Climate Change

  • เดือนนี้ Netflix นำเอนิเมชั่นของค่ายสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli ) มาฉายเกือบยกค่าย เป็นการแก้เกมส์ทางการตลาดที่หวุดหวิดที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะโปรดักชั่นค่ายใหญ่ๆ หันมาทำแพล็ตฟอร์มของตัวเอง แล้วยกเลิกสัญญากับ Netflix หรือไม่ก็ Netflix สูญเสียสัญญาซีรีส์ดังๆ ไป อดคิดไม่ได้ว่าปีนี้อาจเป็นจุดเริ่มของทางตันของ Netflix แต่ในที่สุดก็แก้เกมสำเร็จด้วยเอนิเมชั่นของสตูดิโอจิบลิ ทำให้บางคนที่คิดจะไม่ใช้บริการต่อจึงต้องดูต่อไป อย่างน้อยก็จนกว่าจะเบื่อการ์ตูนของสตูดิโอจิบลิ

  • วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wetlands Day) ตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นการตั้งตามชื่อสถานที่จัดประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญา ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ทำความเข้าใจง่ายๆ ความสำคัญของ “พื้นที่ชุ่มน้ำโลก” คือพื้นที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ป้องกัน ยับยั้งการสูญเสียของพื้นที่และเจ้าของ (ประเทศนั้นๆ) พื้นที่ต้องกำหนดแผนการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศ …

  • แม้ว่าภาวะโลกร้อนจะยังไม่ถึงขั้นทำให้เราไม่มีน้ำดื่ม แต่มันมันรุนแรงมากพอที่จะทำให้เราไม่มีไวน์ดื่มกันแล้ว จากการศึกษาและประเมินของทีมนักวิจัยที่เผยแพร่ผลงานใน Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) พบว่า หากอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น แหล่งผลิตไวน์จะพังพินาศ หากอุณหภูมิร้อนขึ้น 2 องศาเซลเซียสจะทำลายพื้นที่ปลูกไวน์ถึง 56% แต่หากอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียส จะสูญเสียพื้นที่ผลิตไวน์ไปถึง 85%

  • เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 สมาชิกรัฐสภาสวีเดนเสนอชื่อ เกรต้า ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมกับขบวนการ Fridays for Future ให้เป็นผู้รับรางวัลโนเนลสาขาสันติภาพ ประจำปี 2563 ในจดหมายถึงคณะกรรมการโนเบลของนอร์เวย์ Jens Holm และ Hakan Svenneling นักการเมืองฝ่ายซ้ายของสวีเดนกล่าวถึงคุณสมบัติของเกรต้าเอาไว้ว่า “เกรต้า ธันเบิร์ก เป็นนักกิจกรรมด้านสภาพภูมิอากาศและเหตุผลหลักที่เธอสมควรได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคือ แม้ว่าเธอจะอายุน้อย แต่เธอก็ทำงานอย่างหนักเพื่อให้นักการเมืองได้เปิดตารับรู้ถึงวิกฤตการณ์สภาพอากาศ”

  • เมื่อ 2559 รัสเซียต้องต่อสู้กับการระบาดอันลึกลับในมุมห่างไกลของไซบีเรียที่แคว้นยามัล กวางเรนเดียร์ประมาณ 2,000 ล้มตาย มี 96 คนได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และเด็กชายอายุ 12 ปีเสียชีวิต ชาวยามัลมักบริโภคเนื้อเนื้อกวางดิบตามธรรมเนียมของท้องถิ่น แต่เมื่อเชื้อเกิดระบาดขึ้นทำให้คนท้องถิ่นติดโรคอย่างรวดเร็ว

  • นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนบทความลงในเพจ บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา มีเนื้อหาระบุว่า ถ้านักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักอุตุนิยมวิทยา วิศวกร ร่วมมือช่วยกันแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 คงจะดีไม่น้อย

Copyright @2021 – All Right Reserved.