614
สองวันหลังจากการพังทลายของเขื่อนโนวาคาเคฟกา(Nova Kakhovka) ของยูเครน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ไม่เพียงแค่การอพยพของประชาชน ความเสี่ยงต่อทุ่นระเบิดระหว่างเคลื่อนย้าย แต่ยังรวมไปถึงภาคการเกษตรของยูเครนแหล่งธัญพืชที่สำคัญของโลก และระบบนิเวศในทะเลดำซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำท่วม
- เขื่อนโนวาคาเคฟกาเป็นเขื่อนขนาดใหญ่สูง 30 เมตร ยาว 3.2 กิโลเมตร สร้างขึ้นในยุคโซเวียต อยู่ทางตอนใต้ของยูเครน แต่เป็นพื้นที่ควบคุมของรัสเซียได้รับความเสียหายเมื่อวันอังคาร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง
- การทำลายเขื่อน โนวาคาเคฟกายังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นฝีมือของรัสเซีย แม้แต่ โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนยังพูดว่า “ไม่เข้าใจว่าทำไมทุกคนถึงสงสัยเรื่องนี้”
- สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า ตามรายงานของทั้งกองทัพยูเครนและรัสเซีย ต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายว่าคือผู้ทำลายเขื่อน แต่จากการตรวจสอบดาวเทียมไม่ได้รับการยืนยันว่ามีการระเบิดอย่างรุนแรงรอบเขื่อน ภาพถ่ายดาวเทียมบ่งชี้ว่าสภาพของเขื่อนทรุดโทรมลงจนถึงวันที่ 6 มิ.ย.สามารถเห็นรอยแตกของกำแพงและการพังทลายอย่างชัดเจน
- น้ำท่วมส่งผลให้ประชากยูเครนหลายแสนคนไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่ม และผู้คนราว 42,000 คนตกอยู่ในภาวะเสี่ยงทุ่นระเบิด
- “ในอดีตเรารู้ว่าอันตรายอยู่ที่ไหน ตอนนี้เราไม่รู้ สิ่งที่เรารู้ก็คือ [ทุ่นระเบิด] ต้องอยู่ที่ไหนสักแห่งที่อยู่ปลายน้ำ” เอริก โทลเลฟเซน หัวหน้าหน่วยปนเปื้อนอาวุธของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศกล่าว
- เซเลนสกีเรียกเหตุการณ์น้ำท่วมนี้ว่าเป็น ‘ระเบิดทำลายล้างสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรป’ และเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เกิดภัยพิบัติเชียร์โนบีลในปี 2529
- พื้นที่อนุรักษ์ทางธรรมชาติและสัตว์ป่ารวมทั้งหมด 48 แห่ง จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมบางส่วนหรือทั้งหมด
- ยูเครนเป็นผู้ผลิตและส่งออกแอมโมเนีย ยูเรีย และโพแทสเซียม ส่วนผสมสำคัญที่ใช้ในปุ๋ยประเภทไนโตรเจน น้ำที่ท่วมมีโอกาสปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตร เนื่องจาก ไหลลงสู่ทะเลดำ ส่งผลกระทบต่อรัสเซีย โรมาเนีย จอร์เจีย ตุรกี และบัลแกเรีย ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศรอบทะเลดำ
- รัสเซียและยูเครนเป็นหนึ่งในสองประเทศที่ส่งออกธัญพืชมากที่สุดของโลก โดยประเทศ 5 อันดับแรกตามสถิติปี 2564 คือ รัสเซีย 7% สหรัฐอเมริกา 14.1% แคนาดา 14.1% ฝรั่งเศส 10.1% ยูเครน 8%
- ปี 2564 รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีของโลก 18.7% ยูเครนส่งออกอยู่ที่ 9.1%
- ยูเครนมีพื้นที่เพาะปลูกมากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเพียงเดนมาร์กและบังคลาเทศ ปีหน้าพื้นที่การเกษตรทางตอนใต้ของยูเครนอาจกลายเป็นทะเลทราย เนื่องจากการชลประทานที่อาศัยอ่างเก็บน้ำถูกระบายออกไปหมดแล้ว และการล่มสลายของภาคการเกษตรในยูเครนอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อตลาดอาหารโลก
ที่มา
- Jun9, 2023. Thursday briefing: The Kherson dam disaster has left thousands of Ukrainians adrift – and that’s just the start. The Guardian
- Jun6, 2023. Dam breach could be Ukraine’s ‘worst ecological disaster since Chornobyl’. The Guardian
- Jun9, 2023. Ukraine latest: Zelenskyy visits flood zone as officials warn of submerged mines. Nikkei Asia
- The importance of Ukraine and the Russian Federation for global agricultural markets and the risks associated with the current conflict. FAO