วิธีหรี่แสงแดดให้โลกเย็นลงอาจเลวร้ายยิ่งกว่าภาวะโลกร้อนสะเทือนไปทั่วทั้งระบบนิเวศของโลก

เมื่อเดือนที่แล้วนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งจำนวน 60 คนส่งบันทึกช่วยจำเรียกร้องให้เลื่อนโครงการวิศวกรรมธรณีสุริยะ ซึ่งรวมถึงการเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การฉีดสเปรย์บนชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (โครงการ SAI) โดยใช้เครื่องบินปล่อยอนุภาคละอองเพื่อสะท้อนแสงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้โลกเย็นลง

โครงการ SAI อาจทำให้ท้องฟ้าขาวขึ้นเล็กน้อย แต่นี่เป็นประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าน่ากังวลน้อยที่สุด แต่โครงการ SAI หรือการปล่อยอนุภาคละอองอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง และอาจเลวร้ายยิ่งกว่าปัญหาอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นและพยายามหาทางแก้ไขกันอยู่

จากการประเมินความเสี่ยงของนักวิทย์ลุ่มนี้พบว่าเทคโนโลยีทำให้โลกเย็นลงจะทำให้น้ำจะระเหยจากพื้นผิวของโลกไปสู่ชั้นบรรยากาศน้อยลง ทำให้รูปแบบของฝนเปลี่ยนไป และสามารถเกิดผลสะเทือนไปทั่วทั้งระบบนิเวศของโลก เช่น การโปรยละอองในจุดที่ไม่เหมาะสมจะนำไปสู่การเกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่ และความแห้งแล้งที่รุนแรงในที่อื่นๆ ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ SAI อาจทำให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเลวร้ายยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีการปะทุของภูเขาไฟอย่างที่เกิดกับภูเขาไฟเอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ (Eyjafjallajökull) ของไอซ์แลนด์ในปี 2010 อาจทำให้โลกเย็นลงโดยธรรมชาติ เนื่องจากกลุ่มเถ้าถ่านกั้นแสงแดดไม่ให้ส่องถึงพื้นผิวโลก ซึ่งหากเกิดเรื่องทำนองนี้ขึ้นในขณะที่ดำเนินโครงการ SAI อยู่ก็จะต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน (ซึ่งไม่ใช่งานง่าย) เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ซีกโลกหนึ่งเย็นเกินไปและทำให้เกิดรูปแบบสภาพอากาศที่รุนแรง

ในสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจโลกในปัจจุบันใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ แต่ขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ทั่วโลกก็ยังคงเติบโตต่อไป รวมทั้งโลกเราก็ไม่เคยขาดแคลนผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองที่ไม่ดี ซึ่งเขม่าควันจากไฟที่เกิดจากนิวเคลียร์จะเกิด “ฤดูหนาวนิวเคลียร์” ทำให้อุณหภูมิโลกลดลงเป็นเวลาหลายปี ซึ่งมันอาจถูกซ้ำเติมให้เลวร้ายลงไปอีกโดยโครงการ SAI

การคาดการณ์ว่าภัยพิบัติจะไม่เกิดขึ้นในศตวรรษหน้าถือเป็นความผิดพลาด ในขณะที่แบบจำลองหนึ่งที่ประเมินความเป็นไปได้ของสงครามนิวเคลียร์ระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริการะบุว่า ความน่าเป็นของเหตุการณ์นั้นอยู่ที่ 0.9% ต่อปี ส่วนการประมาณการเหตุการณ์สภาพอากาศในอวกาศ (เช่น พายุสุริยะ) ขนาดใหญ่มีตั้งแต่ 0.46% ถึง 20.3% ต่อปี

แน่นอน เป็นไปได้ที่ SAI จะถูกใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบเช่นกัน แต่ถ้ามีสิ่งหนึ่งผิดพลาดมากพอ เช่น พายุสุริยะที่คาดเดาไม่ได้เกิดขึ้น ความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ของ SAI ก็อาจถูกปลดปล่อยออกมา และกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็อาจเป็นหายนะได้

โดยเฉพาะหาก SAI กลายเป็นประเด็นทางการเมืองหรือการใช้ SAI ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยอื่นที่อยู่เหนือข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่สมเหตุผล เช่น อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและผู้สนับสนุนที่อาจมีส่วนได้เสียในการใช้ SAI จะมีผลต่อการชะลอการใช้พลังงานหมุนเวียน

ฉะนั้น นักวิทย์กลุ่มนี้มองว่า SAI จะแย่กว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่? ยังไม่แน่ใจ แต่เราอยู่ในโลกแห่งความซับซ้อนและความโกลาหล การพึ่งพา SAI จะไม่ฉลาดนักหากมีการเชื่อมโยงระบบภูมิอากาศเข้ากับระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลกอย่างแน่นหนา และในที่สุดการใช้ SAI จะเป็นการแก้ปัญหาที่สร้างความกังวลต่อความอยู่รอดของโลกมากเกินไป

แปลจาก
• “Trying to cool the Earth by dimming sunlight could be worse than global warming” โดย ลุค เคมป์
(Luke Kemp) ผู้ช่วยวิจัยหลังปริญญาเอกด้านความเสี่ยงด้านการดำรงชีวิตของ University of Cambridge และอารอน ถัง (Aaron Tang) นักวิจัยปริญญาเอกด้านธรรมาภิบาลของสภาพภูมิอากาศของ Australian National University เผยแพร่โดยสาธารณะภายใต้การแบ่งปัน Creative Commons (การใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต) ผ่านทางเว็บไซต์ The Conversation

ภาพ NASA Johnson – https://www.flickr.com/photos/nasa2explore/24609284564

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่