สถานีชาร์จ EV เคลื่อนที่โทรสั่งได้เหมือนฟู๊ดเดลิเวอรี่โครงสร้าง (พื้นฐาน) เพื่อรถยนต์ไฟฟ้า

‘ถ้าคุณต้องการแก้ปัญหาใหญ่สำหรับโลก ให้แก้ที่ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า’ แนวคิดจากวิชาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมจุดเริ่มต้นของสถานีชาร์จ EV เคลื่อนที่ 

ความวิตกกังวลส่วนใหญ่ของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) คือสถานีชาร์จ และตามรายงานสำรวจปัจจัยเลือกใช้รถ EV ของ Ernst and Young ในปี 2022 ระบุว่าสถานีชาร์จคือปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ใช้รถหลายคนยังไม่พร้อมเปลี่ยนมาใช้ EV

SparkCharge ผู้พัฒนาเครือข่ายและระบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจึงได้ออกบริการสถานีชาร์จเคลื่อนที่ ปัจจุบันมีให้บริการแล้วใน 121 เมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และมีแผนที่จะขยายต่อให้ทั่วประเทศ และในยุโรป

วิธีใช้บริการคือสมัครสมาชิกกับแอปพลิเคชัน SparkCharge เลือกเวลา สถานที่ และประเภทรถที่ต้องการชาร์จ จากนั้นช่างเทคนิคจะนำ Roadie เครื่องชาร์จพกพาไปชาร์จให้ถึงที่ หรือหากกดใช้บริการเรียกฉุกเฉิน เช่น แบตหมดระหว่างทาง SparkCharge การันตีว่าจะไปถึงภายใน 90 นาที 

จอช เอวีฟ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของ SparkCharge ได้แนวคิดการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเคลื่อนที่ขณะที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ในปี 2014 จากอาจารย์ที่สอนบอกว่า ‘ถ้าคุณต้องการแก้ปัญหาใหญ่สำหรับโลก ให้แก้ที่ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า’ 

ก่อนจะพัฒนาเป็นสถานีชาร์จเคลื่อนที่ จอชได้ออกแบบ Roadie แท่นชาร์จ EV แบบพกพาที่สามารถนำติดตัวไปไว้ชาร์จได้  ด้วยแนวคิดเริ่มต้นนั้นทำให้จอชชนะการประกวดบริษัทสตาร์ทอัพในหมวดเทคโนโลยีสะอาดที่จัดโดยมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ และได้เงินสนับสนุน 4,500 ดอลล่าสหรัฐ 

จอชกล่าวเพิ่มเติมว่าโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า จะเอื้อให้ผู้บริโภคจำนวนมากตัดสินใจง่ายขึ้นในการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์เบนซินมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า100%

ที่มา

  • sparkcharge.io
  • December 22,2022, ‘This Mark Cuban-backed $110 million startup wants to make charging EVs like ordering takeout.’ CNBC
  • May 2022, ‘EY Mobility Consumer Index 2022 study.’ Ernst and Young
  • March 27, 2017, iSchool Student Entrepreneurs Win iPrizes, Advance to Statewide Business Plan Competition.’ iSchool Syracuse University

Related posts

ประมงพื้นบ้านค้านร่างพ.ร.บ.การประมง เปิดช่องทำลายห่วงโซ่อาหาร

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน