เมืองทั่วโลกเร่งปรับตัว รับมือคลื่นความร้อนดันอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น

เมืองต่างๆ ทั่วโลกเร่งปรับตัวจากคลื่นความร้อนจะที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงถึง 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและอื่น

เมืองต่างๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความร้อนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้หลายแห่งต้องหาวิธีแก้ไขและปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากคลื่นความร้อนและอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรุนแรง

หลายเมืองได้พยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ เช่น การปลูกต้นไม้ สร้างสวนสาธารณะ หรือการจัดสวนบนหลังคา (green roofs) ให้ช่วยดูดซับความร้อนและสร้างร่มเงา ตัวอย่างเช่น เมืองมิลานในอิตาลีได้เริ่มโครงการ “Bosco Verticale” หรือ “ป่าแนวตั้ง” โดยการสร้างอาคารที่มีต้นไม้และพืชปกคลุมทั่วอาคาร ช่วยปรับสภาพอากาศและกรองมลพิษ

บางเมืองเลือกที่จะเปลี่ยนวัสดุหรือโครงสร้างในการก่อสร้างถนนและอาคารเพื่อสะท้อนความร้อนและลดการดูดซับความร้อน เช่น ในเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ใช้สีสะท้อนแสงบนถนนหรือหลังคาเพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายใน

นอกจากนั้น เมืองหลายแห่งได้สร้างระบบระบายความร้อนที่สามารถให้ความเย็นแก่ชุมชนหรือเมืองในช่วงเกิดคลื่นความร้อน เช่น การติดตั้งระบบพ่นละอองน้ำในที่สาธารณะ หรือการสร้างสถานที่พักพิงที่มีเครื่องปรับอากาศให้ประชาชนได้พักพิงในช่วงที่อากาศร้อนจัด

ในขณะเดียวกันบางเมืองก็ได้สร้างระบบเตือนภัยความร้อนและแผนการจัดการเหตุฉุกเฉิน เช่น การส่งข้อความแจ้งเตือนประชาชนเมื่ออุณหภูมิสูงถึงระดับอันตราย และการเตรียมแผนรับมือสำหรับกลุ่มคนที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากความร้อน เช่น ผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ

ปัญหาจากคลื่นความร้อนและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต้องร่วมมือกัน โดยเมืองต่างๆ สามารถเรียนรู้กันและกันผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อแบ่งปันแนวทางและวิธีการจัดการกับปัญหาความร้อนที่ยั่งยืน

การรับมือกับความร้อนที่อุณหภูมิทำลายสถิติในหลายเมืองของโลก นักวางแผนเมืองและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องคิดค้นวิธีการเพื่อทำให้เมืองที่ร้อนอบอ้าวเย็นลง ซึ่งภายในปี 2050 คาดว่าคลื่นความร้อนจะส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 3,500 ล้านคนทั่วโลก โดยครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้จะอยู่ในเขตเมือง ตามข้อมูลจากศูนย์ Adrienne Arsht-Rockefeller Foundation Resilience Center (Arsht-Rock) ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ

เมืองมักมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่ในชนบทที่อยู่ใกล้เคียงหลายองศา เนื่องจากความร้อนถูกกักเก็บโดยคอนกรีตและถนนหรืออาคารที่มีสีเข้ม ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์ “เกาะความร้อน” ส่งผลให้อุณหภูมิในตอนกลางคืนยังคงสูงอยู่

ผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านชุมชนรายได้ต่ำมักจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนที่รุนแรงมากที่สุด เนื่องจากไม่มีพื้นที่สีเขียว ขาดร่มเงา และสวนสาธารณะ

เว้นแต่ก๊าซเรือนกระจกจะลดลงได้ภายในปี 2050 แต่ถ้าทำไม่ได้ สหประชาชาติประมาณการว่าจะมีเมืองมากถึง 1,000 แห่งที่เผชิญกับอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนสูงถึง 35 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงเป็นจำนวนเกือบสามเท่าของจำนวนเมืองในปัจจุบัน

นี่คือวิธีที่เมืองต่างๆ ทั่วโลกกำลังตอบสนองต่อปัญหานี้
1) เปลี่ยนเมืองให้เป็นพื้นที่สีเขียว
การศึกษาการสร้างแบบจำลองในปี 2023 โดยทีมนักวิจัยที่ทำการศึกษาเมืองในยุโรป 93 แห่ง พบว่าการเพิ่มพื้นที่ต้นไม้จากค่าเฉลี่ยของเมืองในยุโรปที่ 14.9% เป็น 30% สามารถลดอุณหภูมิในเมืองได้ 0.4 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจลดจำนวนการเสียชีวิตจากความร้อนได้ถึง 1 ใน 3

หลายเมืองทั่วโลก เช่น ซิดนีย์ เซี่ยงไฮ้ แวนคูเวอร์ และโจฮันเนสเบิร์ก ได้เร่งสร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองโดยการปลูกต้นไม้และพืชพรรณบนกำแพงและหลังคาของอาคาร เพื่อให้ร่มเงาและช่วยลดอุณหภูมิ

หลังคาสีเขียวช่วยดูดซับความร้อนและทำหน้าที่เป็นฉนวน ช่วยลดพลังงานที่จำเป็นสำหรับการทำความเย็นและทำความร้อน ตามข้อมูลจากหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (EPA)

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในเมืองชั้นนำในการทำให้พื้นที่ 100 เฮกตาร์ หรือประมาณ 1 ตารางกิโลเมตรของอาคารมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น และตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2030 นอกจากนี้ยังพัฒนาเส้นทางธรรมชาติอีกประมาณ 50 เส้นทาง

ในเมืองเมเดยินเมืองใหญ่อันดับสองของโคลอมเบีย ได้สร้างเครือข่ายที่ทางเชื่อมต่อกันประมาณ 30 เส้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้และพืชพรรณ ทำให้เกิดเส้นทางร่มเงาสำหรับคนเดินเท้าและนักปั่นจักรยาน

ที่ปารีส โครงการ “Oasis schoolyard” มีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบจากเกาะความร้อน โดยการเปลี่ยนสนามเด็กเล่นสาธารณะ 770 แห่ง ให้เป็นพื้นที่ที่มีร่มเงามากขึ้นโดยการปลูกต้นไม้มากขึ้น ภายในปี 2040

2) พลังงานลม
หอคอยลมสูงที่เรียกว่า “wind catchers” ถูกใช้มานานหลายศตวรรษในบางพื้นที่ของตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และเอเชีย โดยเป็นระบบระบายอากาศตามธรรมชาติที่ช่วยให้เมืองเย็นลง

หอคอยลมนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่คล้ายปล่องไฟ ซึ่งพบได้บนหลังคาอาคารและบ้านเรือน โดยมีช่องแนวตั้งที่จับและนำพาการเคลื่อนไหวของอากาศที่ขับเคลื่อนด้วยลมซึ่งสามารถช่วยลดผลกระทบจากเกาะความร้อนได้

ในสิงคโปร์ นักวางแผนเมืองและนักพัฒนาโครงการอาคารสูงใหม่ได้พยายามใช้ลม โดยการสร้างเครือข่ายทางเดินลมเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของลมธรรมชาติ และลดความร้อนที่สะสมในช่วงมรสุมต่างๆ

3) การบรรเทาความร้อนด้วยน้ำ
สระน้ำขนาดใหญ่ คลอง และแม่น้ำที่มีต้นไม้ให้ร่มเงาสามารถช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณโดยรอบได้ ขณะที่น้ำพุ สวนน้ำ และสถานีพ่นละอองน้ำสามารถช่วยทำให้อากาศเย็นลงและให้ความสบายในทันทีสำหรับผู้คนที่เดินผ่านไปมา

ในกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ รัฐบาลของเมืองได้ร่วมมือกับประชาชนเพื่อฟื้นฟูลำธารชองกเยชอน ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ถูกปิดทับด้วยทางด่วนเป็นเวลาหลายทศวรรษ โครงการฟื้นฟูธรรมชาติได้ โดยสามารถช่วยป้องกันน้ำท่วมและลดอุณหภูมิลงจากเกาะความร้อนได้

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิตามแม่น้ำที่ไหลผ่านใจกลางกรุงโซลเย็นลง 3.3-5.9 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับถนนขนานที่อยู่ห่างออกไปเพียงไม่กี่ช่วงตึก

4) หลังคาเย็น
การทาสีหลังคาด้วยสีขาวที่สะท้อนแสงเป็นวิธีที่มีต้นทุนต่ำและง่ายในการลดอุณหภูมิภายในอาคารได้มากถึง 5 องศาเซลเซียส ตามข้อมูลจากสหประชาชาติ อย่างในเมืองอาห์เมดาบัดของอินเดีย หลังจากเกิดคลื่นความร้อนที่รุนแรงในปี 2010 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,300 คน ในชุมชนแออัดได้หลังคาบ้านเป็นสีขาว ส่งผลให้หลายเมืองในอินเดียดำเนินการเช่นเดียวกัน

ในนิวยอร์กซิตี้ โครงการ “Cool Roofs” ที่เริ่มขึ้นในปี 2009 ได้ทาสีหลังคาขาวมากกว่า 929,000 ตารางเมตร โครงการคล้ายกันนี้ยังได้นำไปใช้ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และโตรอนโต ซึ่งโครงการ “Eco-Roof” ของเมืองมีการให้แรงจูงใจทางการเงินเพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างหลังคาเย็น

5) ถนนสะท้อนความร้อน
ถนนสีเข้มและพื้นผิวคอนกรีตดูดซับและปล่อยความร้อนออกมา ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ “เกาะความร้อน” โดยทำให้อุณหภูมิในเขตเมืองในเวลากลางวันสูงกว่าพื้นที่โดยรอบประมาณ 0.6-3.9 องศาเซลเซียส ตามข้อมูลของหน่วยงาน EPA ของสหรัฐฯ

หลายเมืองในสหรัฐฯ ตั้งแต่ลอสแอนเจลิสไปจนถึงฟีนิกซ์ รวมถึงโตเกียวและเมืองหลวงอื่นๆ ทั่วโลก ได้เคลือบถนน ทางเท้า ที่จอดรถ และสนามกีฬาด้วยสีสะท้อนแสงที่ป้องกันแสงอาทิตย์ ในฟีนิกซ์มีถนนประมาณ 189 กิโลเมตรที่ได้รับการเคลือบพิเศษด้วยยางมะตอยเพื่อลดความร้อน ซึ่งสามารถทำให้อุณหภูมิลดลงได้ถึง 6.7 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับถนนที่ทาด้วยสีแอสฟัลต์มาตรฐานในช่วงเที่ยงและบ่าย

6) การฟื้นฟูภูมิปัญญาโบราณ
เทคนิคการก่อสร้างแบบดั้งเดิมที่ส่งเสริมการระบายอากาศตามธรรมชาติกำลังได้รับการฟื้นฟูในกวางโจว หนึ่งในเมืองใหญ่ของจีนที่มีประชากรราว 19 ล้านคน ย่านประวัติศาสตร์ยงชิ่งฟางของเมืองนี้ได้นำช่องระบายความร้อน กำแพงกลวง และหลังคากระเบื้องสองชั้นมาใช้ ซึ่งช่วยป้องกันความร้อนได้อย่างดี

อ้างอิง: May 28, 2024 . How cities around the world are finding ways to beat extreme heat by Anastasia Moloney, Context

Related posts

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย

เร่งกองทุน Loss and damage ช่วยประเทศเปราะบางสู้วิกฤตโลกเดือด