ANIMAL
-
ทุกวันที่ 3 เมษายน เป็น “วันสัตว์น้ำโลก” ชวนมองลึกถึงความงามและความเปราะบางของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องน้ำ พร้อมกระตุ้นให้ลงมือปกป้องระบบนิเวศ ที่เป็นหัวใจของโลกใบนี้ วันสัตว์น้ำโลก (World Aquatic Animal Day) ซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ 3 เมษายนของทุกปี เป็นโอกาสพิเศษที่มนุษยชาติทั่วโลกได้หันมามองความสำคัญของสัตว์น้ำและระบบนิเวศทางน้ำที่เป็นรากฐานของชีวิตบนโลกใบนี้ สัตว์น้ำและแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อความสมดุลของธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความสำคัญของสัตว์น้ำในระบบนิเวศและชีวิตมนุษย์ สัตว์น้ำครอบคลุมสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ตั้งแต่ปลานานาพันธุ์ วาฬและโลมาที่สง่างาม ปะการังที่เปรียบเสมือนเมืองใต้ทะเล ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างแพลงก์ตอนที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เชื่อมโยงกันในห่วงโซ่อาหารที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบนิเวศทางน้ำ มหาสมุทร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 70% …
-
ทีมวิจัย ค้นพบเส้นทางชีวภาพจากลำไส้ “คาปิบารา” หลังกินอ้อย เผยศักยภาพในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ด้วยเอนไซม์ใหม่ที่ย่อยชีวมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยโลกพ้นวิกฤตพลังงาน ใครจะไปรู้ว่าเจ้า “คาปิบารา” สัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่ หน้าตาสุดมึน น่ารัก และมีพฤติกรรมที่เป็นมิตร จนกลายเป็นสัตว์ที่ครองใจชาวโซเชียล จะมีส่วนช่วยโลกจากวิกฤตพลังงาน เมื่อการค้นพบเส้นทางชีวภาพจากลำไส้คาปิบารา กลายเป็นอนาคตของเชื้อเพลิงชีวภาพจากอ้อย ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงาน และการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่กำลังหมดลงอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความหวังใหม่จากแหล่งที่ไม่คาดคิด นั่นคือ ลำไส้ของคาปิบารา ที่พบได้ทั่วไปในอเมริกาใต้ การศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เผยให้เห็นถึงเส้นทางชีวภาพที่ไม่เหมือนใคร ในระบบย่อยอาหารของคาปิบารา ซึ่งอาจปฏิวัติวงการเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลงชีวมวล …
-
“วันช้างไทย” 13 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจในสัตว์ประจำชาติที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต แต่ปัจจุบันช้างป่าและช้างเลี้ยง เหลือเพียงไม่กี่พันตัว ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ มาร่วมเรียนรู้และหาทางรักษาช้างไทยให้คงอยู่กับเราตลอดไป วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันช้างไทย” ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของช้าง สัตว์ประจำชาติที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และระบบนิเวศของประเทศไทย ช้างไทยไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์แห่งความแข็งแกร่ง และความสง่างาม แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตและความผูกพันของคนไทยที่มีต่อสัตว์ชนิดนี้มาอย่างยาวนาน ที่มาของวันช้างไทย วันช้างไทยได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 …
-
AnimalArticleClimate Change
‘นากทะเล’ วีรบุรุษแห่งการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนในท้องทะเล
by Pom Pomby Pom Pomจุดประกายความหวังใหม่ เมื่อนักวิจัยค้นพบ บทบาทสำคัญในการฟื้นตัวของสาหร่ายทะเล มาจาก “นากทะเล” วีรบุรุษแห่งการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนในท้องทะเล สาหร่ายทะเลมีบทบาทสำคัญทั้งในระบบนิเวศและชีวิตมนุษย์ และยังช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อน และบางชนิดใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน แต่สาหร่ายทะเล กำลังเผชิญภัยคุกคามจากมลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขยายตัวของสัตว์กินพืช เช่น เม่นทะเล ที่เพิ่มขึ้น นากทะเล: ผู้ฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเล และความซับซ้อนของระบบนิเวศ แต่เมื่อนากทะเลกลับคืนสู่เกาะต่างๆ ตามแนวชายฝั่งแคลิฟอร์เนียตอนใต้ และบริติชโคลัมเบีย นักวิจัยสังเกตเห็นการฟื้นตัวของป่าสาหร่ายทะเล ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกทำลายล้างโดยประชากรเม่นทะเล ที่เพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม อัตราการฟื้นตัวที่แตกต่างกันระหว่างสถานที่ต่างๆ ได้จุดประกายคำถามในหมู่นักวิทยาศาสตร์ …
นักวิจัยไทยสร้างชื่อ ค้นพบ ‘จิ้งจกหินศิวะ-ตุ๊กแกศิวะ’ ครั้งแรกของโลก
มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ นักวิจัยไทย ค้นพบ “จิ้งจกหินศิวะ” และ “ตุ๊กแกศิวะ” สัตว์เลื้อยคลายชนิดใหม่ของโลก กลางผืนป่าเขาหินปูน จ.สระแก้ว เป็นเครื่องยืนยันว่า พื้นที่หินปูนแห่งนี้ คือขุมทรัพย์ของความหลากหลายทางชีวภาพ กลางผืนป่าเขาหินปูนที่เงียบสงบใน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว ภายใต้ม่านแห่งความลี้ลับของธรรมชาติ กลุ่มนักวิจัยนำโดย ผศ.ดร.วรวิทู มีสุข คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ร่วมด้วย นายมนตรี สุมณฑา …
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ห่วงประชากร “พะยูน” หลังพบถูกเลาะเขี้ยว 2 ข้าง สร้างความสะเทือนใจ มอบหมายกรมทรัพย์ฯ-กรมอุทยานฯ ผนึกกำลังเครือข่าย สืบสวนหาผู้กระทำผิด จากเหตุการณ์ที่พบ “พะยูน” เกยตื้นบริเวณอ่าวโล๊ะใหญ่ จังหวัดกระบี่ และถูกตัดเขี้ยวทั้งสองข้างหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้สั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการร่วมพิทักษ์พะยูน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ …