ผลการศึกษาใหม่พบการสัมผัส PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้
การศึกษาดังกล่าวได้รับการตีเผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ BMJ โดยนักวิจัยโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ถือเป็นการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างสภาวะทางระบบประสาทและการสัมผัสกับ PM2.5 ที่ครอบคลุมมากที่สุด
ภาวะสมองเสื่อมคือความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมอง โดยโรคที่พบได้มากที่สุดในปัจจุบันคือโรคอัลไซเมอร์
การศึกษานี้ได้เก็บข้อมูลระยะยาวของกลุ่มตัวอย่างอเมริกันที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษอากาศและภาวะสมองเสื่อม จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่พบความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมสัมผัส PM 2.5 สูงกว่าอีกกลุ่ม
ผลการศึกษาสรุปได้ว่าทุก 2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นต่อปี ส่งผลให้เความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 17%
Marc Weisskopf ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาและสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดหนึ่งในทีมศึกษากล่าวว่า แม้ PM2.5 จะเพิ่มเพียงเล็กน้อยก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้ นี่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องปรับปรุงเกณฑ์เฉลี่ยมลพิษอากาศรายปีใหม่จากเดิม 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็น 9 หรือ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
การศึกษาชิ้นใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่า PM2.5 ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงแค่มะเร็งปอด โรคหัวใจ และจิตเวช แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้อีกด้วย
สำหรับประเทศไทยค่าเฉลี่ย PM 2.5 รายปีปรับจากเดิม 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็น 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ที่มา : Feb 28,2023. Ambient air pollution and clinical dementia: systematic review and meta-analysis. The BMJ