‘คอสตาริกา’ ขยายคุ้มครองทะเล เร่งปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

คอสตาริกาผู้นำด้านอนุรักษ์ได้ประกาศขยายพื้นที่คุ้มครองทางทะเลจาก 2.7% เป็นมากกว่า 30% ของน่านน้ำในอาณาเขต ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญที่ประเทศในอเมริกากลางที่ดำเนินการเร็วกว่าเส้นตายในการปกป้องดินแดนทางทะเลเกือบหนึ่งในสามของโลก

การขยายพื้นที่คุ้มครองทางทะเลโดยรอบ (MPA) อุทยานแห่งชาติเกาะโคโคสนอกชายฝั่งแปซิฟิกของประเทศจะครอบคลุมพื้นที่กว่า 5 ล้านเฮกตาร์ หรือประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร (กม.) ซึ่งใหญ่กว่าขนาดก่อนหน้านี้ถึง 26 เท่า นอกจากนี้พื้นที่การจัดการทางทะเลสองร้อยปีที่อยู่ใกล้เคียงจะขยายเป็น 11 เท่าของขนาดก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 100,000 ตาราง กม. ซึ่งเทียบเท่ากับขนาดของไอซ์แลนด์โดยประมาณ 

Conservation International ระบุว่า การขยายการคุ้มครองทางทะเลเพื่อปกป้องธรรมชาติและหลีกเลี่ยงวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น ช่วยสัตว์ทะเลอพยพซึ่งหลายชนิดใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งสร้างสมดุลระหว่างการประมงพาณิชย์บางพื้นที่ สนับสนุนประมงท้องถิ่นมากขึ้น และการคุ้มครองทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืน อีกทั้งมีการกำหนด “เขตห้ามเข้า” สำหรับการทำกิจกรรมของมนุษย์

ทั้งนี้เป้าหมายโดยรวมก็เพื่อการปกป้องมหาสมุทรให้ได้ 30% ของโลกภายในปี 2573 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามีความจำเป็นในการจำกัดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์ทะเลในวงกว้าง ซึ่งถือว่าคอสตาริกาเป็นแบบอย่างที่ดีในความพยายามอนุรักษ์มหาสมุทรทุกอย่างเต็มที่ 

คอสตาริกาถือเป็นผู้นำในการอนุรักษ์มาช้านาน โดยการขยายพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเกาะโคโคสของคอสตาริกาจะเชื่อมต่อกับมหาสมุทรประเทศอื่น ๆ อีกสามประเทศด้วยคือ ปานามา เอกวาดอร์ และโคลอมเบีย ซึ่งสามารถช่วยสร้างเส้นทางที่ปลอดภัยสำหรับสายพันธุ์ต่าง ๆ  เช่น เต่า และปลาวาฬ 

สำหรับการดำเนินการครั้งนี้ เมื่อ 17 ธันวาคม 2564 ประธานาธิบดีคาร์ลอส อัลวาราโดแห่งคอสตาริกาได้ลงนามในพระราชกฤษฎีกาขยายอุทยานแห่งชาติเกาะโคโคส โดยเพิ่มพื้นที่คุ้มครองอย่างเต็มที่ในน่านน้ำแปซิฟิกเกือบ 53,000 ตารางกิโลเมตร 

อุทยานแห่งชาติเกาะโคโคสอยู่ห่างจากชายฝั่งแปซิฟิกของคอสตาริกาประมาณ 500 กิโลเมตร เป็นพื้นที่คุ้มครองเต็มรูปแบบที่ห้ามการทำประมงและกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่กำหนดโดยรัฐบาลคอสตาริกา

การขยายพื้นที่ครั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงที่ประธานาธิบดีคอสตาริกา ปานามา โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ได้ลงนามในข้อตกลง COP26 ด้านสภาพอากาศในกลาสโกว์เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 โดยให้คำมั่นว่าจะปกป้องพื้นที่ทั้งหมด 500,000 ตารางกิโลเมตรในแปซิฟิกเขตร้อนทางตะวันออก เพราะภูมิภาคนี้เป็นที่อยู่อาศัยของฉลาม เต่าทะเล และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งอพยพไปมาระหว่างพื้นที่คุ้มครองทางทะเลบริเวณนี้

“เกาะโคโคสเป็นเหมือนจูราสสิคพาร์ค: พื้นที่ป่าหายากที่แสดงให้เห็นว่ามหาสมุทรในอดีตเป็นอย่างไร แต่ยังรวมถึงมหาสมุทรในอนาคตด้วย หากเราตัดสินใจเช่นนั้น การขยายตัวของอุทยานแห่งชาติเกาะโคโคสเป็นข้อพิสูจน์ถึงความเป็นผู้นำในมหาสมุทรของรัฐบาลคอสตาริกา ซึ่งช่วยปกป้องแหล่งมรดกโลกจากภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมประมง” Enric Sala ผู้ก่อตั้ง National Geographic Explorer in Residence และ Pristine Seas กล่าว

จนถึงปัจจุบัน Pristine Seas ได้สนับสนุนการสร้างพื้นที่คุ้มครองทางทะเล 26 แห่งทั่วโลก ปัจจุบันมหาสมุทรได้รับการคุ้มครองไม่ถึง 8% แต่โครงการนี้จะทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ชนเผ่าพื้นเมือง รัฐบาล และพันธมิตรเพื่อช่วยให้ได้รับการคุ้มครองอย่างน้อย 30% ของมหาสมุทรภายในปี 2573

National Geographic Pristine Seas เป็นโครงการระดับโลกที่ผสมผสานการสำรวจ การวิจัย การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ การศึกษา นโยบายและเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อช่วยสร้างเขตสงวนทางทะเลระดับโลกและรับรองการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยมี Pristine Seas ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ เขตสงวนทางทะเล 26 แห่ง พื้นที่รวมกว่า 6.5 ล้านตารางกิโลเมตร

อ้างอิง: 

Kiley Price (Dec 17, 2021) “In historic move, Costa Rica makes big splash for conservation” . conservation

(Dec 17, 2021) “Costa Rica Expands Cocos Island National Park by 27 times in size” . National Geographic

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน