Climate Change

  • ขึ้นปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ฝรั่งเศสเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เพื่อโลกทันที เมื่อกฎหมายฉบับใหม่ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในผักและผลไม้หรือการใช้พลาสติกแรปห่อมีผลบังคับใช้แล้ว คำสั่งแบนนี้มีผลครอบคลุมผัก และผลไม้ 30 ชนิดที่ห้ามไม่ให้ห่อด้วยพลาสติก รวมถึงแตงกวา กีวี มะนาว และส้ม ซึ่งมักใช้พลาสติกบางห่อหรือแรปเอาไว้เป็นลูก ๆ เวลานำไปวางจำหน่าย (plastic wrap เป็นฟิล์มพลาสติกบางใสใช้ห่อหุ้มอาหารช่วยคงความสดให้นานขึ้น) ส่วนบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ 1.5 กิโลกรัมขึ้นไป รวมทั้งผลไม้ที่ตัดแต่งพร้อมรับประทาน หรือแปรรูปจะได้รับการยกเว้น แต่มันเป็นการยกเว้นที่มีอายุไม่ยืนยาวนัก เพราะในอนาคตฝรั่งเศสคงไม่ปล่อยไว้แน่ ๆ …

  • จากการศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง ได้ตรวจสอบตัวอย่างอุจจาระจากผู้ป่วยโรคลำไส้ประเภทหนึ่ง 52 คน และคนที่ไม่มีอาการ 50 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคลำไส้มีอนุภาคไมโครพลาสติกต่อกรัมมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ถึง 1 เท่าครึ่ง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง (Nanjing University in Science) ของจีนได้ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจโดยพบว่า ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคลำไส้ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Inflammatory bowel disease (IBD) มีไมโครพลาสติกในอุจจาระมากกว่าคนที่ไม่มีการวินิจฉัยถึง 50% IBD …

  • ผักตบชวาเป็นพืชรุกรานท้องถิ่นที่ร้ายที่สุดพันธุ์หนึ่งของโลก เพราะมันเติบโตเร็วจนแน่นทางน้ำ ในเวลาแค่ 1 เดือน ถ้ามีแค่ 10 ต้นมันจะขยายพันธุ์ได้มากถึง 40,000 ต้น และถือเป็นพืชน้ำที่สร้างความรำคาญใจให้กับคนไทยมาหลายสิบปี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีข้อเสียมากมายแต่ผักตบชวาก็ยังมีประโยชน์ที่คาดไม่ถึง เพราะสามารดูดซับน้ำมันได้มากถึง 10 เท่าของน้ำหนักตัวมัน Green Keeper Africa บริษัทนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสตาร์ทอัพในประเทศเบนินเห็นประโยชน์นี้จึงนำผักตบมาทำเป็นเส้นใยดูดซับมลพิษที่เรียกว่า Gksorb เส้นใย 1 กรัมของมันสามารถดูดซับน้ำมันได้ถึง 6 – 10 กรัม และเส้นใยที่แปรรูปแล้วสามารถดูดซับได้มากว่าน้ำหนักตัวของมันถึง 12 …

  • รู้หรือไม่ว่า การก่อสร้างเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลก โดยมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 23% ของโลก อีกทั้งวัสดุก่อสร้าง และภาคการก่อสร้างยังมีส่วนในการบริโภคอุปโภคทรัพยากรทั่วโลกมากกว่า 30% C40 Cities เป็นกลุ่มเมือง 97 แห่งทั่วโลกที่มุ่งเน้นการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขับเคลื่อนการดำเนินการในเมืองเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความเสี่ยงจากสภาพอากาศ เพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองของชาวเมือง โดยหนึ่งในนั้นมีกรุงเทพมหานครร่วมอยู่ด้วย เมืองในกลุ่ม C40 Cities พยายามผลักดันแนวทางใหม่ ๆ ในกาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการวางผังเมือง และการออกแบบอาคาร เพราะมีข้อมูลระบุว่า การปล่อยมลพิษจากอาคารและอุตสาหกรรมการก่อสร้างกำลังเพิ่มขึ้น และรายงานคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 37% …

  • สำหรับคนไทยทั่วไปอุณหภูมิ 19.4 องศาเซลเซียสถือว่าหนาวมากแล้ว แต่สำหรับดินแดนใกล้ขั้วโลกเหนืออย่างอะแลสกา อุณภูมิขนาดนี้ในฤดูหนาวแบบนี้ ต้องถือว่าเป็นสัญญาณของหายนะเลยทีเดียว สถิติที่น่าตกใจนี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดภาวะอากาศอบอุ่นในฤดูหนาวที่ไม่ปกติในอะแลสกา ทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันพุ่งสูงกว่า 15.5 องศาเซลเซียส และมีฝนตกหนักซึ่งปกติแล้วมันควรจะมีอากาศหนาวเย็น และมีหิมะตกต่างหาก ที่ชุมชนเกาะโคไดแอก อุณหภูมิวัดได้ที่ 19.4 องศาเซลเซียสในวันอาทิตย์ ถือเป็นสถิติสูงสุดในเดือนธันวาคมที่เคยบันทึกไว้ในอะแลสกา นักวิทยาศาสตร์ถึงกับบอกว่า “นี่มันบ้าไปแล้ว” ตามปกติแล้วเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนที่อากาศแห้ง และหนาวจัด อย่างที่เรารู้ ๆ กันว่าอะแลสกาหนาวแค่ไหนในช่วงฤดูหนาว แต่ตอนนี้มันมีอุณภูมิเท่ากับฤดูร้อนในซีกโลกเหนือทั่ว ๆ ไป แถมยังมีฝนตกหนักด้วย เทียบกันชัด ๆ …

  • เจ้าสิ่งที่ดูเหมือนหม้อไฟต้มยำนี้คือ The Cocoon ทำมาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ แต่มันไม่ได้อ่อนแอเลย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ต้นกล้าไม้ที่นำไปปลูกในป่าเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุด The Cocoon เป็นของบริษัท Land Life Company ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องต้นกล้าตลอดปีแรก โดยให้น้ำและที่กำบังพร้อมทั้งกระตุ้นต้นกล้าให้โครงสร้างรากแข็งแรงและลึก ไม่ต้องพึ่งพาการให้น้ำจากภายนอก ตอนแรก The Cocoon ดูไม่เหมือนหม้อไฟต้มยำ หรือที่ผู้พัฒนาบอกว่ามันเหมือนโดนัท ตอนแรกมันจำลองแบบมาจากหม้อดินที่ใช้ในอารยธรรมเมโสโปเตเมียโบราณ ย้อนกลับไปในสมัยนั้น พวกชาวเมโสโปเตเมียเคยล้อมต้นไม้ หรือต้นอ่อนด้วยกระถางดินเผาสามกระถาง เติมน้ำให้เต็มกระถางที่จะอยู่ได้หลายวัน หรือหลายสัปดาห์ การออกแบบอันชาญฉลาดนี้ก็คือระบบให้น้ำต้นไม้แบบน้ำหยดที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรก ๆ ของโลก อย่างไรก็ตาม …

Copyright @2021 – All Right Reserved.