โลกป่วนภูมิอากาศเปลี่ยน คุมอุณหภูมิไม่อยู่ Flexitarian ช่วยกอบกู้โลก

by Chetbakers

การหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ การคุมอุณหภูมิที่ 1.5 องศา ก็ยากมาก ทางรอดเดียวต้องเร่งปฏิรูประบบอาหาร และกินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง

ไปบอกใครให้เลิกกินเนื้อสัตว์ ชวนกินมังสวิรัติ หันมาสนใจมาเป็นวีแกน คงเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับวิถีการบริโภคปกติ แต่ก็ไม่แปลกหากไม่รู้ว่ารู้ว่า 1 ใน 3 ของก๊าซเรือนกระจกของโลกมาจากระบบอาหาร โดยเฉพาะภาคปศุสัตว์ที่แบ่งสัดส่วนนี้ไปถึง 2 ใน 3

ฉะนั้นถึงเวลาที่จะต้อง “ปฏิรูประบบอาหาร” หรือการได้มาซึ่งอาหารและปรับการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันเสียใหม่ เพื่อให้เราทุกคนมีส่วนในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส (ตามความตกลงปารีส) หรือเลวร้ายขั้นทะลุไปถึง 2 องศาเซลเซียส ภายในเวลาไม่เกินสิ้นศตวรรษนี้

คำถามก็คือ ทำไมภาระความรับผิดชอบโลกใบนี้ที่ร้อนขึ้นทุกวันจึงตกมาอยู่กับผู้บริโภคหรือภาคเกษตร ทั้งที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าภาคพลังงานและอุตสาหกกรม คำตอบก็คือ แน่นอนอนที่สุดทุกคนทุกภาคส่วนต้องช่วยกันกอบกู้โลก ในภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรื่อนกระจกเยอะๆ ยังไงเสียก็ต้องลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) โดยเฉพาะลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล เพราะทั่วโลกไม่ยอมให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปในรูปแบบเดิมอีกต่อไป

ภาคเกษตรซึ่งปล่อยก๊าซแค่ 1 ใน 3 ของทั้งหมด แต่มีเทนก็เป็นก๊าซเจ้าปัญหาตัวการร้ายต่อสภาพภูมิอากาศโลก โดยเฉพาะที่มาจากการทำปศุสัตว์จำนวน 2 ใน 3 – แล้วจะลดการทำปศุสัตว์ลงได้อย่างไรในเมื่อประชากรมีแต่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 โลกจะมีประชากรมากขึ้นถึง 10,000 ล้านคน

การเป็น Flexitarian นั้นจะว่าไปก็ไม่ง่ายหากต้องพึ่งพาการซื้ออาหารกินเองทุกมื้อ ยกเว้นทำอาหารกินเอง แต่ก็ไม่ได้ลำบากมากจนเกินไป เพราะวิถีนี้ไม่มีกฎตายตัวเหมือนวีแกนที่เคร่งครัดมาก

ดังนั้นแน่นอนว่ามีแต่จะมีการเพาะปลูกเพิ่มและผลิตเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับจำนวนประชาชกรที่มากขึ้น แต่พื้นที่การเกษตรก็มีจำกัดหากจะรองรับจำนวนคนมหาศาลขนาดนั้นจะต้องใช้พื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้นขนาดเท่ากับประเทศอินเดีย 2 ประเทศ หรือประเทศไทย 12 ประเทศ เพื่อปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ให้พอเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเราไม่ได้มีพื้นที่เหล่านั้น

นี่เป็นที่มาของ “การปฏิรูประบบอาหาร” โดยเฉพาะการลดการได้มาของโปรตีนในรูปแบบบเดิมหรือจากเนื้อสัตว์นั่นเอง นั่นจึงเป็นกระแส Flexitarian (คำผสมระหว่าง Flexible และ Vegetarian เป็นการกินมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น เน้นกินผัก ผลไม้ ธัญพืชเป็นหลัก เพิ่มโปรตีนด้วยพืชโปรตีนสูง) ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการรับประทานพืชผักมากขึ้นเพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์

