Climate Change

  • ยุโรปหันมาเลิกสนใจกับ “วันหมดอายุ” ที่ปิดไว้บนบรรจุภัณฑ์อาหารในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ “หมดอายุ” วันนั้นทันที แต่ยังสามารรับประทานได้อีกนานหรือไม่ก็สามารถนำมาแปรรูปได้ด้วย iGreen เคยนำเสนอประเด็นอาหารหมดอายุที่ยังบริโภคได้มาอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะมันช่วยลดภาระของโลกในการแบกรับของเสียจากอาหารกินทิ้งกินขว้างที่มีมากถึง 900 ล้านตันต่อปี และคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากคาร์บอนไดออกไซด์จากการทิ้งอาหารเหลือกินอยู่ที่ประมาณ 3,300 ล้านตัน ล่าสุด Morrisons ซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีชื่อเสียงในอังกฤษเตรียมเลิกกำหนดวันหมดอายุกับผลิตภัณฑ์นมเกือบทั้งหมด โดยกล่าวว่าการทำแบบนี้จะช่วยหยุดการเทนมทิ้งหลายล้านลิตรในแต่ละปี เพราะหมดเชื่อว่าถ้ากำหนดวันหมดอายุผู้บริโภคจะไม่กล้าดื่มมัน หลังจากเลิกบอกวันหมดอายุแล้ว Morrisons จะปิดฉลาด ‘best before’ หรือคุณภาพดีที่สุดก่อนวันที่ …

  • ต้นไม้ประดิษฐ์กำลังมาเป็นตัวช่วยการปลูกต้นไม้จริง เพราะมันสามารถช่วยดูดคาร์บอนออกจากบรรยากาศได้มากกว่าต้นไม้จริงถึงพันเท่า ต้นที่มีความสูง 10 เมตรสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 700 เมกะตันต่อปี หรือปริมาณเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ที่รถยนต์ 150 ล้านคันปล่อยออกมาบนท้องถนนทุกปี ภาพที่เห็นอาจดูไม่เหมือนต้นไม้ แต่รู้หรือไม่ว่ามันทำงานได้ดีกว่าต้นไม้เสียอีก มันมีชื่อว่า “MechanicalTree” สิ่งประดิษฐ์ของบริษัท Carbon Collect ที่สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศได้เร็วกว่าต้นไม้ของจริง 1,000 เท่า! ด้านในของ MechanicalTree เป็นแผ่นกลม 150 แผ่นที่เติมอากาศทุก ๆ 30-60 นาที เพื่อแยกคาร์บอนไดออกไซด์และเก็บไว้เพื่อนำมาใช้ใหม่ ซึ่งสิ่งที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์มีตั้งแต่น้ำโซดาไปจนถึงการทำคอนกรีต …

  • ผู้คนทั่วโลกต่างพยายามลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงซึ่งสอดคล้องกระแสมังสวิรัติ (Veganuary) ที่กำลังเป็นที่นิยม รัฐมนตรีของสเปน อัลเบอร์โต การ์ซอน (Alberto Garzón) ก็เป็นหนึ่งที่สนับสนุนการลดบริโภคเนื้อสัตว์เพื่อช่วยโลก โดยได้เปิดตัวแคมเปญ ‘Less meat, more life’ ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว หวังรณรงค์ให้ชาวสแปนิชหันมารับประทานอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบกันมากขึ้น การ์ซอน เรียกร้องให้ชาวสเปนพิจารณาการบริโภคเนื้อสัตว์เสียใหม่ เพราะการทำปศุสัตว์นั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตเนื้อวัวจากฟาร์มขนาดใหญ่ แต่เขากลับสร้างความไม่พอใจให้กับบรรดารัฐมนตรี และอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศ 6 แห่ง ชาวสเปนรู้ดีว่า ก๊าซเรือนกระจกมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ก็อาจจะเข้าใจว่ามันเชื่อมโยงกับการใช้รถยนต์และการขนส่งมากกว่าภาคปศุสัตว์ ทั้งที่ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติจะรายงานว่าเนื้อสัตว์และนมมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึงร้อยละ 14.5 อย่างไรก็ตาม …

  • ปล่องก๊าซดาร์วาซา (Darvaza gas crater) หรือที่เรียกว่า “ประตูสู่นรก” หรือ “ประตูนรก” เป็นทุ่งก๊าซธรรมชาติกลางทะเลทรายคาราคุมที่ทรุดตัวลงจนกลายเป็นเหมือน “ถ้ำ” ใกล้เมืองดาร์วาซา เติร์กเมนิสถาน สภาพของมันคือหลุมที่ยุบลงไปท่ามกลางท้องทุ่งกว้าง ในหลุมมีเปลวไฟลุกโชนตลอดเวลา ยิ่งในเวลาโพล้เพล้ยิ่งทำให้ดูเหมือนปากทางเข้าของแดนนรกยังไงยังงั้น ตอนแรกมันก็ยงเป็นท้องทุ่งดี ๆ นี่เอง แต่ในปี 2514 วิศวกรคิดว่า ใต้ดินน่าจะมีแหล่งน้ำมันจึงทำการตั้งแท่นขุดเจาะ และลงมือปฏิบัติการเพื่อประเมินปริมาณน้ำมันที่มีอยู่ในไซต์งาน ไม่นานหลังจากการสำรวจเบื้องต้นแทนที่จะพบน้ำมัน กลับพบหลุมก๊าซธรรมชาติ แถมพื้นดินใต้แท่นขุดเจาะ และค่ายพักพังลงกลายเป็นหลุมกว้าง และแท่นขุดเจาะถล่มลงอีกด้วย แต่ยังดีที่ไม่มีใครบาดเจ็บ ด้วยความที่กลัวว่าจะมีการปล่อยก๊าซพิษที่เป็นอันตรายออกจากถ้ำไปยังเมืองใกล้เคียง …

  • อาร์คบิชอป เดสมอนด์ ตูตู (Desmond Tutu) บาทหลวงชาวแอฟริกาใต้ที่รู้จักจากผลงานในฐานะนักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว และสิทธิมนุษยชนจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เพิ่งจะเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564 รวมอายุ 90 ปี มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้คนจดจำอาร์คบิชอป เดสมอนด์ ตูตู มากขึ้นแม้ว่าเขาจะจากโลกนี้ไปแล้วนั่นก็คือ วิธีการจัดการกับศพของเขาด้วยวิธีการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เดสมอนด์ ตูตู ยืนหยัดปกป้องสิ่งแวดล้อมมาตลอดโดยได้กล่าวสุนทรพจน์และเขียนบทความเกี่ยวกับความจำเป็นในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพินัยกรรม เขาจึงขอให้จัดการศพด้วยวิธีทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการเผาศพ นั่นคือวิธีที่เรียกว่า Aquamation Aquamation เป็นคำผสมระหว่าง Aqua (น้ำ) กับ …

  • สถาบันวิจัยสมุทรศาสตร์ของฝรั่งเศส (Ifremer) ได้ทำการทดสอบอวนลากอันชาญฉลาดเพื่อลดจำนวนสัตว์ทะเลที่จับได้โดยไม่ได้ตั้งใจ หวังว่าอวนลากเหล่านี้จะสามารถคัดแยกปลาในน้ำได้ก่อนที่จะนำอุปกรณ์ตกปลาขึ้นเรือ ซึ่งจะช่วยลดการเสียชีวิตที่ไม่จำเป็น การลากอวนเป็นวิธีการตกปลาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งเกี่ยวข้องกับการลากอวนขนาดใหญ่ไปด้านหลังเรือประมง แม้ว่าการลากอวนทุกประเภทจะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม แต่วิธีที่แย่ที่สุดคือการลากอวนด้านล่าง ในกรณีนี้ ตาข่ายขนาดใหญ่และหนัก – มักมีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล ถูกลากไปตามพื้นทะเลเพื่อจับทุกสิ่งที่ขวางหน้า ด้วยเหตุนี้สัตว์ทะเลจำนวนมากจึงถึงจุดจบ แม้ว่ามันจะไม่ใช่เป้าหมายการล่าจากการประมงนั้นโดยไม่ตั้งใจก็ตาม แต่เรือลากที่ใช้ “อวนอัจฉริยะ” จะเป็นเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับชาวประมง ซึ่งใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุดของปัญญาประดิษฐ์และเครือข่ายเซ็นเซอร์ อุปกรณ์นี้มาพร้อมกับกล้อง เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ชาวประมงทราบได้ถึงชนิดพันธุ์เฉพาะที่ต้องการ รวมถึงขนาด และความอุดมสมบูรณ์ของพวกมันก่อนลากอวนกลับขึ้นเรือแบบเรียลไทม์ ตามข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ในแต่ละปีปลาจำนวนกว่า 20 …

Copyright @2021 – All Right Reserved.