Climate Change

  • ซาดิค ข่าน (Sadiq Khan) นายกเทศมนตรีมหานครลอนดอน เรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนหลังจากการวิเคราะห์พบว่าโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ทุกแห่งในลอนดอนอยู่ในพื้นที่มีมลพิษอากาศที่เกินค่ามาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด การวิเคราะห์ใหม่นี้อ้างอิงจากข้อมูลการปล่อยมลพิษในบรรยากาศลอนดอนล่าสุด พบว่าคุณภาพอากาศที่โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในเมืองนั้นไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ WHO นั่นคือ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก

  • ข้อมูลดาวเทียมที่รวบรวมโดย Polar Portal ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันวิจัยของรัฐบาลเดนมาร์กพบว่า กรีนแลนด์ได้สูญเสียน้ำแข็งไปแล้วกว่า 4,700 พันล้านเมตริกตันในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หรือปริมาณมากพอที่จะทำให้น้ำท่วมทั้งสหรัฐอเมริกาในระดับ 0.5 เมตร

  • ในบรรดามลพิษจากพลาสติก รู้หรือไม่ว่าก้นบุหรี่เป็นมลภาวะพลาสติกอันดับ 1 โดยในปัจจุบันมีการทิ้งก้นบุหรี่ประมาณ 4.5 ล้านล้านชิ้นเลยทีเดียว มันเป็นสิ่งที่ทิ้งง่าย แต่เก็บยาก แต่ผู้คนก็ไม่หยุดหาวิธีที่จะกำจัดมัน ล่าสุดบริษัท Corvid Cleaning ในสวีเดนสามารถฝึก “อีกา” ให้มาช่วยเก็บก้นบุหรี่กันแล้ว

  • กระทรวงสิ่งแวดล้อมเชิญชวนประชาชนและชุมชนร่วมกันปลูกป่าเพื่อสร้างรายได้ระยะยาวในอนาคตจากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยวางเป้าดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากพื้นที่ป่าภายในปี 2580 จำนวน 120 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่า มีพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพกว่า 1.1 ล้านไร่ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

  • นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดน้ำมันรั่วแถบระยองและใกล้ ๆ เกาะเสม็ด ตราบใดที่ท่าเรือและแหล่งอุตสาหกรรมยังอยู่ในบริเวณนั้น เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก ซึ่งไม่ใช่แค่ระยองหรือไทย หลายประเทศก็เจอกับเรื่องแบบนี้ และหลีกเลี่ยงได้ยากหากเรายังใช้พลังงานฟอสซิลกันต่อไป คำถามก็คือ เมื่อเกิดน้ำรั่วแบบนี้แล้ว เราไปโฟกัสแค่คราบน้ำมันบนชายหาดเท่านั้นยังไม่พอ มันยังมีผลต่อชีวิตสัตว์ทะเลมากมายที่เรามองไม่เห็น ดังนั้นเราจะมาดูตัวอย่างหายนะที่ร้ายแรงกกว่าระยองกันว่า เมื่อน้ำมันรั่วลงทะเลแล้วมันมันเกิดอะไรตามมาหลังจากนั้น? 1. การรั่วไหลของน้ำมันของแท่นขุดเจาะ Exxon Valdez ปี 1989 เป็นการรั่วไหลใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาช่วงทศวรรษที่ 80 ผลกระทบทางนิเวศวิทยามากมาย ผลกระทบในทันที ได้แก่ การเสียชีวิตของนกทะเลระหว่าง 100,000 – 250,000 ตัว …

  • นักวิทยาศาสตร์มากกว่า 100 คนจากทั่วโลกได้สร้างฐานข้อมูลป่าไม้ที่ใหญ่ที่สุดของโลกขึ้นมาใหม่ โดยผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2022 พบว่ามีต้นไม้ยังไม่ถูกค้นพบอีกประมาณ 9,200 สายพันธุ์โดยส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกาใต้ นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า มีต้นไม้ที่ถูกค้นพบแล้วในปัจจุบันประมาณ 73,300 สายพันธุ์ซึ่งมากกว่าที่เคยจัดประเภทไว้ 14% ส่วนพันธุ์ไม้ที่ยังไม่ถูกค้นพบอยู่ในอเมริกาใต้ประมาณ 40% หรือประมาณ 4,000 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสัดส่วนของต้นไม้ที่ลึกลับมากกว่าทวีปอื่น …

Copyright @2021 – All Right Reserved.