Climate Change

  • สถานการณ์น้ำโขงยังวิกฤตเนื่องจากระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ล่าสุดระดับน้ำเฉลี่ยต่ำสุดประมาณ 1 เมตร ซึ่งต่ำสุดในรอบ 10 ปี ทำให้พื้นที่แม่น้ำบางจุดเกิดหาดทรายเป็นพื้นที่กว้างเป็นระยะทางยาวนับกิโลเมตร อีกทั้งเมื่อน้ำไหลไม่เชี่ยวจึงเกิดการตกตะกอนกลายเป็นสีฟ้าครามคล้ายน้ำทะเล

  • กระแสรักษ์โลกในปัจจุบันยังคงมาแรงแซงโค้ง เพราะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้นปัญหาโลกร้อน ที่ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณขยะที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งขยะทั่วไป และขยะพลาสติกและนำไปสู่การกำจัดที่ผิดวิธี เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมีการเปลี่ยแปลงอย่างรวดเร็วและหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นหายนะใหญ่ของการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

  • ปีนี้จังหวัดภาคเหนือต้องเผชิญสถานการณ์มลพิษทางอากาศหรือปัญหาฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ปีที่ 15 โดยเฉพาะ 9 จังหวัดภาคเหนือซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า ปี 2563 มีพื้นที่เผาไหม้สะสมทั้งสิ้น 8,615,470 ไร่ ปี 2562 มีพื้นที่เผาไหม้สะสม 7,211,517 ไร่ นั่นคือมีพื้นที่เผาไหม้สะสมเพิ่มขึ้นถึง 1,403,953 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.13 อย่างไรก็ตาม ในปีนี้จะเป็นปีแรกที่ภาครัฐได้เปลี่ยนแนวนโยบายและแผนการแก้ปัญหาโดยจะให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเชิงพื้นที่เพื่อให้ผู้ว่าฯ มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจัดการปัญหาได้เอง ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ได้กำหนดแนวทางการรับมือผ่าน “เชียงใหม่โมเดล” ซึ่งจะเป็นการใช้ชุมชนเป็นฐาน หรือเรียกว่าเปลี่ยนแนวทางสั่งการจาก “บนลงล่าง” …

  • ปัจจุบัน มีขยะพลาสติกเล็ดลอดลงสู่ทะเลและมหาสมุทรแล้วกว่า 150 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นอีกประมาณปีละ 8 ล้านตัน ขณะเดียวกันหลากหลายประเทศก็ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นเดินหน้าจัดการปัญหาขยะพลาสติกนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastics) ตลอดจนนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมารีไซเคิลให้ได้มากที่สุด รวมทั้งนำพลาสติกรีไซเคิลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม (food-contact packaging and bottle-to-bottle recycling)

  • คอลัมน์ IGreen Talk คุยกับ อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะหนึ่งในกลไกรับผิดชอบการแก้ไขปัญหา PM2.5 เขาบอกว่า รัฐบาลได้กำหนดให้การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติมาตั้งแต่ปี 2562 และปีนี้ได้เพิ่มเติมมาตรการเข้าไปให้สอดคล้องกับการถอดบทเรียนในช่วงที่ผ่านมา

  • ปัจจุบันมีสถานที่กว่า 150 แห่งทั่วโลกเข้าร่วมเป็น “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดสากล” ซึ่งนอกจากจะเป็นการรณรงค์ให้เกิดการลดมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สุขภาพของมนุษย์ และการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังมีส่วนช่วยอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดยามค่ำคืนให้คงความสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงดาราศาสตร์ สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในสถานที่นั้นอีกด้วย

Copyright @2021 – All Right Reserved.