CLIMATE

  • ไม่ใช่เรื่องปกตินักที่เราจะเห็นหิมะตกในพื้นที่แห้งแล้งกลางทะเลทราย แม้ว่าบางครั้งมันจะเกิดขึ้นได้ในทะเลทรายบางพื้นที่ เช่น ทะเลทรายในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเขตอบอุ่น (หรือที่เรียกว่าเมืองหนาว) หรือทะเทรายที่อยู่ใกล้เทือกเขาสูงระดับโลก เช่น ในทวีปอเมริกาใต้ แต่เป็นปรากฎการณ์ม่ค่อยปกติแน่ถ้าหิมะจะไปตกกลางทะเลทรายของประเทศที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เช่น ที่ซาอุดีอาระเบียเมื่อต้นเดือนนี้ ช่างภาพชาวซาอุดีอาระเบีย ออสมา อัล-ฮาบรี (Osama Al-Habri) ได้ถ่ายภาพทางอากาศจากเขตปกครองบัดร์ (Badr Governorate) หรือบะดัร ซึ่งมองเห็นภาพเหมือนการปูพรมด้วยหิมะสีขาวละลานตา ในภาพจะเห็นชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อชมภาพปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา ซึ่งอัล-ฮาบรีบอกกับ CNN ว่ามันไม่ธรรมดาจริง ๆ เพราะสภาพอากาศในฤดูหนาวที่มีความรุนแรงเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาหลายปีแล้วในทะเลทรายบัดร์ นอกจากหิมะแล้วยังมีลูกเห็บตกอย่างหนัก ซึ่งกล่าวได้ว่ามันเป็น “พายุลูกเห็บครั้งประวัติศาสตร์” …

  • ประเทศที่ร้อนตับแตกตลอดเวลาเหมือนเมืองไทยอาจจะรู้สึกแค่ว่ามันร้อนมากกว่าเดิม (นิดหน่อย) แต่ส่วนใหญ่คงไม่รู้ว่า เมื่อสภาพภูมิอากาศโลกปั่นป่วนมันไม่ได้ทำให้แค่ร้อนขึ้น แต่ยังทำให้อุณภูมิไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืช เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมทำลายพืชผล และผู้คนจะอดอยากหลายพันล้านคน จากตัวเลขล่าสุด หากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม จะมีผู้คนมากถึง 1,800 ล้านคนต้องอดอยากหิวโหย การวิจัยเมื่อหลายปีก่อนระบุว่ามีโอกาส 90% ที่ผู้คน 3,000 ล้านคนจะต้องเลือกระหว่างทนหิวโหยหรืออพยพครอบครัวไปยังดินแดนที่สภาพอากาศไม่รุนแรงภายใน 100 ปี ไม่ต้องอะไรมาก ข้อมูลล่าสุดจากออสเตรเลียพบปลาดาวชนิดหนึ่ง (Pentaceraster regulus) ที่ตามปกติอาศัยอยู่ในเขตร้อน มันกลับไปปรากฏตัวในน่านน้ำที่เย็นกกว่าห่างจากถิ่นเดิมของมันถึง 600 กิโลเมตร และไม่น่าจะใช่เรื่องของการพลัดถิ่นโดยบังเอิญ …

  • ภูเขาน้ำแข็ง A68 เคยถูกบันทึกให้เป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะได้แตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ขณะนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์หวั่นเกรงและจับตาว่า หากมันอาจเกยไหล่ทวีปหรือเข้าชนเกาะจอร์เจียใต้ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษและเป็นที่อยู่ของนกเพนกวิน ประชากรแมวน้ำ และวาฬ จำนวนนับล้านอาจจะได้รับผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร ที่มากกว่านั้นนักวิทยาศาสตร์จาก British Antarctic Society (BAS) ระบุว่า การปล่อยน้ำจืดที่ค่อย ๆ ละลายมาเรื่อยจะสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศของเกาะบริเวณนั้นเป็นเวลากว่าทศวรรษหรือมากกว่านั้น ซึ่งจนถึงเดือนมีนาคม 2021 ภูเขาน้ำแข็งได้ปล่อยน้ำจืดลงมหาสมุทรแล้วจำนวน 1.52 แสนล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก 61 ล้านสระ ปัญหาไม่ได้จบแค่น้ำจืดละลายลงสู่ทะเล แต่น้ำที่ค่อย ๆ …

  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดตั้งกองอำนวยการควบคุมไฟป่าขึ้นใหม่จำนวน 16 แห่ง เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ปัญหาไฟป่าประจำปี 2565 ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุกปีเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง ผลกระทบจากการเกิดไฟป่านอกจากสร้างความเสียหายให้แก่ผืนป่าโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป โดยเฉพาะปัญหาหมอกควันจากไฟป่าได้สร้างความเสียหายด้านสุขภาพของประชาชน ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งกรมอุทยานฯ จึงได้จัดตั้งกองอำนวยการควบคุมไฟป่าเพื่อดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำคัญ และพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ จำนวน 16 แห่ง ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีการนำร่องเปิดกองอำนวยการควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง ณ สถานีควบคุมไฟป่าห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี …

Copyright @2021 – All Right Reserved.