‘อีกัวน่า’ป่วนเมืองลพบุรี กังวลแพร่เชื้อมาสู่คน ตรวจเชื้อรู้ผลภายใน 3 วัน

ประชาชนเดือดร้อนจากการการแพร่พันธุ์ของ “อิกัวน่า” ในพื้นที่ชุมชนใกล้เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้กังวลว่าจะการแพร่เชื้อโรคมาสู่คน เจ้าหน้าที่จังเข้าเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบว่าอิกัวน่าเขียวบริเวณดังกล่าวว่าจะพบเชื้อดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งจะทราบผลภายใน 3 วัน คือ วันที่ 16-17 พฤศจิกายนนี้

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานฯ  กล่าวว่า สัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้ข้อมูลว่า อิกัวน่าเขียวและสัตว์กลุ่มกิ้งก่า มักพบเชื้อซาลโมเนลลา ซึ่งคนอาจติดเชื้อโดยตรงจากการสัมผัสและทางอ้อมจากการขับถ่ายของเสียไว้ตามทาง ถนน บ้านเรือนอาจปนเปื้อนอาหาร ซึ่งจะมีอาการอาเจียน หรือท้องเสียได้

ทีมสัตวแพทย์ได้เข้าพื้นที่ทำหาเชื้อโดยการเก็บตัวอย่างเพื่อไปตรวจสอบว่าอิกัวน่าเขียวบริเวณดังกล่าวว่าจะพบเชื้อดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งจะทราบผลภายใน 3 วัน คือ วันที่ 16-17 พฤศจิกายนนี้

สำหรับมาตรการดำเนินการจากนี้ ต้องมีการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าควบคุมที่ต้องแจ้งครอบครองเพิ่มเติม ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์และขออนุญาตค้า เพื่อสะดวกในการควบคุมจัดทำการขึ้นทะเบียนผู้มีไว้ในครอบครอง และไม่อนุญาตให้เพาะและค้ารายใหม่เพิ่มเติม รวมถึงมีมาตรการประกาศห้ามนำเข้าอิกัวน่าเขียวเข้ามาภายในประเทศ

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 กรมอุทยานฯ ได้ประชุมหารือในประเด็น “อิกัวน่าเขียว สัตว์ป่าต่างถิ่น กรณีศึกษา เขาพระยาเดินธง”  โดยเชิญ สมาคม ชมรม ผู้ประกอบการเพาะพันธุ์และค้าสัตว์ป่าต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อม และทำความเข้าใจ ป้องกัน ควบคุม สัตว์ป่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดต่างๆ ไม่ให้หลุดรอดออกไปจนส่งผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

ภาพจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี

“ในรัฐฟลอริดา คณะกรรมการอนุรักษ์สัตว์ป่าให้การสนับสนุนให้กำจัดได้โดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะอิกัวน่าที่ปรากฏตามที่สาธารณะโดยไม่ต้องขออนุญาต ในต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการรุกรานของอิกัวน่า มีการแปรรูปเป็นอาหาร จัดทำเมนูเด็ด และมีราคาแพง เช่น ที่ประเทศกายอานา ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 2,400 บาท” นายอรรถพลกล่าว

ทั้งนี้  ขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงครอบครองสัตว์ป่าต่างประเทศให้มีความรับผิดชอบปฏิบัติข้อกฎหมายไม่ปล่อยให้เป็นอิสระ ซึ่งการปล่อยสัตว์ป่าควบคุมมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนและปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ ต้องเลี้ยงไปตลอดชีวิตและหากไม่ประสงค์จะเลี้ยงให้แจ้งและส่งมอบให้กรมอุทยานฯ ซึ่งมีระเบียบดำเนินการในส่วนนี้แล้ว

ภาพจาก: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี

Related posts

เป้าหมาย NDC ความมุ่งมั่นของไทย ก้าวย่างสู่ Net Zero และโลกยั่งยืน

COP29 มุ่งมั่นเป้าหมายทางการเงินใหม่ ชาติพัฒนาแล้วจ่าย 1 แสนล้าน

‘เฉลิมชัย’ พาหมูเด้งบุก COP29 เปิด Thailand Pavilion โชว์แก้โลกเดือด