คนมุ่งสู่เมือง 6,700 ล้าน? เร่งพัฒนาเมืองน่าอยู่ เพื่อบำรุงจิตวิญญาณ

การขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นสร้างแรงกดดันต่อระบบนิเวศมากขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มที่ชาวเมืองจะร่วมกันฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของเมืองขึ้นมาใหม่

พื้นที่เมืองทั่วโลกครอบคลุมพื้นที่เพียง 2-3% แต่เป็นที่อยู่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่ของโลก ปัจจุบันมีผู้คนอาศัยอยู่ในเมืองประมาณ 4,460 ล้านคน หรือประมาณ 57% ของประชากรโลก คาดว่าในปี 2050 ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 6,700 ล้านคน คิดเป็นมากกว่าสองในสามของประชากรโลก

การเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของเมืองจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อาศัย คุ้มทุนและสวยงาม ต้องมีต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษ ลดเสียงรบกวน และทำให้บรรยากาศร่มรื่นขึ้น มีพื้นที่ชุ่มน้ำและสวนป่าช่วยลดความเสี่ยงน้ำท่วม ป่าชายเลนและหนองบึงช่วยป้องกันพายุ พื้นที่สีเขียวเอื้อต่อการออกกำลังกาย บำรุงจิตวิญญาณ และการสื่อสารระหว่างคนในชุมชน

เมืองต่างๆ ใช้ทรัพยากรของโลกไปมาก ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 3 ใน 4 ส่วน และก่อให้เกิดขยะมูลฝอยทั่วโลกถึงครึ่งหนึ่ง คิดแล้วเมืองทั่วโลกมีการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติไปถึง 75% แต่เมืองก็มีส่วนในการสร้าง GDP โลกถึง 80% เมืองต่างๆ จึงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ดังนั้น การบริหารจัดการเมืองจึงมีความสำคัญ

เมื่อ 3 ก.ย. 2021 เมืองและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมกันให้คำมั่นที่จะฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาเป็นปกติในการประชุม Local Action Summit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวันเปิดงาน IUCN World Conservation Congress ที่เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส การประชุมสุดยอดซึ่งจัดโดย IUCN Urban Allianceได้รวบรวมตัวแทนจากเมืองต่างๆ รัฐบาลระดับรอง สมาชิกของ IUCN ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไปร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่สร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์เมืองต่างๆ ทั่วโลก

นายกเทศมนตรีและตัวแทนจากเมืองภูมิภาคต่างๆ รวมถึงพันธมิตรได้ประกาศคำมั่นสัญญาที่จะช่วยดำเนินการตามโครงการ Nature 2030 ของ IUCN และขยายไปสู่กรอบความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกหลังปี 2020 ตามข้อตกลงปารีส และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

หนึ่งในบรรดาคำมั่นสัญญาที่หลากหลาย เมืองกลาสโกว์ได้ประกาศคำมั่นสัญญาที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หยุดยั้งและย้อนกลับการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพภายในปี 2030 เมืองเจนัว มีแผนที่จะสร้างระบบขนส่งไฟฟ้าสาธารณะภายในปี 2025 เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรได้อย่างยั่งยืน เมืองปารีส มีแผนที่จะกำจัดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และจะทำให้สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของมรดกของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2024

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา IUCN ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน และจะยังคงมีส่วนร่วมในโครงการและความคิดริเริ่มที่จะส่งเสริมการผสมผสานของธรรมชาติในการพัฒนาเมืองและระดับภูมิภาค และสามารถสนับสนุนเมืองและรัฐบาลท้องถิ่นในการเปลี่ยนพันธสัญญาของตนให้กลายเป็นการกระทำ

เมืองต่างๆ ใช้ทรัพยากรของโลกไปมาก ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 3 ใน 4 ส่วน และก่อให้เกิดขยะมูลฝอยทั่วโลกถึงครึ่งหนึ่ง คิดแล้วเมืองทั่วโลกมีการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติไปถึง 75%

IUCN ได้ริเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล Contribution for Nature ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกของ IUCN สามารถบันทึกการมีส่วนสนับสนุนที่ตั้งใจไว้ต่อโครงการและกรอบงานและข้อตกลงการอนุรักษ์อื่นๆ เช่น กรอบความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก ข้อตกลงปารีส และ SDGs IUCN Urban Alliance ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรวบรวมความรู้ ประสบการณ์ และพลังของ IUCN เพื่อส่งเสริมเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม มีความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ และสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

ในระหว่างการประชุมสุดยอด Urban Alliance ได้ประกาศเครื่องมือใหม่ นั่นคือ Urban Nature Index เพื่อช่วยให้เมืองต่างๆ ประเมินประสิทธิภาพทางนิเวศวิทยา ตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงตามหลักวิทยาศาสตร์ และติดตามความคืบหน้า ซึ่งเมืองและรัฐบาลระดับรองสามารถเป็นผู้นำในการขยายขอบเขตและนำแนวทางการฟื้นฟูธรรมชาติได้ สามารถปรับตัวรับมือผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ

ปัจจุบันเมืองและภูมิภาคต่างๆ พบว่าตนเองจำเป็นต้องสร้างความสามารถในการฟื้นตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายทางสังคมที่หลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ ทว่าก็ขึ้นอยู่กับผู้นำเมืองนั้นๆ ว่ามองภาพของเมืองในมิติไหน หรืออยากสร้างเมืองน่าอยู่ให้เป็นจริงสำหรับผู้อยู่อาศัยในเมืองได้อย่างไร อย่างเช่น จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ ให้ได้ 66 ตารางเมตรต่อคน อย่างที่ประเทศสิงคโปร์ทำเป็นแบบอย่าง

อ้างอิง:
• Nature-based Solutions for cities . IUCN
• Jul 28, 2022 . City in a Garden สิงคโปร์เมืองเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวมากถึง 66 ตารางเมตรต่อคน . The Sustain

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน