ก๊าซฮีเลียมรั่วจากแกนโลก ความลึกลับของดาวเคราะห์ และสิ่งมหัศจรรย์ของธรรมชาติ

รายงานการศึกษาใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร AGU Geochemistry, Geophysics, Geosystems ระบุว่า ฮีเลียม-3 ( Helium-3) ซึ่งเป็นไอโซโทปที่หายากของก๊าซฮีเลียมกำลังรั่วไหลออกจากแกนโลก 

ฮีเลียม-3 ถูกพบที่พื้นผิวโลกในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบว่ามีการรั่วไหลออกจากแกนโลกมากแค่ไหน เมื่อเทียบกับชั้นกลางที่เรียกว่า “เปลือกโลกแผ่นคลุม” (Mantle)

การศึกษาพบว่า ก๊าซฮีเลียม-3 ประมาณ 2,000 กรัม รั่วออกจากโลกทุกปี หรือมากพอที่จะเติมบอลลูนขนาดเท่าโต๊ะทำงาน แต่ไม่ต้องกังวลอะไรเพราะมันไม่ได้ทำให้โลกต้องล่มสลาย

การศึกษาใหม่ระบุว่า แกนกลางเป็นแหล่งสำคัญของฮีเลียม-3 บนโลก กระบวนการทางธรรมชาติบางอย่างสามารถสร้างฮีเลียม-3 ได้ เช่น การสลายกัมมันตภาพรังสีของไอโซโทป 

แต่ฮีเลียม-3 ถูกสร้างขึ้นในเนบิวลาเป็นหลัก ซึ่งเนบิวลาเป็นเมฆก๊าซและฝุ่นขนาดใหญ่ที่หมุนวน เหมือนกับที่ก่อให้เกิดระบบสุริยะของเรา 

เมื่อดาวเคราะห์ขยายตัวใหญ่ขึ้น มันจะสะสมสสารจากสิ่งรอบตัว และเพื่อให้ได้ความเข้มข้นสูงของฮีเลียม-3 ลึกลงไปในแกนกลางโลกจะต้องก่อตัวขึ้นในระยะที่เนบิวลาสุริยะกำลังมีชีวิตชีวา

ด้วยความที่ฮีเลียมเป็นองค์ประกอบแรกสุดที่เกิดขึ้นในจักรวาล ฮีเลียม-3 ส่วนใหญ่จึงสามารถสืบย้อนไปถึงบิ๊กแบงได้ และการรั่วไหลของก๊าซจึงเป็นการยืนยันหลักฐานว่าโลกก่อตัวขึ้นภายในเนบิวลาสุริยะ ซึ่งประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันมานานแล้ว

งานวิจัยชิ้นใหม่ได้เพิ่มเบาะแสเพิ่มเติมเกี่ยวกับความลึกลับที่ล้อมรอบการก่อตัวของโลก ทำให้มีหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่า ดาวเคราะห์ของเราก่อตัวขึ้นภายในเนบิวลาสุริยะ

ปีเตอร์ โอลสัน หัวหน้าทีมวิจัยและนักธรณีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก กล่าวว่า “เป็นเรื่องมหัศจรรย์ของธรรมชาติ และเป็นเบาะแสเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของโลกว่ายังมีไอโซโทปนี้อยู่จำนวนมากภายในโลก”

จาก

“ANCIENT HELIUM LEAKING FROM CORE OFFERS CLUES OF EARTH’S FORMATION”. (28 March 2022). AGU.

ภาพ : NASA, ESA

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย