นาฬิกาเรือนแรกของโลกทำจากกากกาแฟรีไซเคิลการผลิตเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

นี่คือนาฬิกาเรือนแรกของโลกที่มีตัวเรือนที่ทำจากวัสดุกากกาแฟรีไซเคิล มาพร้อมกับสายหนังทางเลือกที่มีเส้นใยเซลลูโลสปลอดหนังสัตว์ ซึ่งผลงานการฟีเจอริ่งระหว่าง Lilienthal Berlin x Kaffeform

Kaffeeform เป็นบริษัทที่มีแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจความหมุนเวียน (circularity) โดยเปลี่ยนของเหลือทิ้งให้เป็นของใช้ประจำวันที่สวยงามและผสมผสานเข้ากับจุดประสงค์ใหม่ ส่วน Lilienthal Berlin คือ ผู้ผลิตนาฬิกาสัญชาติเยอรมัน ที่เน้นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน

เมื่อธุรกิจความยั่งยืนสองแขนงมาเจอกัน จึงกลายมาเป็น Coffee Watch ที่มีถึง 11 รุ่น 11 ดีไซน์ โดยตัวเรือนนาฬิกาทำจากกากกาแฟใช้แล้ว ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นวัสดุที่ทนทานโดยใช้กระบวนการอัพไซเคิลเฉพาะที่พัฒนาโดย Kaffeeform

นาฬิกาแต่ละรุ่นถูกออกแบบให้มีรูปลักษณ์ที่โค้งมนสะดุดตา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเมล็ดกาแฟและถ้วยกาแฟ ซึ่งออกแบบในเบอร์ลินและผลิตในเยอรมนีตามมาตรฐานคุณภาพสูงสุดและเป็นกลางคาร์บอน 100%

พวกเขารับวัสดุที่ใช้ทำเคสจากร้านกาแฟและโรงคั่วกาแฟหลายแห่งในเบอร์ลิน กากกาแฟจะถูกรวบรวมโดยผู้จัดส่งที่ใช้จักรยาน ดังนั้นจึงไม่มีการปล่อยคาร์บอน
เมื่อได้วัสดุมาแล้ว จากนั้นจึงเปลี่ยนรูปแบบโดยใช้กระบวนการอัพไซเคิลที่สร้างสรรค์อย่างเหลือเชื่อ ที่พัฒนาโดย Kaffeeform ซึ่งมีเทคโนโลยีอัพไซเคิลที่ล้ำหน้า

ดังนั้นส่วนประกอบของนาฬิกาจึงมาจากพืชเท่านั้น มีความทนทาน คงรูปทรงได้และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ แถมยังมีกลิ่นกาแฟละเอียดอ่อนให้ผู้สวมใส่ได้สัมผัสด้วย

เมื่อมองในแว่บแรกจะเห็นได้ทันทีว่า เคสนี้ทำมาจากอะไร เพราะมันรักษาสีตามธรรมชาติและเนื้อสัมผัสที่ดีของกากกาแฟไว้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้นาฬิกาแต่ละเรือนมีลวดลายเกรนที่แตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้ Coffee Watch แต่ละเรือนเป็นนาฬิกาที่ไม่ซ้ำใคร

ส่วนสายข้อมือ ผลิตจากหนังธรรมชาติจากประเทศเยอรมันที่ผ่านการฟอกด้วยสารสกัดจากพืช โดยไม่ใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง ทำให้สายรัดมีความสบายเป็นพิเศษ ระบายอากาศได้ดี และป้องกันสารก่อภูมิแพ้ กระบวนการโดยรวมมีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลและภาพ
https://lilienthal-berlin.com/cw02-02-onb006g?c=119
https://www.kaffeeform.com/en/shop/coffee-watch/

Related posts

มหาอำนาจโลกในมือ ‘ทรัมป์’ จุดจบการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ?

โลกจมกองพลาสติก ต้องเปลี่ยนวิธีผลิต ลดการบริโภค กำจัดอย่างยั่งยืน

อุณหภูมิทะลุ 3.1°C แผนลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 เป็นเรื่องเพ้อฝัน