การศึกษาใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าการบริโภคปลาน้ำจืดหนึ่งครั้งต่อปีอาจเท่ากับการดื่มน้ำที่มีสารเคมี PFAS เป็นเวลาหนึ่งเดือน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบรับเคมีอันตรายในปริมาณที่สูงและอันตราย
สารเคมี PFAS (per-and polyfluoroalkyl substances) หรือ ‘สารเคมีตลอดกาล’ (forever chemicals) เป็นสารเคมีใช้ในหลายอุตสาหกรรมตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารไปจนถึงกระทะทอด
งานวิจัยชิ้นนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Environmental Working Group ได้นำตัวอย่างปลาน้ำจืด 44 สายพันธุ์ เช่น เช่น กลุ่มปลากะพง ปลากดอเมริกัน ปลาคอน ซึ่งเป็นปลาที่นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเก็บรวบรวมกว่า 500 ตัวอย่างในสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2556-2558 มาทำการวิเคราะห์ศึกษา
ผลการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่างมีปริมาณสารเคมี PFAS เฉลี่ย 9,500 นาโนกรัมต่อเนื้อปลา 1 กิโลกกรัม และจากผลดังกล่าวทำให้ปลาน้ำจืดมีสารเคมีตกค้างสูงมากกว่าปลาทะเลถึง 280 เท่า
สารเคมี PFAS ใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม และสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเป็น 1,000 ปี จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘สารเคมีตลอดกาล’
ก่อนหน้านี้ในปี 2563 นักวิทยาศาสตร์กลุ่ม Toxic-Free Future จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน และสถาบันวิจัยเด็กซีแอตเทิล ก็ได้ทำการตรวจน้ำนมของแม่ 50 คน ซึ่งน้ำนมทั้งหมด 50 ตัวอย่างนั้นมีสารเคมี PFAS ปนเปื้อนอยู่
นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯพยายามเรียกร้องให้มีการออกกฎระเบียบยกเลิกการใช้สารเคมี PFAS และหาทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่ามาแทน เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์อ่อนแอลง เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ และส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
ที่มา
- Jan 2023. EWG study: Eating one freshwater fish equals a month of drinking ‘forever chemicals’ water. Ewg.org
- Jan 17, 2023. Bass, catfish and perch: Freshwater fish contain ‘staggering’ levels of toxic forever chemicals. Euronews
- May 13, 2021. 100% of breast milk samples tested positive for toxic “forever chemicals”. Toxicfreefuture.org