พืชมหัศจรรย์สู้โลกร้อนเปลี่ยนชื่อ ‘สาเก’ เป็น ‘ผลขนมปัง’สามารถกินแทนข้าวได้

SONY DSC

ในไทยเราอาจมองว่า “สาเก” เป็นแค่ผลไม้ที่นำมาเชื่อมเป็นขนมหวาน แต่ในหลายๆ ประเทศในแถบหมู่เกาะเขตร้อน มันคืออาหารหลักแบบเดียวกับที่คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะสาเกมีคาร์โบไฮเดรต 27% สามารถกินแทนแป้งได้ และทำให้มันมีชื่อว่า Breadfruit หรือ “ผลขนมปัง” ซึ่งสามารถปลูกในสภาพอากาศที่โลกร้อนขึ้นและเริ่มมีปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหาร

งานวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ในเดือน ส.ค.ใน PLOS Climate ระบุว่า จำนวนผู้คนที่เผชิญกับวิกฤตอาหารทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น รุนแรงขึ้นจากโควิด-19 ความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตพืชผลที่สำคัญคาดว่าจะลดลงในพื้นที่ละติจูดต่ำ ทำให้ระบบอาหารเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนอ่อนแอเป็นพิเศษ

แต่ก็มีทางออกอยู่ นั่นคือการเพิ่มการเพาะปลูกสาเก (Artocarpus altilis) ซึ่งเป็นสายพันธุ์พืชที่ถูกละเลยมาตลอดและใช้งานน้อยเกินไป ทั้งๆ ที่มันมีศักยภาพที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับมนุษยชาติในการต้านทานสภาพอากาศที่แปรปรวนและความยั่งยืนโดยรวมของระบบการเกษตรละติจูดต่ำ นั่นคือแถบเขตร้อน

นักวิจัย ได้สร้างสถานการณ์จำลองภายใต้สถานการณ์ที่มีการปล่อยมลพิษสูง เพื่อดูว่าพื้นที่ไหนจะสามารถปลูกสาเกได้มากขึ้นบ้าง และโดยบังเอิญได้เห็นถึงโอกาสในการขยายการเพาะปลูกสาเกได้สำเร็จในทศวรรษหน้าในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราซึ่งเกิดความไม่มั่นคงทางอาหารสูง

“ในขณะที่เราใช้กลยุทธ์เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาเกควรได้รับการพิจารณาในแนวทางการปรับตัวด้านความมั่นคงด้านอาหาร” แดเนียล ฮอร์ตัน นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศ ผู้เขียนการศึกษาและผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา กล่าว

“สาเกเป็นผลไม้ที่ถูกละเลยและใช้งานน้อยเกินไป ซึ่งค่อนข้างจะยืดหยุ่นได้ในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเรา” ฮอร์ตันกล่าว “นี่เป็นข่าวดีเพราะว่าอาหารหลักอื่นๆ ที่เราพึ่งพาไม่ยืดหยุ่นมากนัก ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด พืชผลหลักบางชนิดต้องต่อสู้ดิ้นรนและให้ผลผลิตลดลง”

บ้านเราอาจคิดว่าสาเกเป็นแค่ผลไม้ที่นำมาเชื่อมเป็นขนมหวาน แต่ในหลายๆ ประเทศในแถบหมู่เกาะเขตร้อน มันคืออาหารหลักแบบเดียวกับที่คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะสาเกมีคาร์โบไฮเดรต 27% สามารถกินแทนแป้งได้ และทำให้มันมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Breadfruit หรือ “ผลขนมปัง” นั่นเอง

ข้อมูลจาก
• Lucy Yang ,Nyree Zerega,Anastasia Montgomery,Daniel E. Horton. “Potential of breadfruit cultivation to contribute to climate-resilient low latitude food systems” Published: August 17, 2022, https://doi.org/10.1371/journal.pclm.0000062
• “Climate-resilient breadfruit could boost food security”. (Aug. 31, 2022). SciDev Net.

ภาพ Hans Hillewaert/wikipedia.org

Related posts

กรรมการชาติเห็นชอบร่างพรบ.โลกร้อน เดินหน้าสู่เศรษกิจคาร์บอนต่ำ

จัดเดิน-วิ่ง มินิมาราธอน ปีที่ 2 ส่งต่อขาเทียมช่วยผู้พิการยากไร้

‘COP-19’ ดันอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอด หมอกควัน