ค้นพบ..พลาสติทาร์ มลพิษมหาสมุทรรูปแบบใหม่ ส่วนผสมทาร์และไมโครพลาสติก

เครดิต-Research Group of ULL

ทีมนักวิจัยสำรวจชายฝั่งของเกาะเตเนริเฟของสเปนในหมู่เกาะคานารีพบกลุ่มของน้ำมันดินที่แข็งตัว ซึ่งเต็มไปด้วยเศษพลาสติกเล็ก ๆ หลากสีสัน ซึ่งเรียกว่า ส่วนผสมของทาร์และไมโครพลาสติก หรือ “พลาสติทาร์” ที่มีแตกต่างจากมลพิษพลาสติกอื่น ๆ ที่เคยพบเห็นในมหาสมุทร

Javier Hern?ndez Borges รองศาสตราจารย์ด้านเคมีวิเคราะห์ที่มหาวิทยาลัย La Laguna ในเมืองเตเนรีเฟ ผู้ก่อตั้งคำว่า plastitar กล่าวว่า “การมีอยู่ของพลาสติกในสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่ไมโครพลาสติกหรือขวดในทะเลอีกต่อไป “ตอนนี้มันทำให้เกิดรูปแบบใหม่ ในกรณีนี้คือหนึ่งที่รวมสารปนเปื้อนสองอย่างเข้าด้วยกัน”

เมื่อพูดถึงพลาสติตาร์ การก่อตัวของมันนั้นเรียบง่าย เนื่องจากคราบน้ำมันจากการรั่วไหลในมหาสมุทรจะระเหยกลายเป็นไอ มันจะถูกชะล้างขึ้นฝั่งเหมือนน้ำมันดินที่เกาะติดกับชายฝั่งหินของหมู่เกาะคานารี และเมื่อคลื่นที่พาไมโครพลาสติกหรือเศษซากทะเลชนิดอื่น ๆ ชนเข้ากับโขดหิน เศษขยะนี้จะเกาะติดกับน้ำมันดิน

เมื่อเวลาผ่านไปจะก่อรูปแข็งตัว โดยทุกอย่างตั้งแต่เศษอุปกรณ์ตกปลาที่ถูกทิ้งไปจนถึงเม็ดพลาสติกและเศษโพลีเอสเตอร์และไนลอนที่หลงเหลืออยู่จะหลอมรวมกับน้ำมันดิน โดยนักวิจัยเหล่านี้บอกว่า พวกเขาไม่สงสัยเลยว่ามี plastitar อยู่ทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลกระทบของพลาสติตาร์ต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัยเชื่อว่าการรวมกันของไฮโดรคาร์บอนและไมโครพลาสติกหมายความว่าสารเคมีที่เป็นพิษจะรั่วไหล ทำให้เกิดสภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับสิ่งมีชีวิต เช่น สาหร่าย

จากการศึกษาตัวอย่างไมโครพลาสติกทะเล จำนวน 8,218 ตัวอย่างจากมหาสมุทรโลกที่เก็บรวบรวมระหว่างปี 2000 ถึง 2019 ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาชุดข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อประเมินปริมาณไมโครพลาสติกและแนวโน้มระยะยาวของพวกมันในมหาสมุทรตอนบนของโลก ทีมวิจัยพบไมโครพลาสติกจำนวน 24.4 ล้านล้านชิ้น ในมหาสมุทรโลก แต่ปริมาณจริงน่าจะมากกว่ามากนั้น

อ้างอิง:

Ashifa Kassam in Madrid (Jun 13, 2022) “Plastitar: mix of tar and microplastics is new form of pollution, say scientists” . The Guardian

Kyushu University (Oct 27, 2021) Twenty-four trillion pieces of microplastics in the ocean and counting . ScienceDaily

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย