Climate Change

  • The Climate Change Performance Index 2020 หรือดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2563 ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 25 ที่กรุงมาดริด สเปน เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2562

  • คนรุ่นใหม่คือความหวังของอนาคต แต่ในอนาคต ความหวังของพวกเขาริบหรี่ยิ่งนัก เพราะความล่าช้าในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโลก ทำให้เราเข้าใกล้เส้นตายของการสกัดกั้นไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส มากขึ้นทุกที โดยที่แทบไม่มีความหวังว่าเราจะแก้ไขอะไรได้ทันการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดก๊าซเรือนกระจก เกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) ซึ่งเป็นเสมือนผู้ถือธงนำขบวนการเยาวชนกดดันให้ “ผู้ใหญ่” ลงมือแก้ปัญหาจริง ๆ จัง ๆ ปรากฎตัวในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 25  หรือ COP 25 ที่กรุงมาดริด หลังจากที่เธอดั้นด้นเดินทางมาด้วยเรือใบที่ไร้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

  • โลกของเรายังร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในปี พ.ศ. 2562 มีการทำลายสถิติที่เกี่ยวกับอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นอย่างผิดปกติครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวของปีได้ไม่กี่วันก็มีข่าวร้ายจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า ทศวรรษนี้ (พ.ศ. 2553 – 2562) จะเป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมหาศาลและกำลังจะทำให้สภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงจนใกล้จะถึงจุดที่แก้ไขไม่ได้

  • ฤดูหนาวของไทยในทุกปี เรามักได้เห็นคำพาดหัวของหนังสือพิมพ์หัวสีประมาณว่า “ตะลึงนกยักษ์ตกทุ่งนา” เห็นคำนี้ก็หลับตาเดาได้เลย อีแร้งแน่นอน และแทบจะเจาะจงชื่อมันได้อีกต่างหากว่า อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย (Himalayan Griffon) เพราะเป็นอีแร้งหนึ่งเดียวที่ยังมาเที่ยวเมืองไทยอย่างสม่ำเสมอ สำหรับฤดูหนาวปีนี้ ที่ส่อเค้าจะหนาวจัดและหนาวนาน โอกาสที่จะมี “นกยักษ์” จะมาเยือนเมืองไทยอีกครั้ง ดูจะมีโอกาสเป็นไปได้มากทีเดียว

  • เป็นที่แน่ชัดว่า “มนุษย์”  คือต้นตอหลักของปัญหาโลกร้อน จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อยุติสาเหตุและหาทางรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น สภาวะโลกร้อนที่ประเทศไทยกำลังเผชิญมี 2 รูปแบบ

  • เวลาที่กำลังจะผ่านไปในช่วงแรกของการดำเนินงาน “ลดก๊าซเรือนกระจก” ตามคำมั่นสัญญาที่ประเทศไทยให้ไว้ต่อประชาคมโลกนั้น พิสูจน์แล้วว่าการเดินหน้าในเรื่องนี้ไม่ได้มีเพียงคำพูดเลื่อนลอย จากการที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงไว้ผ่าน การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) ระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2563 จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 7-20% เมื่อเทียบเคียงกับกรณีปกติ (BAU)

Copyright @2021 – All Right Reserved.