Climate Change

  • ทะเลกำลังเป็นกรดอีกครั้ง…ต้นเหตุการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตครั้งใหม่ เมื่อ 66 ล้านปีที่แล้วเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ครองโลกของเราในช่วงเวลานั้นในขณะที่มนุษย์ยังไม่ถือกำเนิดขึ้นมา การสูญสิ้นของไดโนเสาร์เป็นผลมาจากอุกกาบาตพุ่งชนโลกจนทำให้สิ่งมีชีวิตในโลกมากถึง 75% ตายเรียบ แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าอุกกบาตลูกเดียวส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบนโลกพบกับจุดจบ ที่จริงแล้วอุกกบาตลูกนั้นเป็นชนวนให้เกิดปัจจัยที่ทำให้สิ่งมีชีวิตล้มตายหลังจากนั้นมากกว่า เช่น เกิดแรงสั่นสะเทือนรุนแรงทำให้ภูเขาไฟปะทุไปทั่ว และพ่นเถ้าถ่าน รวมทั้งลาวาไหลปกคลุมโลกอย่างยาวนาน ซึ่งทำให้สัตว์และพืชบนพื้นดินล้มหายตายจากไปจนเกือบหมด แต่คำถามก็คือแล้วสัตว์น้ำในทะเลล้มตายลงได้อย่างไร? นักวิทยาศาสตร์สงสัยกันมานานแล้วว่า การลดลงอย่างหนักหน่วงของค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)  ในทะเลเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ทะเลในยุคนั้นไม่รอดจากหายนะอุกกาบาตพุ่งชนโลกเช่นกัน ดร.เจมส์ แร นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม ที่มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ กล่าวว่า ทฤษฎีเรื่องค่า pH ในมหาสมุทรลดลงเพราะอุกกาบาตพุ่งชนโลกเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คิดกันมานานแล้ว โดยในครั้งนั้นอุกกาบาตได้กระแทกเข้ากับหินที่อุดมไปด้วยกำมะถัน จนเพิ่มปริมาณกรดซัลฟูริกให้กับชั้นบรรยากาศและมหาสมุทร …

  • โดย – ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. เรื่องพลังงานนั้น บ้านเรายังคงวนไปวนมากับเรื่องราคาน้ำมันว่าถูกว่าแพงกว่าเพื่อนบ้าน บางกลุ่มก็เสนอแบบง่าย ๆ ว่าราคาน้ำมันของบ้านเราต้องเท่ากับราคาน้ำมันของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง ๆ ที่บริบททางเศรษฐกิจ สภาพทางกายภาพ ระบบกฎหมาย และอื่น ๆ แตกต่างกันลิบลับ นับว่าแปลกมากที่มีการรณรงค์แบบนี้ด้วย

  • ชีวนวัตกรรม หรือ Synthetic Biology เป็นศาสตร์ใหม่ที่ทางอออกหนึ่งจะช่วยกอบกู้โลก เพราะหากมนุษย์ยังคงผลิตและบริโภคอย่างสุดโต่งโดยไม่ใส่ใจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถึงจะมีโลกอีกกี่ใบก็คงไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะการบริโภคแบบไร้ขีดจำกัดที่เป็นต้นเหตุทำให้โลกร้อน ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “ทำไมต้อง Syn Bio” ในงานเสวนา “ออกแบบอนาคตด้วยธรรมชาติแก้วิกฤติทรัพยากรโลก” ไว้น่าสนใจว่า ภาคธุรกิจไม่อาจนิ่งเฉยต่อสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญ โดยเฉพาะสภาวะโลกร้อนที่กลายเป็นวาระแห่งโลก

  • บลูคาร์บอน (Blue Carbon) เกิดขึ้นได้อย่างไร? โลกของเรามีวัฏจักรของคาร์บอนหมุนเวียนผ่านสิ่งมีชีวิตและวัตถุต่าง ๆ เช่น การหมุนเวียนผ่านการสังเคราะห์แสงของพืชบนดินไปจนถึงพืชในน้ำ การหมุนเวียนของคาร์บอนผ่านพืชและสัตว์น้ำเรียกว่า บลูคาร์บอน (สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ของน้ำและท้องทะเล) ในเมื่อคาร์บอนมีวัฏจักร ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น กรีนคาร์บอน (Green Carbon) หรือ บลูคาร์บอน (Blue Carbon) ก็จะต้องมีการหมุนเวียนผ่านสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ แต่พวกมันไม่ได้ถูกหมุนเวียนทั้งหมด เพราะคาร์บอนมีส่วนเกินมากมายมหาศาล และส่วนเกินนี้อาจทำให้สมดุลของสภาพอากาศโลกมีปัญหา

  • แม้ว่าหลายคนอาจจะไม่คุ้นกับคำว่า Circular economy มาก่อน แต่เชื่อได้ว่าในอีกไม่นาน คำ ๆ นี้จะเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้าง เพราะบริษัทใหญ่ ๆ เริ่มหันมาใช้โมเดลนี้ในการประกอบธุรกิจที่ยั่งยืน หน่วยงานภาครัฐบางประเทศได้กำหนดมาตรฐานสำหรับธุรกิจ Circular economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ และองค์กรต่าง ๆ ในระดับสากลได้ตั้งแพลตฟอร์มขึ้นมาเพื่อส่งเสริมโมเดลนี้

  • “กำไรคือการได้กลับบ้านมาดูแลแม่ ได้อยู่ในชุมชนของเรา ได้พูดภาษาหล่ม ได้กินอาหารลาว ได้เจอญาติ วิถีตอนเด็กๆ มันกลับมา…ฝ้ายไม่มีก็ปลูกมันขึ้นมา” วิถีรักษ์โลกในแบบฉบับของ ยุพิน ผูกพานิช คือการหันหลังให้เมืองเพื่อกลับไปดูแลแม่ในวัย 70  ซึ่ง จ๋า ยุพิน บอกว่านี่คือกำไรของ “ร้านฝ้ายจ๋ายาใจ” คือการได้กลับบ้านมาอยู่ในชุมชนที่คุ้นเคย และที่สำคัญมากว่านั้นก็คือการสืบสานภูมิปัญญาการผลิตผ้าฝ้ายในรูปแบบต่าง ๆ ที่แม่เคยทำมาตลอดชีวิต

Copyright @2021 – All Right Reserved.