ดาบสองคม ‘ยาปฏิชีวนะ’ ในสัตว์ สู่เชื้อดื้อยาในมนุษย์อย่างเรา

จริงอยู่ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในหมู ไก่ วัว ส่งเสริมให้การเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดีในสัตว์ได้ แต่ถ้าใช้มากไปหรือผิดวิธี มันจะเป็นหนึ่งเหตุปัจจัยภาวะดื้อยาที่ในมนุษย์ผู้บริโภคอย่างเรา

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน PLOS Global Public Health พบว่ามีการใช้ยาต้านจุลชีพมากขึ้นโดยเฉพาะในปศุสัตว์ คาดว่าภายในปี 2573 ยาต้านจุลชีพจะถูกนำมาใช้จะถูกนำมาใช้กับหมู ไก่ วัว และแกะประมาณ 107,500 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปี 2020 ถึง 8%

ยาต้านจุลชีพ คือยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่า ทำลาย หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งหมายรวมถึง ‘ยาปฏิชีวนะ’ ที่มีฤทธิ์ในการฆ่า ทำลาย หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

โดยทั่วไปการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์นั้นมีวัตถุประสงค์ หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อการรักษา 2) เพื่อการป้องกันโรค และ 3) เพื่อเร่งการเจริญเติบโต

จริงอยู่ว่าการใช้ยาดังกล่าวจะส่งเสริมการเจริญเติบโตและป้องกันโรคในสัตว์ให้มีสุขภาพดีได้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากใช้มากไปหรือผิดวิธี มันจะกลายเป็นหนึ่งปัจจัยของการดื้อยาในมนุษย์ หนึ่งในภัยคุกคามต่อสุขภาพของที่เราต้องเผชิญ

ยาฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้ในสัตว์ไม่ถูกวิธีหรือใช้มากไป อาจส่งผลให้เกิดเชื้อดื้อยาในสัตว์ได้ และเชื้อดื้อยาดังกล่าวสามารถถูกส่งผ่านมายังมนุษย์อย่างเราได้ด้วย 3 วิธีหลักๆ คือ 1) การบริโภค 2) การสัมผัสโดยเฉพาะผู้เลี้ยงสัตว์ และ 3) การรับเชื้อจากสิ่งแวดล้อม เช่น ในแหล่งน้ำและดิน เป็นต้น

‘เชื้อดื้อยา’ เกิดจากตัวเชื้อแบคทีตัวเดิมที่พัฒนาตัวเองให้ต้านยาชนิดนั้นได้ ซึ่งกลไกนี้ก็ก็เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์เช่นกัน นั่นเท่ากับว่า หากเราใช้ยาปฏิชีวนะเกิดความจำเป็น และบริโภผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อดื้อยาหรือยาปฏิชีวนะตกค้าง โอกาสเสี่ยงติดเชื้อดื้อยาของเราก็จะมากขึ้น

เมื่อร่างกายติดเชื้อดื้อยาจะทำให้ยาต้านตัวเก่าที่เคยใช้ไม่ได้ผล ซึ่งเชื้อบางชนิดไม่มียารักษาที่มีประสิทธิผลดีและปลอดภัยได้เท่ายาตัวก่อนหน้า ทำให้โอกาสเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เชื้อดื้อยายังสามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมดื้อยาไปสู่เชื้อสายพันธุ์อื่น หรือแพร่สู่ผู้ป่วยรายอื่น

ยาต้านจุลชีพที่ใช้ในสัตว์นั้นส่วนใหญ่ คือกลุ่มยาปฏิชีวนะที่มีความสำคัญทางการแพทย์และถูกนำมาใช้ในการรักษาคน เช่น เตตราไซคลิน แอมเฟนิคอล และเพนิซิลิน

ในประเทศไทยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ามีการติดเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 88,000 ราย โดยเสียชีวิตประมาณปีละ 38,000 ราย

องค์การอนามัยโลกประเมินประเมินว่าในบางประเทศ ยาปฏิชีวนะถูกนำมาใช้ในภาคส่วนปศุสัตว์มากถึง 80%

จากงานวิจัยระบุว่าใน 5 ประเทศใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์มากที่สุดได้แก่ จีน บราซิล อินเดีย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย และคาดว่าจะเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้ยาต้านจุลชีพมากที่สุดในปี 2573 ซึ่งคิดเป็นเกือบ 60% ของการใช้ทั่วโลก

มีการคาดการณ์ไว้ว่าว่าภายในปี 2593 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิต 10 ล้านคนจากการติดเชื้อดื้อยา ซึ่งจากตัวเลขงานวิจัยล่าสุดเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่ายอดผู้เสียชีวิตอาจมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

ที่มา

  • Feb 1, 2023. Global trends in antimicrobial use in food-producing animals: 2020 to 2030. PLOS Global Public Health.
  • สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • อาหาร (ไม่) ปลอดภัย ผลจากการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์. FDA Journal

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน