Climate Change

  • วันป่าไม้โลก (World Forestry Day) ตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี สหประชาชาติกำหนดธีมประจำปี 2021 คือ “การฟื้นฟูป่า : หนทางสู่การฟื้นตัวและความเป็นอยู่ที่ดี” เพราะการฟื้นฟูและการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนช่วยแก้ไขวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ หัวข้อในปีนี้สอดคล้องกับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ (พ.ศ. 2564-2573) ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้มีการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ย้อนมาดูสถานการณ์ป่าโดยรวมในบ้านเรา ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในปี 2561 – 2562 จำนวน 102.48 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.68 ลดลงจากปี 2560 …

  • อีก 9 ปีข้างหน้า หรือในปี 2573 ความต้องการใช้น้ำจืดของคนทั่วโลกจะมีมากกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ร้อยละ 40 โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัยประกอบกัน คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พฤติกรรมของมนุษย์ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก

  • ไฟป่าเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่สำคัญในระบบนิเวศที่มีวงจรชีวิตขึ้นอยู่กับไฟ มันช่วยทำให้ป่าคืนชีพอีกครั้ง กระตุ้นการเติบโตของหน่อต้นไม้ และสร้างสารอาหารใหม่ๆ อย่างไรก็ตามไฟป่าที่ไม่ได้ควบคุมหรือเผาล่วงหน้าตามที่วางแผนไว้อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อชุมชนของมนุษย์ เพื่อช่วยจัดการกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับไฟป่าในอเมริกา สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ (USGS) เปิดตัวยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์การดับไฟป่าใหม่ที่ระบุถึงความจำเป็นที่สำคัญสำหรับการวิจัยไฟป่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ยุทธศาสตร์นี้สามารถนำไปใช้เพื่อทำความเข้าใจความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของไฟและผลกระทบที่เป็นอันตรายได้ดีขึ้น

  • รัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นรัฐแรกในออสเตรเลียที่เริ่มบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) หลังจากร่างกฎหมาย The Single-use and Other Plastic Products (Waste Avoidance) Bill 2020 เข้าสภาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 และผ่านออกมาเป็นกฎหมายในเดือนกันยายนปีเดียวกัน จากนั้นก็มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2564

  • เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีการปรับเปลี่ยนแนวทางในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศหรือฝุ่น PM2.5 ที่ค่อนมีรูปธรรมมากกว่าปีก่อนๆ และจังหวัดอื่น ๆ ในจังหวัดภาคเหนือด้วยกัน โดยเกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนมากขึ้น ซึ่งแนวทางส่วนหนึ่งสอดคล้องผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการเคาท์ดาวน์ PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ออกแบบภาพอันพึงประสงค์นั่นคือ “สมดุลราษฎร์-รัฐ” ที่กำหนดให้รัฐและประชาชนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาในระดับเท่าเทียมกัน

  • คำอธิบายหลักการ “ชิงเผา” ที่ถูกต้องหรือเป็นไปตามหลักวิชาการ โดย ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยสร้างความกระจ่างสำหรับวิธีการบริหารจัดการไฟที่เป็นไปตามหลักสากล เพียงแต่บ้านเราไม่ยอมรับความจริงและเฉไฉกระทั่งมองการชิงเผาในแง่ร้าย อาจจะด้วยเพราะขาดความรู้ความเข้าใจ หรือมีความเชื่อแบบผิด ๆ ตลอดจนมีปัจจัยแทรกซ้อนจากปัญหาเชิงโครงสร้างในการจัดการปัญหาไฟป่าที่เรื้อรังมายาวนาน

Copyright @2021 – All Right Reserved.