอดจนการดำรงชีวิตของมนุษย์ โจทย์ใหญ่ก็คือแต่ละประเทศไทยจะใช้กลไกอะไรในการจัดการไม่ให้ขยะเหล่านี้หลุดรอดกลายเป็นมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือถึงจะมีก็ให้น้อยที่สุด ซึ่งบางประเทศสำเร็จมาแล้ว

  • สถานการณ์ไฟป่าไม่ได้ไหม้อยู่แค่ป่าแอมะซอนและป่าแอฟริกาใต้สะฮาร่า ทว่ามันลุกโชนไปแทบทุกทวีปทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือกระจกสะท้อนภาวะโลกร้อน รวมถึงการบุกรุกพื้นที่ทำการเกษตรและเหตุผลด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ผืนป่าสำคัญในบ้านเราที่สามารถกักเก็บคาร์บอนและมีคุณค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าป่าประเภทอื่นก็คือ ป่าพรุ คอลัมน์ I Green Talk ชวนคุยกับ ดร.เจริญวิชญ์ หาญแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

  • แหล่งผลิตออกซิเจนของโลก ป่าฝนแอมะซอนถูกขนานนามว่าเป็น “ปอดของโลก” เพราะผลิตออกซิเจนมากกว่า 20 % ของทั้งโลก ทั้งยังช่วยกำจัดคาร์บอนจำนวนมหาศาลออกจากชั้นบรรยากาศซึ่งสามารถช่วยชะลอภาวะโลกร้อนให้มนุษย์เราได้ Fernando Espírito-Santo นักวิจัย Jet Propulsion Lab ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซ่า) ค้นพบว่า ต้นไม้ในแอมะซอนสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 2,200 ล้านตัน/ปี แต่เหตุการณ์การลุกลามของไฟป่าครั้งนี้กำลังจะเปลี่ยนสถานะแอมะซอน จากแหล่งกักเก็บคาร์บอนเป็นแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์แทน ปริมาณน้ำฝน นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การทำลายป่าแอมะซอนกำลังทำให้ความสามารถในการสร้างปริมาณน้ำฝนของแอมะซอนที่ได้ชื่อว่าเป็น “ป่าฝน” ลดลง และในไม่ช้าทุ่งหญ้าสะวันนาจะเข้ามาแทนที่ป่าฝนแห่งนี้ Deborah …

Copyright @2021 – All Right Reserved.