Climate Change

  • เป็นที่แน่ชัดว่า “มนุษย์”  คือต้นตอหลักของปัญหาโลกร้อน จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อยุติสาเหตุและหาทางรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น สภาวะโลกร้อนที่ประเทศไทยกำลังเผชิญมี 2 รูปแบบ

  • เวลาที่กำลังจะผ่านไปในช่วงแรกของการดำเนินงาน “ลดก๊าซเรือนกระจก” ตามคำมั่นสัญญาที่ประเทศไทยให้ไว้ต่อประชาคมโลกนั้น พิสูจน์แล้วว่าการเดินหน้าในเรื่องนี้ไม่ได้มีเพียงคำพูดเลื่อนลอย จากการที่ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงไว้ผ่าน การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ หรือ Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) ระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2563 จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ 7-20% เมื่อเทียบเคียงกับกรณีปกติ (BAU)

  • ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2561 เกิดอุทกภัยยืดเยื้อใน สปป. ลาว จากฤทธิ์ของพายุไต้ฝุ่นเซินติญและเบบินกา ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ใน 55 เมือง 13 แขวง (จากทั้งหมด 18 แขวง) ในช่วงที่เกิดอุทกภัยไปทั่วประเทศยังมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น โดยในคืนวันที่ 23-24 กรกฎาคม เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยที่แขวางจำปาสักไม่สามารถรับน้ำได้ จนเขื่อนแตกและน้ำท่วมฉับพลันในแขวงอัตตะปือที่อยู่ใกล้เคียง มีผู้เสียชีวิต 27 ราย สูญหายอย่างน้อย 130 ราย และประชาชน …

  • แม้การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP 25) จะต้องย้ายสถานที่ประชุมอย่างกะทันหันจากกรุงซานดิอาโก ประเทศชิลีไปประชุมกันที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน แต่กำหนดการยังคงเป็นไปตามเดิม คือระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม พ.ศ. 2562 วาระการประชุมต่าง ๆ ก็ยังคงเดินหน้าตามแผนการเดิม รวมทั้งชีลียังทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพเหมือนเดิม

  • การประชุมภาคีสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 25 หรือ COP 25 จะจัดขึ้นที่กรุงมาดริด เมืองหลวงของสเปน ระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยมีชิลีทำหน้าที่ประเทศเจ้าภาพและประธานการประชุมในฐานะตัวแทนภูมิภาคลาตินอเมริกาตามธรรมเนียมของการประชุม COP ที่จะหมุนเวียนเจ้าภาพไปตามภูมิภาคต่าง ๆ แม้อาจจะฉุกละหุกไปบ้างสำหรับสเปนที่ต้องมาเตรียมสถานที่และระบบโลจิสติกส์ในการประชุมอย่างกะทันหันภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ หลังจากชิลีไม่สามารถจัดประชุมขึ้นที่กรุงซานดิอาโกเมืองของตนเองได้จากเหตุการณ์ประท้วงภายในประเทศ (1)

  • หนึ่งในวิธีแก้ปัญหาโลกร้อนที่มีต้นทุนต่ำที่สุดและง่ายที่สุดคือการปลูกป่า และแน่นอนว่ามันเป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วย เพราะกลไกลธรรมชาติสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ชาวโลกปล่อยออกมาได้ถึง  37%

Copyright @2021 – All Right Reserved.