คาดภายในสิ้นศตวรรษนี้ทั่วโลกจะร้อนขึ้น 3 องศาเข้าสู่ภาวะอันตรายอย่างยิ่ง

ดัชนีความร้อน (heat index) คือตัวชี้วัดว่าบุคคลๆ หนึ่งมีแนวโน้มที่จะทนความร้อนได้ถึงเกณฑ์เมื่อใด โดยสำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ กำหนดระดับ “อันตราย” ของดัชนีความร้อนไว้ที่ 103 องศาฟาเรนไฮต์ (39.4 องศาเซลเซียส) และ “อันตรายอย่างยิ่ง” ที่ 125 องศาฟาเรนไฮต์ (51.7 องศาเซลเซียส)

หากบุคคลได้รับอุณหภูมิที่ “อันตรายอย่างยิ่ง” นั่นอาจนำไปสู่โรคลมแดดได้ ในระดับนั้น และมีเวลาสองสามชั่วโมงในการไปพบแพทย์เพื่อทำให้ร่างกายเย็นลง มิฉะนั้นจะเสียชีวิต

สภาวะดัชนีความร้อนที่ “อันตรายอย่างยิ่ง” แทบไม่เคยได้ยินมาก่อนในทุกวันนี้ มันเคยเกิดขึ้นในพื้นที่ไม่กี่แห่งใกล้อ่าวโอมาน เช่น เกิดแค่สองสามวันในรอบทศวรรษ

แต่โอกาสที่จำนวนวันที่ “อันตราย” จะเพิ่มขึ้นเมื่อโลกร้อนขึ้น เราอาจมีความแปรปรวนของสภาพอากาศใกล้เคียงกับที่กิดขึ้น ณ เวลานี้ที่ซีกโลกเหนือเผชิญกับฤดูร้อนที่โหดสุดๆ ในเวลานี้ ตั้งแต่ยุโรปจนถึงจีน แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดสภาวะร้อนจัดจึงเพิ่มขึ้นไปด้วย

ในพื้นที่ละติจูดกลาง หรือแถบเมืองหนาว ภายในปี 2050 เราจะเห็นจำนวนวันที่อากาศร้อนจัดเป็นสองเท่าในสถานการณ์ที่มีแนวโน้มมากที่สุดในอนาคต แม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงเล็กน้อยซึ่งจะเป็นไปตามเป้าหมายข้อตกลงด้านสภาพอากาศของปารีสในการรักษาภาวะโลกร้อนไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส (3.6 องศาฟาเรนไฮต์) ก็ตาม

ส่วนแถบเมืองหนาวตอนใต้ลงมา เช่น ในสหรัฐอเมริกาตะวันออกเฉียงใต้ สถานการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ ผู้คนจะประสบกับวันที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลาหนึ่งหรือสองเดือนทุกปี เช่นเดียวกันอาจเกิดขึ้นได้ในส่วนต่างๆ ของจีน ซึ่งบางภูมิภาคต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนในฤดูร้อนปี 2022 มานานกว่าสองเดือนติดต่อกัน

เครดิตภาพ : theconversation.com

ในเขตร้อน เช่น บางส่วนของอินเดีย ไทย อาเซียน ดัชนีความร้อนในขณะนี้อาจเกินระดับอันตรายเป็นเวลาสองสามสัปดาห์ต่อปี มันเป็นแบบนั้นมาตลอด 20-30 ปีที่ผ่านมา โดยมีเงื่อนไขในแต่ละปีแตกต่างกัน แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายศตวรรษ เราจะเริ่มมีสภาพที่ “อันตรายอย่างยิ่ง” ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตร้อน

เช่น ทางเหนือของอินเดียสามารถเกิดสภาวะ “อันตรายอย่างยิ่ง” ได้มากกว่าหนึ่งเดือนต่อปีในสภาวะที่อันตรายอย่างยิ่ง ภูมิภาคใต้ซะฮาราของแอฟริกาซึ่งความยากจนแพร่หลาย อาจเกิดสภาวะที่อันตรายอย่างยิ่งยวดในแต่ละปีเป็นเวลาสองสามสัปดาห์

หากคุณเป็นประเทศที่ร่ำรวย คุณสามารถสร้างระบบทำความเย็นและผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้เครื่องปรับอากาศได้ ซึ่งหวังว่าจะไม่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะทำให้โลกร้อนขึ้น แต่หากเป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ทำงานในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อหารายได้ เพื่อซื้ออาหาร ถ้าเป็นแบบนี้ คุณมีตัวเลือกไม่มากนัก

ภายในสิ้นศตวรรษ เราพบสถานการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุดคือโลกเราจะเกิดภาวะโลกร้อนขึ้น 5.4 องศาฟาเรนไฮต์ (3 องศาเซลเซียส) ทั่วโลก เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม แผ่นดินอุ่นเร็วกว่ามหาสมุทร ซึ่งหมายความว่าเพิ่มขึ้นประมาณ 7 องศาฟาเรนไฮต์ (3.9 องศาเซลเซียส) นั่นหมายความว่า สถานที่ที่เราอาศัย ทำงาน และเล่น จะเป็นสถานที่ที่เราเผชิญกับความร้อนขึ้นอย่างชัดเจนและอันตราย

แปลและเรียบเรียงจาก
David Battisti. (August 25, 2022). “If you thought this summer’s heat waves were bad, a new study has some disturbing news about dangerous heat in the future”. The Conversation.

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย