การคุมอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5°C ชาติทั่วโลกต้องออกแรงมากถึง 5 เท่า

แนวโน้มเศรษฐกิจและพลังงานในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2019 อย่างน้อยจะสูงเท่ากับปี 2018 คาดว่า GDP โลกจะเติบโต 3.2% ในปี 2019 และแม้ว่าเศรษฐกิจโลกลดการปล่อยก๊าซลงในอัตราเดียวกับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการปล่อยก๊าซทั่วโลกก็ยังจะเพิ่มขึ้นอยู่ดี

ข้อมูลจาก Global Carbon Project ระบุถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ดังนี้
ประมาณการคาร์บอนทั่วโลก

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 2% และถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,700 ล้านตันในปี 2018 ยังไม่มีสัญญาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกจะถึงจุดขีดสุดแล้วปรับลดลง แม้ว่าอัตราการปล่อยก๊าซจะชะลอตัวลงน้อยกว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกก็ตาม

แนวโน้มเศรษฐกิจและพลังงานในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2019 อย่างน้อยจะสูงเท่ากับปี 2018 คาดว่า GDP โลกจะเติบโต 3.2% ในปี 2019 และแม้ว่าเศรษฐกิจโลกลดการปล่อยก๊าซลงในอัตราเดียวกับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการปล่อยก๊าซทั่วโลกก็ยังจะเพิ่มขึ้นอยู่ดี

แม้พลังงานทดแทนจะมีการเติบโตอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ระบบพลังงานทั่วโลกยังคงถูกครอบงำด้วยแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้พลังงานทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นทุกปี มีอัตราสูงว่าการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน หมายความว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่การเติบโตในลักษณะนี้ต้องยุติลงทันที

เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของสภาพภูมิอากาศ เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซให้เป็นศูนย์ และการทำเช่นนั้นจะต้องอาศัยทั้งการผลักดันการใช้แหล่งพลังงานที่ไม่ใช่คาร์บอนให้เร็วขึ้น และการลดสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงฟอสซิลในพลังงานลงอย่างรวดเร็วทั่วโลก เงื่อนไขทั้ง 2 ข้อนี้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายอย่างมากในการแก้ปัญหาโลกร้อน

การสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ (Carbon sink) เช่น พืชและมหาสมุทร ช่วยกำจัดการปล่อยก๊าซโดยรวมประมาณครึ่งหนึ่งที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ แต่ตอนนี้ Carbon sink กลับมีประสิทธิภาพในการช่วยดูดซับมลพิษลดลง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการลดการตัดไม้ทำลายป่า และเพิ่ม Carbon sink ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในป่าไม้และดินที่สามารถปรับปรุงศักยภาพด้านนี้ได้ โดยการฟื้นฟูและการจัดการป่าและดินที่ดีขึ้น

ข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme) ยังระบุว่า
ช่องว่างการปล่อยก๊าซ – ตอนนี้เราอยู่ที่จุดไหน และเราจะต้องไปถึงจุดไหน

จากนโยบายปัจจุบัน และข้อเสนอการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับมุ่งมั่นของแต่ละประเทศ (Nationally Determined Contributions: NDCs) รวมถึงภาพจำลองสถานการณ์จากรายงาน Emissions Gap Report คาดว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกจะไม่ถึงจุดสูงสุดภายในปี 2030 และยิ่งจะยังไม่ถึงจุดสูงสุดในปี 2020 แม้ว่าใน Emissions Gap Report ปี 2019 จะพบว่า ยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2018

ช่องว่างการปล่อยก๊าซในปี 2030 โดยพิจารณาจากระดับการปล่อยก๊าซภายใต้การดำเนินงานตามข้อเสนอการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับมุ่งมั่นของแต่ละประเทศ (NDCs) อย่างเต็มรูปแบบ เทียบกับระดับที่สอดคล้องกับวิธีการแก้ปัญหาโลกร้อนที่มีต้นทุนต่ำสุดเพื่อเป็นไปตามเป้าหมายการทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียส ปรากฎว่ายังมีช่องว่างการปล่อยก๊าซอยู่ที่ 13 กิกะตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e)

จากข้อเสนอ NDCs ในปัจจุบันคาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซทั่วโลกในปี 2030 ได้ถึง 6 กิกะตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) เมื่อเทียบกับความต่อเนื่องของนโยบายปัจจุบัน แต่ถ้าต้องการไปให้ถึงในระดับนี้จะต้องเพิ่มความพยายามขึ้นเป็น 3 เท่า เพื่อให้สอดคล้องเป้าหมายการทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียส และต้องพยายามเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่าเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าที่จะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเพียง 1.5 องศาเซลเซียส

ถ้าหากมีการดำเนินการตามข้อเสนอ NDCs โดยไม่มีเงื่อนไข และตั้งสมมติฐานว่ามาตรการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดศตวรรษที่ 21 ผลก็คือการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะอยู่ระหว่าง 2.9 องศาเซลเซียส และ 3.4 องศาเซลเซียส ในปี 2100 เมื่อเทียบกับระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม

หากไม่มีการเพิ่มระดับความมุ่งมั่นการดำเนินการตามข้อเสนอของ NDCs ขึ้นในทันที และไม่มีมาตรการแก้ปัญหาสนับสนุน เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่อุณหภูมิจะขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียสได้อีกต่อไป และหากไม่สามารถปิดช่องว่างการปล่อยก๊าซได้ภายในปี 2030 เป้าหมายการสกัดไม่ให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียสก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นไปไม่ได้

เราสามารถเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยีให้มีมากขึ้นกว่านี้ โดยการขยายและทำซ้ำนโยบายที่มีอยู่แล้วซึ่งใช้งานได้จริง เช่น การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน และการปลูกป่าทดแทน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

อ้างอิง: https://www.unenvironment.org/news-and-stories/press-release/landmark-united-science-report-informs-climate-action-summit?fbclid=IwAR1lA-MjGlJjhbhqbZ5NWJTYAJUKRecInbVFwm9rg3fc2rdjTjUYU8gZPv0

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

ฝุ่น PM2.5 พุ่ง ‘หอฟอกอากาศระดับเมือง’ คืนชีวิตให้คนกรุง อย่างไร

ชุบชีวิต ‘ขยะทะเล’ เพิ่มมูลค่า ชุมชนยั่งยืน ลดโลกร้อน