กรมชลฯ เตือน 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา น้ำสูงขึ้นกว่า 1 เมตร ระวังน้ำท่วม

by Chetbakers

กรมชลฯ คาดการณ์ 1-3 วันข้างหน้าต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 800-1,100 ลบ.ม.ต่อวินาที ให้ประชาชนริมฝั่งเจ้าพระยา เฝ้าระวังน้ำท่วม

กรมชลประทานทำหนังสือถึงอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งด่วนถึงผู้ว่าฯ 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ประกอบด้วย กทม. อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน หลังต้องเพิ่มการระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และปริมาณน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น

หนังสือแจ้งเตือน ฉบับนี้ระบุว่า ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำบ่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24 – 31 ก.ค. 2567 จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ เมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำต่ำกำลังแรงบริเวณตอนไต้ของจีน

ประกอบกับตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น จะทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมถึงมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกและด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคตะวันตก

จากการคาดการณ์โดยกรมชลประทานใน 1-3 วันข้างหน้า โดยในวันที่ 24 ก.ค. 2567 ที่สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 1,200 – 1,300 ลบ.ม.ต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขามีปริมาณ 300 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณระหว่าง 1,500 – 1,600 ลบ.ม.ต่อวินาที และรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่งในอัตรา 500 ลบ.ม.ต่อวินาที

กรมชลประทานมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 800-1,100 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.80-1.10 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ทำดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนพระนครศรีธยา (แม่น้ำน้อย) โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่บต่อพื้นที่ชุมที่ชุมชน

หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเชื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,100 ลบ.ม.ต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพ

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทานได้แจ้งเตือน 11 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ขอให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สำหรับปริมาณน้ำจากพื้นที่ตอนบนที่ระบายจากเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และแควน้อยฯ ไหลมารวมกันที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสถานีวัดน้ำ C.2 ค่ายจิรประวัติ จ.นครสวรรค์ปัจจุบัน (25 ก.ค. 67) อยู่ที่ 1,135 ลบ.ม./วินาที

กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก รวมรับน้ำ 520 ลบ.ม.ต่อวินาที แยกออกเป็น ดังนี้
• พื้นที่ฝั่งตะวันออก รับน้ำเข้าคลอง ประกอบด้วย คลองชัยนาท-ป่าสัก ผ่านประตูระบายน้ำ (ปตร.) มโนรมย์ คลองชัยนาท-อยุธยา ผ่าน ปตร.มหาราช และคลองเล็กอื่นๆ รวม 180 ลบ.ม.ต่อวินาที
• พื้นที่ฝั่งตะวันตก รับน้ำเข้าคลอง ประกอบด้วย คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง แม่น้ำท่าจีน ผ่าน ปตร.พลเทพ แม่น้ำน้อย ผ่าน ปตร.บรมธาตุ และคลองเล็กอื่นๆ รวม 340 ลบ.ม.ต่อวินาที
• ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา วันที่ 25 ก.ค. 800 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับเหนือเขื่อน+16.15 ม.รทก. นอกจากนี้เขื่อนป่าสักฯ ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำป่าสัก 10 ลบ.ม.ต่อวินาที ไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 49 ลบ.ม.ต่อวินาที ก่อนไหลมาบรรจบที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสถานี C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เฉลี่ย 857 ลบ.ม.ต่อวินาที

สภาพน้ำท่า ณ วันที่ 25 ก.ค.
• แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,135 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 815 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ+20.44 ม.รทก. ต่กว่าตลิ่ง 5.26 ม.
• เขื่อนเจ้าพระยา สถานี C.13 อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่าน 800 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 700 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำเหนือเขื่อน +16.15 ม.รทก. ระดับน้ำท้ายเขื่อน +10.10 ม.รทก.
• แม่น้ำป่าสัก ระบายท้ายเขื่อนพระรามหก 49.35 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 36.42 ลบ.ม.ต่อวินาที) ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านสถานนีวัดน้ำ C.29 อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 857 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 650 ลบ.ม.ต่อวินาที)

สำหรับการรับน้ำฝั่งตะวันตก 340 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 342 ลบ.ม.ต่อวินาที) ลดลง 2 ลบ.ม.ต่อวินาที สามารถรับน้ำสูงสุด 585 ลบ.ม.ต่อวินาที, การรับน้ำฝั่งตะวันออก 180 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 181 ลบ.ม.ต่อวินาที) ลดลง 1 ลบ.ม.ต่อวินาที สามารถรับนำสูงสุด 275 ลบ.ม.ต่อวินาที รวมรับน้ำ 2 ฝั่ง 520 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 523 ลบ.ม.ต่อวินาที)

ทั้งนี้ อิทธิพลของร่องมรสุม/หย่อมความกดอากาศต่ำ/มรสุมที่พัดผ่านประเทศไทยตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวมทั้งสิ้น 27 จังหวัด เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 19 จังหวัด ยังประสบอุทกภัย 8 จังหวัด คือ พิษณุโลก พิจิตร ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด จันทบุรี และพระนครศรีอยุธยา

Copyright @2021 – All Right Reserved.