POLLUTION

  • งานวิจัยชิ้นใหม่ระบุว่า ปลาโลมาปากขวดเกือบ 80% ที่สัมผัสกับมลพิษน้ำมันจากเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันระเบิดในอ่าวเม็กซิโกหรือที่เรียกว่า Deepwater Horizon เมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา และมีปริมาณการรั่วไหลของน้ำมันราว ๆ 470,770 ตัน ผลการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าทำให้ประชากรโลมาบริเวณอ่าวบาราทาเรียใกล้เมืองนิวออร์ลีนส์ลดลงถึง 45% และการสืบพันธุ์ลดลงอย่างมาก

  • ได้เกิด “ปรากฏการณ์หิมะดำ” ของไซบีเรียโดยเมืองทั้งเมืองและพื้นที่ใกล้เคียงกลายเป็นสีดำและสีเทาแทนที่จะเป็นสีขาวสะอาดตาของหิมะที่ตกลงมาในช่วงฤดูหนาวและต้นฤดูใบไม้ผลิ 

  • รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Witsanu Attavanich ตอนหนึ่งว่า ขณะที่แอปตรวจฝุ่นพิษ PM2.5 ของสากลในวันที่ 8 ก.พ. 2565 “สีแดง” บ่งชี้ว่าอันตรายมากต่อสุขภาพ แต่แอปของไทยยัง “เหลืองและส้ม” บ่งชี้ว่ายังไม่อันตรายมาก มันคืออะไร?? ปรับได้แล้วทั้งค่ามาตรฐานฝุ่นพิษ PM2.5 ของไทย และการสื่อสารความเสี่ยงต่อสุขภาพ ก่อนที่คนไทยจะเจ็บป่วยและล้มตายกันมากไปกว่านี้

  • นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า สถานการณ์คุณภาพอากาศ ปี 2564 ภาพรวมคุณภาพอากาศดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั่วประเทศ 21 มคก./ลบ.ม. (ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 9) ฝุ่นละออง PM10 มีค่าเฉลี่ยรายปีทั่วประเทศ 40 มคก./ลบ.ม. (ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 7) 

  • นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดน้ำมันรั่วแถบระยองและใกล้ ๆ เกาะเสม็ด ตราบใดที่ท่าเรือและแหล่งอุตสาหกรรมยังอยู่ในบริเวณนั้น เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก ซึ่งไม่ใช่แค่ระยองหรือไทย หลายประเทศก็เจอกับเรื่องแบบนี้ และหลีกเลี่ยงได้ยากหากเรายังใช้พลังงานฟอสซิลกันต่อไป คำถามก็คือ เมื่อเกิดน้ำรั่วแบบนี้แล้ว เราไปโฟกัสแค่คราบน้ำมันบนชายหาดเท่านั้นยังไม่พอ มันยังมีผลต่อชีวิตสัตว์ทะเลมากมายที่เรามองไม่เห็น ดังนั้นเราจะมาดูตัวอย่างหายนะที่ร้ายแรงกกว่าระยองกันว่า เมื่อน้ำมันรั่วลงทะเลแล้วมันมันเกิดอะไรตามมาหลังจากนั้น? 1. การรั่วไหลของน้ำมันของแท่นขุดเจาะ Exxon Valdez ปี 1989 เป็นการรั่วไหลใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาช่วงทศวรรษที่ 80 ผลกระทบทางนิเวศวิทยามากมาย ผลกระทบในทันที ได้แก่ การเสียชีวิตของนกทะเลระหว่าง 100,000 – 250,000 ตัว …

  • มลพิษโอโซนที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องในเอเชียสร้างความเสียหายต่อการปลูกข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพดให้กับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ประมาณ 63,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เฉพาะจีนเพียงประเทศเดียวเสียหายถึงหนึ่งในสามของการผลิตข้าวสาลีที่มีศักยภาพ และเกือบหนึ่งในสี่ของผลผลิตข้าว เนื่องจากโอโซนขัดขวางการเจริญเติบโตของพืช เชื้อเพลิงพลังงานฟอสซิลจากรถยนต์และอุตสาหกรรมจึงไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทำให้คุณภาพอากาศที่แย่ลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรในเอเชียตะวันออกอีกด้วย จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น มีมลพิษจากโอโซนในระดับสูง ในขณะที่เอเชียเป็นแหล่งผลิตข้าวมากถึง 90% ของโลก ซึ่งนักวิจัยที่นำโดย Zhaozhong Feng จาก Nanjing …

Copyright @2021 – All Right Reserved.