‘เอลนีโญ’ ส่งผลให้ฝนตกน้อย ภาคเกษตรส่อเจ๊ง 4.8 หมื่นล้าน

ในเดือน ส.ค. 2566 ปริมาณฝนยังคงตกสะสมต่ำกว่าค่าปกติเล็กน้อยไปจนถึงเดือน ก.ย. 2566 ปริมาณถึงจะใกล้เคียงค่าปกติ และเริ่มตกมากขึ้นในเดือน ต.ค. แต่ในเดือน พ.ย. ปริมาณฝนจะตกน้อยกว่าค่าปกติลงถึง 34%

นายบุญสม ชลพิทักษ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) อธิยายว่า หลังสิ้นสุดฤดูฝนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ ณ วันที่ 1 พ.ย. 2566 จะมีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 35,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) น้อยกว่าช่วงเดียวกันปี 2565 ประมาณ 9,800 ล้าน ลบ.ม.
.
หากมีพายุพาดผ่านประเทศไทย 1-2 ลูก ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ไว้ จะทำให้มีน้ำท่าไหลเข้าเขื่อนมากขึ้น แต่ผลจากเอลนีโญที่จะเกิดภัยแล้งชัดเจนมากขึ้น คาดการณ์ว่าตั้งแต่ในเดือน ต.ค. 2566 ปริมาณน้ำในเขื่อนและน้ำฝนที่อาจลดลง ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศจะอยู่ในเกณฑ์น้อยที่ร้อยละ 50
.
พื้นที่ที่น่าห่วงคือ ภาคกลางที่มีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำเพียงร้อยละ 19 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต รวมไปถึงพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย คือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งน่าเป็นห่วงเช่นกัน
.
ในทางกลับกัน ในช่วงปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนส.ค.- ต.ค. 2566 ก็อาจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นและตกหนักในหลายพื้นที่ จนอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ได้
.
สำหรับในระยะยาวจากปีนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2567 มีแนวโน้มสูงที่ปริมาณน้ำต้นทุนจะอยู่ในสถานการณ์น้ำน้อย ทุกหน่วยงานด้านน้ำต้องร่วมกับ กอนช. กำหนดแผนการบริหารจัดการน้ำล่วงหน้า 2 ปี และออกมาตรการให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน
.
ยกตัวอย่างเช่น งดการทำนาปรัง รณรงค์ปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยออกมาตรการชดเชยต่างๆ ให้เกษตกร เป็นต้น รวมถึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก็บกักน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด พร้อมปรับปรุงเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) โดยให้เก็บกักน้ำในระดับเกณฑ์เก็บกักน้ำดับสูงสุด (Upper Rule Curve) ของอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่ง ฯลฯ
.
ในการรับมือปัญหาดังกล่าวนี้ ปัจจุบันกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ใช้เทคโนโลยีฝน One Map ใช้คาดการณ์สภาพภูมิอากาศ พยากรณ์น้ำฝน น้ำท่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัย ในระยะตั้งแต่ 3 วัน 7 วัน และ 6 เดือน ซึ่งมีความแม่นยำค่อนข้างสูงประมาณ 80% ทำให้สามารถวางแผนรับมือสถานการณ์และเตือนภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้
.
สำหรับแนวโน้มสถานการ์เอลนีโญนั้นล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค. 2566 องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) ได้พยากรณ์ว่า โอกาสเกิดเอลนีโญมีเพิ่มขึ้น และยกระดับการเตือนภัยเป็น El Niño Advisory แล้ว
และมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญทะลุร้อยละ 90 ส่งผลกระทบลากยาวไปอย่างน้อยถึงเดือน มี.ค.2567
.
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เอลนีโญที่จะเกิดในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 อาจสร้างความเสียหายต่อพืชเกษตรสำคัญของไทย ประกอบด้วย ข้าวนาปี มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ รวมคิดเป็นมูลค่าความเสียหายในปี 2566 อยู่ที่ราว 48,000 ล้านบาท เฉพาะข้าวเป็นพืชที่เสียหายหลักอยู่ที่ 37,631 ล้านบาท หรือเกือบร้อยละ 80 ของความเสียหายภาคเกษตรทั้งหมด

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย