5 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตจากสภาพอากาศสุดขั้ว หนาวตายมากกว่าร้อนตาย

สภาพอากาศสุดขั้วทำให้มีผู้เสียชีวิตปีละ 5 ล้านคน โดยการเสียชีวิตจาก “ความหนาวเย็น” มีมากกว่าการเสียชีวิตจาก “ความร้อน”

คนทั่วไปคิดว่าการเสียชีวิตจากอุณหภูมิสุดขั้ว มักจินตนาการถึงคนที่เป็นโรคลมแดด หรือเสียชีวิตจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำเกินไป แต่ความจริงแล้วคนส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตจาก “ความร้อน” หรือ “ความหนาวเย็น” โดยตรง แต่พวกเขาเสียชีวิตจากภาวะต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต การติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือโรคเบาหวาน (ไม่มีคำว่า “ความร้อน” หรือ “ความหนาวเย็น” เขียนอยู่บนใบมรณะบัตรของพวกเขา)

สภาพอากาศสุดขั้วคร่าชีวิตปีละ 5 ล้านคน
ผู้สูงอายุตกเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดต่ออุณหภูมิสุดขั้ว การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี โดยการ “เสียชีวิต” ของคนเหล่านี้หมายถึงการที่ร่างกายร้อนหรือหนาวเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงในพัฒนาการของโรคบางอย่างหรือทำให้โรคที่มีอยู่เดิมแย่ลงได้ และนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

บทความนี้จะใช้คำว่า “การเสียชีวิตที่เกี่ยวกับอุณหภูมิ” โดยจากบทความล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน Nature Communications โดย Kai Chen และคณะในปี 2024.4 พบว่า การปรับตัวด้านสภาพอากาศของคนในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน ปกติคนสามารถปรับตัวต่ออุณหภูมิร้อนหรือหนาวได้โดยธรรมชาติ หรือสามารถปรับตัวโดยการใช้ระบบทำความร้อนหรือความเย็น อย่างเช่น คนในแวนคูเวอร์ปรับตัวได้ดีกับอุณหภูมิที่หนาวมาก แต่ปรับตัวได้ไม่ดีกับวันที่ร้อน

หรืออย่างคนในฝรั่งเศสได้รับผลกระทบมากเมื่อเผชิญคลื่นความร้อนขนาดใหญ่ในยุโรปในปี 2003 ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 15,000 คน โดยอุณหภูมิสูงสุดมากถึง 40°C เป็นเวลามากกว่าหนึ่งสัปดาห์ในบางเมือง

อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่คนเสียชีวิตจากอุณหภูมิที่ “หนาวปานกลาง” ซึ่งจากการศึกษาโดย Qu Zaho และคณะ ได้ประมาณการการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิในช่วงปี 2000 ถึง 2019 พบว่า อยู่ที่ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับ 9.4% ของการเสียชีวิตที่มาจากสาเหตุทั้งหมด หรือเกือบ 1 ใน 10 ของการเสียชีวิต

หนาวตายมีมากกว่าร้อนตาย
การศึกษาก่อนหน้าโดย Antonio Gasparrini และคณะ ประมาณการว่าส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นทั้งในประเทศออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา จีน อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ไต้หวัน ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากการประมาณการอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิธีการ คุณภาพของข้อมูล และการสมมติฐานเกี่ยวกับวิธีการตอบสนองของมนุษย์ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

แต่โดยรวมแล้วตัวเลขการเสียชีวิตจะอยู่ในช่วง 1.7 ถึง 5 ล้านคน และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความหนาวมีมากกว่าการเสียชีวิตจากความร้อนทั้งหมดในทุกประเทศ และทั่วโลกการเสียชีวิตจากความหนาวสูงกว่าการเสียชีวิตจากความร้อนเป็น 9 เท่า

นอกจากนี้ จากการศึกษาที่ครอบคลุม 854 เมืองในยุโรป พบว่า การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความหนาวมีอัตราส่วนประมาณ 10 เท่าของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เมื่อศึกษาอย่างละเอียดในอังกฤษและเวลส์ พบว่า การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความหนาวสูงขึ้นสองระดับ เช่นเดียวกับประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา และขอย้ำว่า สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากเงื่อนไขที่ “เย็นปานกลาง” ไม่ใช่อุณหภูมิที่ “เย็นยะเยือก”

***********
หมายเหตุ – บทความนี้เขียนโดย Hannah Ritchie หัวข้อ How many people die from extreme temperatures, and how could this change in the future: Part one, July 1, 2024 – Our World in Data

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่