Climate Change

  • หลังกลับจากปารีส “อรช บุญ-หลง” ไม่อยากทำงานในกรุงเทพฯ แต่เลือกมาปักหลักที่เชียงใหม่ และตัดสินใจเปิดร้าน “หอมปากหอมคอ” ขายขนม แต่เธอบอกว่าทำไปทำมาการขายขนมมันยังไม่ตอบโจทย์ เพราะอยากทำงานที่ตัวเองได้ใช้ความคิด เป็นงานที่หาเลี้ยงชีพได้ และมีประโยชน์กับส่วนรวม จึงเป็นที่มาของการผันตัวเป็นนักกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม “อรช” เริ่มต้นทำกิจกรรมงานเมืองเมือง นิทรรศการศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับเมือง ต่อมาขยับมาจับงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยร่วมกับเพื่อนในโครงการ No Foam for Food บนถนนคนเดิน

  • หลายพื้นที่ของประเทศไทยที่ประสบกับสภาพอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง มีโอกาสเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เพราะเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ หรือภาวะ Hypothermia ทำให้หัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และอวัยวะอื่นๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น หรือเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้

  • มีความจำเป็นจะต้องให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นผู้ต้องใช้ชีวิตในโลกอนาคตได้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทะเลและมหาสมุทรที่เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนที่ใหญ่ที่สุดของโลกราว 70% ของออกซิเจนในบรรยากาศทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพขนาดใหญ่ ฉะนั้นการลดปัจจัยรบกวนธรรมชาติ อย่างเช่นการลดขยะลงสู่ทะเล จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลและมหาสมุทร

  • แม้การก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจะไม่เห็นผลในระยะสั้น แต่ก็ส่งผลกระทบในระยะยาวโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ ดังนั้นถึงวเลาที่จะต้องนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle: PPP) มาใช้บังคับซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการนำต้นทุนที่เกิดจากการก่อมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตสินค้าหรือการบริการ โดยนำกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Food Traceability) มาประกอบการดำเนินการเพื่อจะได้ทราบแหล่งที่มาการก่อมลพิษ

  • เผยภาพหาชมได้ยากผลงานจากกล้องที่ติดตั้งไว้ในอุทยานแห่งชาติแซร์รา โดส ออร์เกาส์ (Serra dos Órgãos) ในป่าแอตแลนติกทางตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลสามารถจับภาพของเสือพูม่า หรือคูการ์ที่มีขนสีขาวทั้งตัว โดยภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายในปี 2556 เป็นครั้งแรกที่ได้รับการยืนยันว่าพบสิงโตภูเขาที่มีอาการ Leucism (ลูซิซึ่ม) ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีขาว หรือที่เรียกกันว่าสัตว์เผือกนั่นเอง ภาพนี้เพิ่งจะได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างเมื่อเร็วๆ นี้ผ่านทาง National Geographic

  • เป็นที่รับทราบกันดีว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำลายสุขภาพร่างกาย ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ยิ่งช่วงปลายปีต่อเนื่องเข้าสู่ต้นปีใหม่ ถือเป็นช่วงเข้าสู่สถานการณ์ฝุ่นควันที่จะค่อย ๆ ทวีความรุนแรง ดังนั้นทุกภาคส่วนของสังคมไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างความเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้สังคมเกิดความตระหนักและช่วยกันหามาตรการในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

Copyright @2021 – All Right Reserved.