Eco-grief อารมณ์รันทด จากวิกฤตสิ่งแวดล้อม (ที่ไม่แก้ไข) ทำให้คนเศร้าจนอยากฆ่าตัวตาย

Eco-grief  หรือ Ecological grief  หรือ Climate grief  หมายถึงความรู้สึกสูญเสียที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ที่ได้เห็นการเสื่อมถอยของแนวปะการัง Great Barrier Reef ของออสเตรเลียได้รายงานถึงประสบการณ์ของพวกเขาที่เกิดความวิตกกังวล ความสิ้นหวัง และความสิ้นกำลังใจ

นี่ไม่ใช่แค่อารมณ์ที่เฟคกันขึ้นมาเพื่อทำให้คนรู้สึกกลัวภาวะโลกร้อน แต่มันทำให้คนเสียกำลังจนไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไปจริงๆ เช่น เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2018 เดวิด บักเคิล (David Buckel) วัย 60 ปี ทนายความด้านสิทธิพลเมืองชื่อ เผาตัวเองตายเมื่อเวลาประมาณ 6.00 น. ในสวนสาธารณะบรู๊คลิน นิวยอร์ก หลังจากส่งอีเมลแจ้งสื่อต่างๆ 

ในจดหมายฆ่าตัวตายของเขาระบุว่า

“การตายก่อนวัยอันควรของผมด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลสะท้อนถึงสิ่งที่เรากำลังทำเพื่อตัวเราเอง”  และ “นี่คือความหวังที่ว่าการให้ชีวิตอาจดึงความสนใจบางอย่างมาสู่ความจำเป็นในการดำเนินการที่ขยายวงมากขึ้น (เพื่อสิ่งแวดล้อม)”

เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2022 ซึ่งเป็นวัน Earth Day วินน์ บรูซ (Wynn Bruce) วัย 50 ปี เผาตัวเองหน้าอาคารศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาเพื่อประท้วงการไม่ยอมแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ หลังจากแก้ไขความคิดเห็นในโพสต์ Facebook ปี 2021 เกี่ยวกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรูซเขียนว่า ” 4/22/2022″ ข้างๆ มีอีโมจิไฟ ซึ่งเป็นการบอกใบ้วันที่เขาจะฆ่าตัวตายนั่นเอง

นี่คือตัวอย่างของ Eco-grief ที่อันตรายมากๆ ในจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลสวีเดนเมื่อปี 2019 กลุ่มนักจิตวิทยาและนักจิตอายุรเวทกล่าวว่า “วิกฤตทางนิเวศวิทยาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเชิงรุกจากโลกของผู้ใหญ่ และผู้มีอำนาจตัดสินใจมีความเสี่ยงสูงที่คนหนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นได้รับผลกระทบจากความวิตกกังวลและ ภาวะซึมเศร้า” 

ภาวะ Eco-grief  สะท้อนออกมาได้ดีในเพลงของเดวิด โบวี ที่ชื่อ Five Years เนื้อเพลงบอกเล่าถึงหายนะที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะทำลายโลกภายในห้าปี มุมมองของเนื้อเพลงะสะท้อนผ่านเด็กคนหนึ่งที่ได้ยินข่าวนี้ครั้งแรกแล้วรู้ชาไปทั้งตัว โบวี ให้สัมภาษณ์กับ Rolling Stone ว่า “มีประกาศแล้วว่าโลกจะแตกเพราะขาดทรัพยากรธรรมชาติ … คนแก่ๆ ต่อไม่ติดกับความเป็นจริงอีกแล้ว และพวกเด็กๆ ถูกทิ้งให้ผลาญตามใจชอบ” ซึ่งฟังเหมือนสถานการณ์ในตอนนี้เอามากๆ 

ข้อมูล

  • Conroy, Gemma (2019). “‘Ecological grief’ grips scientists witnessing Great Barrier Reef’s decline”. Nature. 573 (7774): 318–319. Bibcode:2019Natur.573..318C. doi:10.1038/d41586-019-02656-8. PMID 31530920.
  • Pearl, Mike (2019-07-11). “‘Climate Despair’ Is Making People Give Up on Life”. Vice. Retrieved 2019-09-25.

ภาพ Roxanne Desgagnés roxannedesgagnes – https://unsplash.com/photos/qbtyUQtqJ8k

Related posts

ปิดฉาก COP29 ไม่ราบรื่น ประเทศร่ำรวยช่วยโลกร้อนแค่ 3 แสนล้าน

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

COP29 มุ่งมั่นเป้าหมายทางการเงินใหม่ ชาติพัฒนาแล้วจ่าย 1 แสนล้าน