เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม ฤดูฝนมาเร็วในทุกภูมิภาค ช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย. 65

เตรียมรับมือฝนมาเร็วมากกว่าค่าเฉลี่ยทุกพื้นที่ในช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย. 65 ทุกภูมิภาค ระวังน้ำท่วมโดยเฉพาะเหนือ กลาง อีสานล่าง ตะวันออก และตะวันตก 

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความ#อัพเดทน้ำท่วมน้ำแล้ง เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวตอนหนึ่งว่า เมื่อ 15 ก.พ. 65 ทาง International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และและ Climate Prediction Center องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สหรัฐอเมริกา ได้พยากรณ์ว่า ลานีญามีความน่าจะเป็นเต็ม 100% ในเดือน ก.พ.นี้ 

และจะสลายตัวช้ากว่าที่คาดไว้ในเดือนที่แล้ว เนื่องจากลมค้าได้เพิ่มกำลังขึ้นและคาดว่าจะดำเนินต่อไปในระยะเวลาอันใกล้ แต่จะอ่อนกำลังลงจากนี้ไป ช่วง มี.ค.-พ.ค. 65 ยังคงมีความน่าจะเป็นที่ 77% โดยจะเปลี่ยนเป็นเฟสกลางช่วง พ.ค.-ก.ค. 65 ด้วยความน่าจะเป็นที่ 56% และลากยาวถึงช่วง ก.ย.-พ.ย. 65

นอกจากนี้ช่วง มี.ค.-มิ.ย. 65 ปริมาณฝนจะเพิ่มอีกมากกว่าที่พยากรณ์ไว้เดือนที่แล้ว! ชุ่มช่ำทุกภูมิภาค ฝนจะเพิ่มขึ้นจากนี้ไป ฤดูแล้งปีนี้จะแล้งน้อยกว่าปกติ ระวังผลผลิตเสียหายจากฝนที่มาก และมีโอกาสสูงมากที่ฤดูฝนจะมาเร็วพร้อมออกตัวแรง เตรียมรับมือน้ำท่วมโดยเฉพาะเหนือ กลาง อีสานตอนล่าง ตะวันออก และตะวันตก ฝนอาจขาดเล็กน้อยช่วง ก.ค. 65 ทางตะวันตกของประเทศ 

อุณหภูมิจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติช่วง มี.ค.-เม.ย. 65 ในทุกภูมิภาค (ยกเว้นภาคใต้) ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจะการพยากรณ์ในเดือนที่ผ่านมา ต้องระวังให้มาก! หลังจากนั้นจะอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้นและจะร้อนกว่าค่าเฉลี่ยปกติช่วง มิ.ย.-ส.ค. 65 ในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอีสานตอนล่างและเหนือตอนล่าง

การพยากรณ์ในช่วงนี้จะมีความคลาดเคลื่อนสูงกว่าปกติที่เราเรียกว่า Spring Predictability Barrier 

ดังนั้นต้องติดตามผลการพยากรณ์กันอย่างใกล้ชิดนะครับ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต้องระวังฝนให้มากเพราะฝนจะมากช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ระวังโรคในพืชและสัตว์ และลมกันโชกแรง 

ที่มา: https://www.facebook.com/witsanu.attavanich/posts/10160126893797009

Related posts

‘เฉลิมชัย’ นำทีมไทยถก COP29 นำเสนอ 5 ประเด็นลดก๊าซ 222 ล้านตัน

ค่าฝุ่นปากีสถานทะลุ 1,900 รั้งอันดับโลก อ้างพัดข้ามพรมแดนจากอินเดีย

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน