ค้นพบไมโครพลาสติกบนใบพืชครั้งแรกจากน้ำที่ขังบนใบพืช

ไมโครพลาสติกได้แพร่กระจายทะลุทะลวงสู่ระบบนิเวศเกือบทุกแห่งหนในโลก ทั้งที่ถูกค้นพบในดิน แม่น้ำ อาหาร และแม้กระทั่งในร่างกายของมนุษย์ เมื่อเร็วๆ นี้ทีมนักวิจัยพบว่า ไมโครพลาสติกในน้ำติดอยู่ในซอกใบพืชเป็นครั้งแรก

Katar?na Foga?ov?, Peter Manko และ Jozef Obona แห่งมหาวิทยาลัย Pre?ov ประเทศสโลวาเกีย เริ่มต้นออกเดินทางสู่สโลวาเกียตะวันออกเพื่อศึกษาต้นทีเซิล (Teasels) ที่อาศัยอยู่ในแอ่งน้ำเล็กๆ

ทีเซิลอยู่ในสกุล Dipsacus มีลักษณะเด่นคือ มีใบที่เติบโตบนลำต้นหลายชั้น และมีการจับก้านเข้าด้วยกันเหมือนถ้วย ซึ่งรวบรวมน้ำเอาไว้เหมือนอ่างเก็บน้ำน้อยๆ ที่เรียกว่า เทลมาตา

ไมโครพลาสติกบนใบพืช

นักวิจัยประหลาดใจที่พบชิ้นส่วนและเส้นใยที่มีสีต่างกัน บางชิ้นมีความยาวถึง 2.4 มม. ซึ่งถูกระบุว่า เป็นไมโครพลาสติก นักวิจัยถึงกับบอกว่า “คำถามคือ พวกมันปนเปื้อนด้วยไมโครพลาสติกอย่างไร”

ยังไม่พบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อนอื่นๆ ในพื้นที่ที่ทำการศึกษา ดังนั้นเศษและเส้นใยน่าจะมาจากบรรยากาศที่เป็นมลพิษ อีกทฤษฎีหนึ่งคือหอยทากอาจนำพวกมันจากดินหรือจากพืชอื่นๆ ติดมา

พวกเขาแนะนำว่า เนื่องจากความสามารถทางทฤษฎีในการดักจับไมโครพลาสติกจากสิ่งแวดล้อมทำได้หลายวิธี ทำให้ “ทีเซิล ไฟโตเทลมาตา” อาจเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของการพบไมโครพลาสติกในพืชและถือว่าเป็นแนวทางใหม่ในการปรากฏตัวของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจาก
( Sep 9, 2022) “First discovery of microplastics from water trapped on plant leaves”. Pensoft Publishers

Related posts

ค่าฝุ่นปากีสถานทะลุ 1,900 รั้งอันดับโลก อ้างพัดข้ามพรมแดนจากอินเดีย

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน

ข้อบัญญัติใหม่ กทม. ไม่แยกขยะเก็บ 60 บาท/เดือน แยกขยะจ่าย 20 บาท