กลุ่มคนเหล่านี้ยังบริโภคเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่ตั้งใจปรับสัดส่วนให้ที่มาของโปรตีนจากเนื้อสัตว์มีความสมดุลมากขึ้น เพราะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า Planetary Boundaries หรือเขตจำกัดของโลกนั่นเอง

วิถีบริโภค Flexitarian นอกจากจะไม่เบียดเบียนสัตว์ อ่อนโยนต่อโลกแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้สุขภาพดีอีกด้วย ซึ่งเอาเข้าจริงมีรูปแบบการบริโภคในแนวทางนี้มีความแตกต่างและหลากหลาย เช่น มังสวิรัตินม (Lacto vegetarian) รับประทานนม แต่งดไข่, มังสวิรัติไข่ (Ovo vegetarian) รับประทานไข่ แต่ไม่ดื่มนม, มังสวิรัติปลา (Pesco vegetarian) เป็นกลุ่มมังสวิรัติที่บริโภคปลาและอาหารทะเล และกลุ่มกึ่งมังสวิรัติ (Semi vegetarian) งดการรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู แต่ยังรับประทานเนื้อปลา ไก่ ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่ ซึ่ง Flexitarian ก็อยู่ในกลุ่ม Semi-vegetarian หรือคล้ายคลึงกับ Reducetarian diet ที่ตั้งใจลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงนั่นเอง

คำว่า Flexitarian เป็นศัพท์บัญญัติใหม่ที่เพิ่งถูกเพิ่มลงใน Oxford English Dictionary เมื่อปี 2014 โดยที่ Dawn Jackson Blatner ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ Flexitarian Diet เล่มแรก โดยได้นิยามวิถีการกินนี้ไว้ว่า “คุณสามารถเรียกมันว่าการกินแบบ ‘เกือบจะมังสวิรัติ’ ก็ได้ เพราะนี่คือวิถีการกินที่คุณยังสามารถได้รับประโยชน์ของการกินอาหารแบบมังสวิรัติ ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในบางโอกาส”

ข้อมูล The Vegan Society เผยว่า ในปี 2018 ความนิยมในเทรนด์มังสวิรัติทุกประเภทจากทั่วโลกเพิ่มสูงมากถึง 9.87 เท่าจากปีก่อน มีชาวอเมริกันกินมังสวิรัติเคร่งครัดประมาณ 7.3 ล้านคน แต่มีมากถึงราว 22.8 ล้านคน ระบุว่าตัวเองเป็นคนเน้นกินผัก ในขณะเดียวกันจากรายงานของ Waitrose บอกว่าชาวอังกฤษถึง 1 ใน 3 บริโภคเนื้อสัตว์น้อยลงและ 1 ใน 5 เข้าสู่วิถี Flexitarian ซึ่งต่างก็มีเหตุผลที่แตกต่างหลากหลาย

งานวิจัยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ปี 2018 ชี้ให้ว่า การกินมังสวิรัติเป็นหนึ่งในวิธีลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด เนื่องจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์นั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 14% หรือเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคคมนาคมขนส่งทั้งภาค

การเป็น Flexitarian นั้นจะว่าไปก็ไม่ง่ายหากต้องพึ่งพาการซื้ออาหารกินเองทุกมื้อ ยกเว้นทำอาหารกินเอง แต่ก็ไม่ได้ลำบากมากจนเกินไป เพราะวิถีนี้ไม่มีกฎตายตัวเหมือนวีแกนที่เคร่งครัดมาก เอาเป็นว่าให้ยึดหลักกินเนื้อสัตว์ให้น้อยเข้าไว้ เลี่ยงได้เลี่ยง อย่างเช่นหากปกติรับประทานอาหาร 3 มื้อ ให้งดเนื้อสัตว์ลง 1 มื้อก็ถือว่าทำได้แล้ว เพียงแต่ในระยะยาวจะต้องรักษาสมดุลของโปรตีนที่ร่างกายได้รับให้เพียงพอ ซึ่งมีสูตรการกินให้เลือกมากมาย

เทรนด์การบริโภคอาหารแบบนี้จะว่าไปก็อาจจะเป็นของแสลงสำหรับมีตเลิร์ฟเวอร์ไม่น้อย เพราะมันเป็นกระแสที่ผ่าลงไปท่ามกลางความเบ่งบานของการบริโภคนิยมที่เฟื่องฟูสุดขีดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอาหารฟาสต์ฟู๊ดส์และร้านอาหารบุฟเฟต์ที่ขยายตัวและได้รับความนิยมสูงมาก

อย่างไรก็ดี แต่หากเรายึดเอาเรื่อง “สุขภาพระยะยาว” ที่มีคุณภาพ (Healthspan) เป็นที่ตั้งก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้ไม่ยาก ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการกินที่ดูแดลเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการทำให้อาหารทุกมื้อที่บริโภคมีส่วนในการถนอมโลกไปในตัวด้วย

ดังนั้น แน่นอนที่สุดการลดการบริโภคเนื้อสัตว์มีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ (ต้องรณรงค์ไปเรื่อยๆ เหมือนการลดพลังงานฟอสซิล) จากรายงาน The EAT-Lancet Commission on Food, Planet, Health ที่ให้ความสำคัญด้านโภชนาการและสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน สรุปรายงานว่า แนวทางการรับประทานอาหารแบบยืดหยุ่นหรือ Flexitarian เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน Win-Win ทั้งเราและโลก

แน่นอนว่า ทัศนะแบบไทยๆ เรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ และมักจะมีความเชื่อในการกินไปในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือ การกินดี ต้องกินมาก กินแพง และมักคิดไปเองว่า สามารถชดเชยสุขภาพ (ที่ดี) จากการกินด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งมักทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำ โดยเฉพาะกลุ่ม “มีตเลิฟเวอร์ส” ด้วยแล้ว คงไม่ง่ายที่จะตัดสินใจกระโจนเข้าสู่แนวทางนี้ แต่ลงมือลองทานสักมื้อก็ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี

ข้อมูลคณะกรรมการสากลด้านการปฏิรูประบบอาหาร (EAT Lancet) เมื่อปี 2019 พบว่า เกือบทั่วโลกบริโภคเนื้อสัตว์เกินพอดี หรือล้นเกินเมื่อวัดจากปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และก็ทำร้ายโลกด้วย โดยภูมิภาคเอเชีย และเอเชียตะวันออกกินเกินไปประมาณ 2.6 เท่า ในขณะที่ประเทศไทยกินเกินไป 1 เท่า

ประเด็นใหญ่อาจเป็นเพราะมีความกังวลว่า การลดหรือเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์จะทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ หรือมีความเข้าใจว่าโปรตีนต้องได้จากเนื้อ นม ไข่ เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มีโปรตีนจากพืช และโปรตีนทางเลือก (alternative proteins) ที่หลากหลาย และครอบคลุมเช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราสามารถสร้างความสมดุลการบริโภคของตัวเองได้อย่างไรมากกว่า 

ถึงที่สุดแล้วเรื่องสุขภาพของเราเองจะเป็นคำตอบและคำอธิบายว่า เราควรจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายตัวเองอย่างไร และการบริโภคอาหารทุกมื้อพอจะมีส่วนช่วยโลกให้มีความยั่งยืนได้มากน้อยแค่ไหน

อ้างอิง:
6 Sep2024 . ปลุกกระแส ‘ปฏิรูประบบอาหาร’ ลดก๊าซมีเทนรับมือ Climate Change, Igreenstory
05 มิ.ย. 2562 . Flexitarian กินมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น, ThaiHealth
01 07 2022 . เนื้อสัตว์จากพืช – เทรนด์อาหารโลกช่วยลดโลกร้อน, มหาวิทยาลัยมหิดล
13.05.2023 . LIFE TIP: การลด หรือเลี่ยงบริโภคเนื้อสัตว์ มีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้ โดย นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ, The Standard
20 ธ.ค. 2566 . จักรชัย โฉมทองดี เรื่องกินของคนไทย และเรื่องใหญ่ในชั้นบรรยากาศโลก โดย อภิรดา มีเดช, Thairath Plus

 

 

Copyright @2021 – All Right Reserved.