ป่าฝนคองโกแซงหน้าแอมะซอน ยืนหนึ่งดูดซับคาร์บอนโลก

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกนต์ ระบุว่าป่าฝนเขตสงวนชีวมณฑลของยูเนสโกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกจะกลายเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนอันดับหนึ่งที่สำคัญสุดในโลก แทนที่ป่าแอมะซอนในอเมริกาใต้

ตุลาคม 2020 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกนต์ เบลเยี่ยม ได้ทำการสร้างหอคอยตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ สูง 57 เมตร ในป่าฝนของคองโก เพื่อตรวจวัดความสามารถในการดูดซับและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ก่อนนำผลลัพธ์ทั้งหมดมาคำนวนปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ป่าฝนดูดซับและกักเก็บไว้ได้ในแต่ละปี

แม้การคำนวณยังไม่ได้ข้อสรุปแน่ชัด แต่จากข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า 1 เฮกตาร์ หรือ 10,000 ตารางเมตรของป่าฝนคองโกมีอัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ อยู่ที่ 5 ตัน ต่อปี ซึ่งมากกว่าความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ในป่าแอมะซอน

โดยธรรมชาติในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์แสงต้นไม้จะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศตามธรรมชาติ และปล่อยออกทางรากและลำต้น แต่ปริมาณในการปล่อยจะน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่กักเก็บไว้ เว้นแต่ไม้ต้นนั้นถูกตัดทำลาย

ทุกปีป่าไม้ทั่วโลกจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิ 7.6 พันล้านเมตริกตัน จากการวิจัยพบว่าป่าไม้ของโลกกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์มากได้เป็นสองเท่ากว่าที่ปล่อยออกมาระหว่างปี 2544-2562 แต่หากการตัดไม้ทวีความรุนแรงขึ้น ความสมดุลนี้จะเปลี่ยนไป

ลุ่มแม่น้ำแอมะซอนดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 1.2 พันล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากการตัดไม้ทำลายป่า 1.1 พันล้านตัน

มีการสร้างหอหอคอยตรวจวัดสภาพภูมิอากาศที่คล้ายกันมากกว่าพันแห่งทั่วโลก อย่างเช่นในป่าฝนแอมะซอนมีประมาณ 15 แห่ง แต่ในป่าฝนน้ำคองโกไม่มีเลย แม้ว่าจะเป็นป่าเขตร้อนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของของโลกรองจากอเมซอนก็ตาม

ที่มา

  • Mar 14, 2023. Climate tower in Congo fills a big gap in our knowledge. Ghent Unicersity
  • Mar 31, 2023. ‘First lung’: This rainforest could be the world’s most important carbon sink. EuroNews

Related posts

‘สภาพอากาศสุดขั้ว’ ทำหน้าร้อนไทย 2025 อาจเจอร้อนสุดขีด

รู้จัก ‘Polar Vortex’ 1 ในปัจจัยทำไทย หนาวแรง-หนาวนาน

‘ลานีญา’ สั่นสะเทือนไทย หนาวสุดท้ายแห่งปี 2568 มาแน่ 13 ม.ค. นี้