Climate Change

  • ไม่ใช่เรื่องปกตินักที่เราจะเห็นหิมะตกในพื้นที่แห้งแล้งกลางทะเลทราย แม้ว่าบางครั้งมันจะเกิดขึ้นได้ในทะเลทรายบางพื้นที่ เช่น ทะเลทรายในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเขตอบอุ่น (หรือที่เรียกว่าเมืองหนาว) หรือทะเทรายที่อยู่ใกล้เทือกเขาสูงระดับโลก เช่น ในทวีปอเมริกาใต้ แต่เป็นปรากฎการณ์ม่ค่อยปกติแน่ถ้าหิมะจะไปตกกลางทะเลทรายของประเทศที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เช่น ที่ซาอุดีอาระเบียเมื่อต้นเดือนนี้ ช่างภาพชาวซาอุดีอาระเบีย ออสมา อัล-ฮาบรี (Osama Al-Habri) ได้ถ่ายภาพทางอากาศจากเขตปกครองบัดร์ (Badr Governorate) หรือบะดัร ซึ่งมองเห็นภาพเหมือนการปูพรมด้วยหิมะสีขาวละลานตา ในภาพจะเห็นชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อชมภาพปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา ซึ่งอัล-ฮาบรีบอกกับ CNN ว่ามันไม่ธรรมดาจริง ๆ เพราะสภาพอากาศในฤดูหนาวที่มีความรุนแรงเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาหลายปีแล้วในทะเลทรายบัดร์ นอกจากหิมะแล้วยังมีลูกเห็บตกอย่างหนัก ซึ่งกล่าวได้ว่ามันเป็น “พายุลูกเห็บครั้งประวัติศาสตร์” …

  • เทคโนโลยี AI ที่เรียกตัวเองว่า “ผู้พิทักษ์” (Guardian ) เป็นอุปกรณ์ “ดักสัญญาณเสียง” ที่นำไปติดตั้งไว้ในพื้นที่ป่าลึก ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่น่าทึ่ง ฉะนั้นในขณะที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าบ้านเรากำลังเดือดร้อนเพราะหลายคนต้องถูกเลิกจ้าง, ถูกตัดเงินเดือน เพราะภาครัฐไม่มีงบจ้าง รัฐบาลจึงควรทบทวนนโยบายด้านนี้และให้ความสำคัญในการปกป้องผืนป่าแทนที่จะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมาลุ้นงบประมาณรายปี ภายใต้วิกฤตทรัพยากรธรรมชาติ igreen จึงขอนำเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าโดยการใช้ AI มานำเสนอหลังจากได้มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้ Rainforest Connection (RFCx) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในสหรัฐได้พัฒนาอาวุธชนิดใหม่ต่อสู้กับขบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า โดยพัฒนาระบบให้สามารถวิเคราะห์ “เสียงของป่า” เพื่อตรวจจับการตัดไม้และการลักลอบล่าสัตว์ ระบบนี้ถูกนำไปใช้ในป่าเขตร้อนใน 22 ประเทศ อาทิ …

  • เมื่อปีที่แล้ว Aeon ช้อปปิ้งมอลชื่อดังของญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับ Loop ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพบรรจุภัณฑ์แบบหมุนเวียน เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และกำจัดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมหาศาลที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นในแต่ละปี (ซึ่งญี่ปุ่นผลิตขยะพลาสติกมากเป็นอันสองของโลก) แต่ก่อน Aeon ก็เหมือนห้างอื่น ๆ ที่ใช้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้งกับสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน เช่น อาหาร ผงซักฟอก และแชมพู ซึ่งสร้างขยะมหาศาล แต่ด้วยความร่วมมือกับ Loop พวกเขาจะหันมาใช้ภาชนะหมุนเวียนที่สามารถใช้งานได้หลายครั้ง เช่น สแตนเลสและแก้ว ซึ่งมีความทนทานมากกว่าพลาสติก ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Loop กันก่อน สตาร์ทอัพนี้เปิดตัวปี 2019 บริหาร …

  • การปนเปื้อนของขยะพลาสติกกระจายไปทั่วโลก ล่าสุดตรวจพบมลพิษนาโนพลาสติกบริเวณขั้วโลกเหนือในมหาสมุทรอาร์กติก และขั้วโลกใต้ที่มหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งถือเป็นการพบครั้งแรก นั่นเท่ากับว่าขณะนี้อนุภาคขนาดเล็กของพลาสติกได้แพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว ที่น่าประหลาดใจก็คือไม่ใช่การพบบนพื้นน้ำแข็งธรรมดาอย่างที่เคยพบมาก่อนในอาร์กติก แต่ทีมนักวิจัยได้พัฒนาวิธีการตรวจหาแบบใหม่เพื่อวิเคราะห์อนุภาคนาโนที่มีขนาดเล็กกว่าด้วยการการเจาะแกนน้ำแข็งของกรีนแลนด์ลงไปที่ความลึก 14 เมตร ซึ่งเป็นชั้นหิมะตั้งแต่ปี 1965 หรือเมื่อ 57 ปีที่แล้ว โดยหนึ่งในสี่ของอนุภาคที่พบมาจากยางรถยนต์ ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์พบมลพิษพลาสติกตั้งแต่ยอดเขาเอเวอเรสต์ไปและผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ก็พบว่าอนุภาคเหล่านี้สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ของมนุษย์ Dušan Materić แห่งมหาวิทยาลัย Utrecht ในเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยใหม่ กล่าวว่า “เราตรวจพบนาโนพลาสติกในมุมที่ห่างไกลของโลกทั้งบริเวณขั้วโลกใต้และขั้วโลกเหนือ ซึ่งนาโนพลาสติกมีฤทธิ์เป็นพิษอย่างมากเมื่อเทียบกับไมโครพลาสติก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมสิ่งนี้จึงมีความสำคัญมาก” ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Research …

  • ประเทศที่ร้อนตับแตกตลอดเวลาเหมือนเมืองไทยอาจจะรู้สึกแค่ว่ามันร้อนมากกว่าเดิม (นิดหน่อย) แต่ส่วนใหญ่คงไม่รู้ว่า เมื่อสภาพภูมิอากาศโลกปั่นป่วนมันไม่ได้ทำให้แค่ร้อนขึ้น แต่ยังทำให้อุณภูมิไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืช เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมทำลายพืชผล และผู้คนจะอดอยากหลายพันล้านคน จากตัวเลขล่าสุด หากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม จะมีผู้คนมากถึง 1,800 ล้านคนต้องอดอยากหิวโหย การวิจัยเมื่อหลายปีก่อนระบุว่ามีโอกาส 90% ที่ผู้คน 3,000 ล้านคนจะต้องเลือกระหว่างทนหิวโหยหรืออพยพครอบครัวไปยังดินแดนที่สภาพอากาศไม่รุนแรงภายใน 100 ปี ไม่ต้องอะไรมาก ข้อมูลล่าสุดจากออสเตรเลียพบปลาดาวชนิดหนึ่ง (Pentaceraster regulus) ที่ตามปกติอาศัยอยู่ในเขตร้อน มันกลับไปปรากฏตัวในน่านน้ำที่เย็นกกว่าห่างจากถิ่นเดิมของมันถึง 600 กิโลเมตร และไม่น่าจะใช่เรื่องของการพลัดถิ่นโดยบังเอิญ …

  • ภูเขาน้ำแข็ง A68 เคยถูกบันทึกให้เป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะได้แตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ขณะนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์หวั่นเกรงและจับตาว่า หากมันอาจเกยไหล่ทวีปหรือเข้าชนเกาะจอร์เจียใต้ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษและเป็นที่อยู่ของนกเพนกวิน ประชากรแมวน้ำ และวาฬ จำนวนนับล้านอาจจะได้รับผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร ที่มากกว่านั้นนักวิทยาศาสตร์จาก British Antarctic Society (BAS) ระบุว่า การปล่อยน้ำจืดที่ค่อย ๆ ละลายมาเรื่อยจะสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศของเกาะบริเวณนั้นเป็นเวลากว่าทศวรรษหรือมากกว่านั้น ซึ่งจนถึงเดือนมีนาคม 2021 ภูเขาน้ำแข็งได้ปล่อยน้ำจืดลงมหาสมุทรแล้วจำนวน 1.52 แสนล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก 61 ล้านสระ ปัญหาไม่ได้จบแค่น้ำจืดละลายลงสู่ทะเล แต่น้ำที่ค่อย ๆ …

Copyright @2021 – All Right Reserved.