COP27 และ COP15 อะไรคือจุดเชื่อมโยง

COP15 ว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ในขณะที่ COP27 ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

COP ตัวย่อของ ‘Conference of the Parties’ ในภาษาอังกฤษ เป็นการประชุมที่จัดขึ้นโดยสหประชาชาติ (UN) โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำระดับสูงของแต่ละประเทศ องค์กรระดับภูมิภาค และองค์กรอิสระผู้มีบทบาทนอกเหนือจากภาครัฐ

COP 27 หรือการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 27 จัดไปเมื่อวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ โดยปีเน้นไปที่เรื่องการจัดตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย (Loss and Damage) จากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และตลาดคาร์บอน

COP15 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity – CBD) กำลังจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7-19 ธันวาคม 2565 ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา โดยมีจีนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเลื่อนการจัดมาจากปีที่แล้วเนื่องด้วยการระบาดของโควิด19

ถึงแม้การประชุม COP ทั้ง 2 ดำเนินการแยกกันอย่างอิสระ แต่ผลลัพธ์ของข้อตกลงจากการประชุมทั้ง 2 COP นั้นเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะหากความหลากหลายทางชีวภาพหรือระบบนิเวศได้รับการปกป้องและดูแลอย่างสมบูรณ์ จะเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนได้มากขึ้น มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5°C ในขณะเดียวกันการลดภาวะโลกร้อนก็ช่วยลดความเสี่ยงของการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

จุดมุ่งหมายของ COP15 คือการนำกรอบที่ตกลงไว้มาใช้ดำเนินการด้วยกันทั่วโลก ซึ่งกรอบที่ว่าคือ ‘กรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกหลังปี 2020 (The Post-2020 Global Biodiversity Framework)’ โดยกรอบดังกล่าวจะสรุปสิ่งที่ประเทศต่างๆ ต้องทำ ทั้งรายบุคคลและระดับประเทศ เพื่อหยุดยั้งและแก้ไขความเสียหายต่อพืช สัตว์ และระบบนิเวศ

ตัวอย่างเช่น คำมั่นที่จะปกป้องพื้นที่บนบกและในทะเลของโลกให้ได้อย่างน้อย 30% ภายในปี 2030 โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

และเป้าหมายระยะยาวสำหรับปี 2050 มุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์ การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม เป็นต้น

ที่มา

Nov 30,2022, “UN Biodiversity Conference (COP 15).” UNEP

Oct 15,2021, “COP15, COP26 : why two COPs?” UNEP

Related posts

การเกษตรรักษ์โลก ‘แหนเป็ด’ ซูเปอร์ฟู้ดแห่งอนาคตโปรตีนสูง 45%

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

ประโยชน์การเข้าร่วมเวที COP29 โอกาสเข้าถึงเงินช่วยเหลือของไทย