‘โคคา-โคล่า’ ยืนหนึ่งก่อมลพิษพลาสติกสัดส่วน 11% สูงที่สุดในโลก

ผลวิจัยองค์กรระหว่างประเทศพบว่า “โคคา-โคล่า” เป็นแบรนด์สินค้าที่ก่อมลภาวะพลาสติกสูงที่สุดในโลก คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 11% รองลงมาคือ เป๊ปซี่โค สัดส่วน 5% ตามมาด้วยเนสท์เล่ และดานอน สัดส่วน 3% เท่ากัน โดยยังมีอีก 13 บริษัทจากผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ก่อมลพิษพลาสติกในสัดส่วนมากกว่า 1% ของทั้งหมด ในขณะที่ไทยยังคงรั้งอันดับ 5 ประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุด

ผลวิจัยระดับโลกโดยองค์กรระหว่างประเทศ 12 แห่ง พบว่า “โคคา-โคล่า” เป็นแบรนด์สินค้าที่ก่อมลภาวะพลาสติกสูงที่สุดในโลก คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 11% ของมลพิษพลาสติกจากแบรนด์สินค้าทั้งหมดทั่วโลก รองลงมาคือ เป๊ปซี่โค สัดส่วน 5% ตามมาด้วยเนสท์เล่ และดานอน สัดส่วน 3% เท่ากันโดยยังมีอีก 13 บริษัทจากผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ก่อมลพิษพลาสติกในสัดส่วนมากกว่า 1% ของทั้งหมด และเอกชน 56 บริษัท เป็นผู้ก่อมลพิษพลาสติก (plastic polluters) รวมกันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของมลพิษพลาสติกจากทั้งหมดทั่วโลก

เคที วิลลิส นักวิจัยจากองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติของออสเตรเลีย กล่าวเมื่อวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า นักวิจัยใช้เวลาสังเกตการณ์  5 ปี ใน 84 ประเทศ พบข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastics), การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและยั่งยืนเพื่อลดการใช้พลาสติกใหม่ทั่วโลก, การเพิ่มความสามารถในการนำผลิตภัณฑ์นั้นๆ กลับมาใช้ซ้ำ, การซ่อมแซม และการรีไซเคิล

งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารวิชาการ Science Advances นี้ เป็นทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Dalhousie University ในแคนาดา  นำโดย โทนี่ วอล์คเกอร์ ผู้ร่วมเขียนรายงานจากคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัย Dalhousie กล่าวว่า งานวิจัยครั้งนี้ค้นพบว่า บริษัทผู้สร้างมลพิษขยะพลาสติกหลายรายเป็นบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ระดับโลก ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเหล่านี้จึงกระจายเข้าถึงทุกตลาดทุกประเทศทั่วโลก

นอกจากนี้ ในปี 2000 โลกมีการผลิตพลาสติเพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 400 ล้านตัน เทียบกับปี 2019 มีการผลิตพลาสติกในระดับ 200 ล้านตัน

อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ของโคคา-โคล่า ระบุว่า บริษัทได้ตั้งเป้าจะปรับเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมดทั่วโลกภายในปี 2025 และตั้งเป้านำวัสดุรีไซเคิลแล้วอย่างน้อย 50% มาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ภายในปี 2030 นอกจากนั้น มีเป้าหมายเก็บคืนบรรจุภัณฑ์ประเภทขวดและกระป๋องทุกใบที่บริษัทจำหน่ายไป เพื่อนำกลับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลภายในปี 2030

ด้านเป๊ปซี่โค ออกแถลงการณ์เช่นกันเมื่อวันที่ 24 เม.ย. ว่า บริษัทได้ทุ่มงบลงทุนอย่างมากในระยะกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อลดการใช้บรรจุภัณฑ์ และนำนโยบาย “นำกลับมาใช้ใหม่” (reuse) มาใช้ พร้อมทั้งพัฒนาวิธีการในการเก็บคืนและรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์

เนสท์เล่ ออกแถลงการณ์ในวันเดียวกันว่า บริษัทตระหนักดีถึงปัญหาเกี่ยวกับขยะ และได้มีโครงการพัฒนาระบบการเก็บคืนบรรจุภัณฑ์ คัดแยก และรีไซเคิล ในหลายภูมิภาคของโลกไม่ว่าจะเป็นยุโรป แอฟริกา เอเชีย อเมริกาเหนือ หรือละตินอเมริกา

ด้าน ดาน่อน ยังไม่ตอบคำถามสื่อที่ต้องการความเห็นในเรื่องนี้

รายงานล่าสุดโดยบริษัทบรรจุภัณฑ์ RAJA เปิดเผยอันดับต้นๆ ของประเทศทั่วโลกที่ผลิตขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุด ดังนี้

  1. อินเดีย 5 ล้านกิโลกรัม
  2. จีน 7 ล้านกิโลกรัม
  3. อินโดนีเซีย 3 ล้านกิโลกรัม
  4. บราซิล 38 ล้านกิโลกรัม
  5. ไทย 8 ล้านกิโลกรัม
  6. เม็กซิโก 5 ล้านกิโลกรัม
  7. อียิปต์ 5 ล้านกิโลกรัม
  8. สหรัฐอเมริกา 4 ล้านกิโลกรัม
  9. ญี่ปุ่น 8 ล้านกิโลกรัม
  10. สหราชอาณาจักร 703 พันกิโลกรัม

อ้างอิง :

https://www.cbc.ca/news/climate/plastic-study-canada-1.7182609

https://www.washingtonpost.com/climate-environment/2024/04/24/plastic-pollution-companies-responsible/

https://english.news.cn/20240426/217796b87d284b93a781b0e6f2c4e6e5/c.html

https://www.euronews.com/green/2021/06/22/ranked-the-top-10-countries-that-dump-the-most-plastic-into-the-ocean

Related posts

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน

5 ปีอุณภูมิโลกส่อทะลุ 1.5 องศา ไทยเร่งรับมือ 6 สาขาเสี่ยงระดับพื้นที่