เตรียมตัวให้พร้อม เปิดอาชีพ “ทักษะสีเขียว” (Green Skills) ที่ตลาดแรงงานต้องการมากที่สุดในปี 2025 และ อนาคต โดยเฉพาะในบริบทของเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม “ทักษะสีเขียว” หรือ Green Skills กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่างมาก ทักษะเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจและสังคมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดทรัพยากรธรรมชาติ และการสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ เนื่องจากโลกกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ต้องการบุคลากรที่มีทักษะนี้อย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลจาก Future of Jobs ของ World Economic Forum แสดงให้เห็นว่า การจ้างงานสำหรับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมนั้น แซงหน้าอัตราการจ้างงานโดยรวมทั่วโลกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ปีติดต่อกัน รายงานวิจัยยังระบุอีกว่า แรงงานที่มีทักษะสีเขียว จะมีมีโอกาสถูกจ้างงานมากกว่าแรงงานปกติถึง 29% ขณะเดียวกัน เมื่อสืบค้นเว็บไซต์ LinkedIn เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 มีการโพสต์หาตำแหน่งงานที่มีเงื่อนไขว่า ผู้สมัครงานต้องมีประสบการณ์ หรือทักษะความรู้ในด้านความยั่งยืน 655 ตำแหน่งในประเทศไทย
ทักษะสีเขียว คืออะไร
ทักษะสีเขียว คือ สกิลที่ต้องมีความชำนาญด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำความรู้ด้านการป้องกัน อนุรักษ์ และกำจัดมาใช้ประโยชน์กับการสร้างอาชีพ เพราะเนื่องจากโลกของเราเต็มไปด้วยมลภาวะ การทำลายป่าไม้ และภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป จากข้อมูลของ TCDC โดยกล่าวถึงข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กลุ่มงานสีเขียว (Green Jobs) หมายถึง กลุ่มงานที่มีเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในการสนับสนุนการพัฒนามนุษย์ ในการทำธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศ หรือชุมชนท้องถิ่น ทั้งยังช่วยให้สังคมเติบโตอย่างยั่งยืน และมีความเป็นอยู่ที่ดี
Green Skill มีอะไรบ้าง
- Climate Change ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อาชีพที่เกี่ยวข้อง: นักอุตุนิยมวิทยา (Meteorologist), ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร (Agriculture Specialist), ที่ปรึกษานโยบาย (Policy Advisor), นักชีววิทยาทางทะเล (Marine Biologist)
- Sustainable Design ความรู้และทักษะในการออกแบบอย่างยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อาชีพที่เกี่ยวข้อง: ผู้จัดการฝ่ายสถาปัตยกรรม (Architectural Manager), ภูมิสถาปนิก (Landscape Architect), ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบตกแต่งภายใน (Director of Interior Design), นักวางผังเมือง (Urban Planner), ผู้ดูแลระบบการก่อสร้าง (Construction Administrator)
- Renewable Energy ความรู้และทักษะเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน
อาชีพที่เกี่ยวข้อง: วิศวกรธุรกิจ (Business Engineer), นักวิเคราะห์การเงินโครงการ (Project Finance Analyst), วิศวกรฝ่ายจัดจำหน่าย (Distribution Engineer), ผู้จัดการฝ่ายจัดหาที่ดิน (Land Acquisition Manager), วิศวกรขายโครงการ (Project Sales Engineer)
- Energy Efficiency ความรู้และทักษะในการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อาชีพที่เกี่ยวข้อง: วิศวกรประปา (Plumbing Engineer), ผู้จัดการฝ่ายสาธารณูปโภค (Utilities Manager), รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคาร (Vice President, Facilities), วิศวกรเครื่องทำความร้อนและเครื่องปรับอากาศ (Heating and Air Conditioning Engineer)
- Agronomy ทักษะการบริหารจัดการพืชไร่
อาชีพที่เกี่ยวข้อง: ผู้ช่วยฝ่ายปฏิบัติการขาย (Sales Operations Assistant), นักกีฏวิทยา (Entomologist), ผู้ผลิตไวน์ (Winemaker), ตัวแทนฝ่ายขายด้านเทคนิค (Technical Sales Representative)
- Erosion Control ความรู้และทักษะในการควบคุมการกัดเซาะ
อาชีพที่เกี่ยวข้อง: ผู้อำนวยการโยธาธิการ (Director of Public Works), ผู้ตรวจสอบการก่อสร้าง (Construction Inspector), ผู้จัดการโครงการสำรวจ (Survey Project Manager), นักออกแบบโยธา (Civil Designer), วิศวกรขนส่ง (Transportation Engineer)
- Environmental Awareness จิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
อาชีพที่เกี่ยวข้อง: ผู้จัดการอุทยาน (Park Manager), ผู้ช่วยด้านความปลอดภัย (Safety Assistant), เจ้าหน้าที่ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System Officer), นักภูมิศาสตร์ (Geographer), นักโบราณคดี (Archaeologist)
อาชีพ “ทักษะสีเขียว” ที่ต้องการในตลาดแรงงานไทย
ในประเทศไทย แนวโน้มอาชีพที่ต้องใช้ “ทักษะสีเขียว” มีการเติบโตขึ้น ตามความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจสีเขียว ต่อไปนี้คือแนวโน้มอาชีพที่น่าจับตามอง
- ผู้จัดการด้านความยั่งยืน
องค์กรต่างๆ เริ่มมีการจัดตั้งแผนกหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งรวมถึงการพัฒนานโยบาย ESG (Environmental, Social, and Governance) และการรายงานความยั่งยืน
- นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
การใช้ Big Data เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน
- วิศวกรพลังงานทดแทน
ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐในการลงทุนพลังงานสะอาด มีความต้องการวิศวกรที่มีทักษะในการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และชีวมวล
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ
การจัดการขยะอย่างยั่งยืนและการรีไซเคิลมีความสำคัญมากขึ้น ทำให้มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่สามารถพัฒนากระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการลดและจัดการขยะ
- นักเกษตรอินทรีย์
ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น การเกษตรแบบยั่งยืนจึงเป็นที่ต้องการ ทั้งในแง่ของการผลิตและการส่งเสริมการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี
- นักวิเคราะห์ด้านความยั่งยืน
การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ต้องการนักวิเคราะห์ที่มีความรู้ด้านนี้เพื่อให้คำแนะนำและประเมินความเสี่ยง
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- นักออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียว
การออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการก่อสร้างใหม่หรือการปรับปรุงอาคารเก่าให้มีประสิทธิภาพพลังงานสูง
ถึงแม้ว่าเทรนด์ “ทักษะสีเขียว” จะเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อโลกมากขึ้น แต่ทักษะสีเขียว ยังเป็นสิ่งที่หายากในตัวแรงงานปัจจุบัน และกำลังขาดแคลนมากขึ้นในอนาคต จากรายงานพบว่า มีแค่ 1 ใน 8 ของแรงงานทั่วโลกเท่านั้น ที่มีทักษะสีเขียวมากกว่า 1 ทักษะ ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการเติบโตของธุรกิจสีเขียว และการบรรลุเป้าหมายทางสภาพแวดล้อมอย่างมาก
ซึ่งความต้องการในอาชีพเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัวของเศรษฐกิจไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากใครไม่อยากตกงาน ลองอัปสกิลตัวเอง หรือเลือกเรียนเกี่ยวกับ “ทักษะสีเขียว” เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
อ้างอิง :