Climate Change

  • การหนีตายจากคลื่นความร้อนที่กำลังวิกฤตในหลายพื้นที่ของโลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมชั้นสูง ลงทุนมาก และจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลเสมอไป อย่างเช่น บริษัทสถาปนิก AREP ได้เสนอแนวคิดในธีม “การสร้างเมืองที่ยืดหยุ่น” ใช้อุปกรณ์ทำความเย็นทางเลือกจากไม้ไผ่ที่ไม่ใช้พลังงาน หรือก๊าซหล่อเย็นใด ๆ แต่แก้ปัญหาได้ยั่งยืน 100% แถมใช้เทคโนโลยีต่ำ และราคาไม่แพง เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศเสี่ยงเผชิญวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก เช่นจะเกิดปรากฏการณ์น้ำท่วม ไต้ฝุ่น คลื่นความร้อน และความแห้งแล้ง โดยคาดว่าจะความรุนแรงและความถี่มากขึ้นภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ท่ามกลางปัญหาที่เวียดนามกำลังเผชิญอยู่ คลื่นความร้อนน่าจะเป็นสถานการณ์ที่กินเวลานานและยืดเยื้อมากที่สุดสถานการณ์หนึ่ง ฉะนั้น “เครื่องปรับอากาศ” ที่จะช่วยลดความร้อนจึงจะเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นด้วย เพราะการใช้เครื่องปรับอากาศมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่สูง กินพลังงานมหาศาลจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และยังมีปัญหาการรั่วไหลของก๊าซหล่อเย็นสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ภายในงาน …

  • ภาวะโลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เราเป็นเหมือน “กบถูกต้ม” ที่ความร้อนเดือดมากขึ้นทีละน้อยจนตายไม่รู้ตัว นี่คือข้อมูลล่าสุดที่เราได้มาจากปี 2564 ซึ่งเป็นอีกปีที่ร้อนที่สุดจากเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันที่โลกร้อนไม่หยุดเลย การประเมินประจำปีโดย Copernicus หน่วยงานด้านสภาพอากาศของยุโรปพบว่า 7 ปีที่ผ่านมาร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยที่อุณหภูมิโลกในปี 2564 อยู่ที่ 1.2 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม Copernicus ยังพบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทรงพลังมากนั้นเพิ่มขึ้น “อย่างมาก” ซึ่งเป็นสถิติใหม่เช่นกัน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยในปี 2564 ทำสถิติสูงสุดใหม่ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ 414 …

  • การละลายของชั้นน้ำแข็งถาวรในผืนดินใกล้ขั้วโลก (Permafrost) ไม่ใช่แค่ปัญหาของแถบใกล้ขั้วโลกอีกต่อไป การค้นพบล่าสุด เว็บไซต์ Nature เผยว่า มันส่งผลกระทบไปทั่วโลก Permafrost คือ พื้นดินที่เยือกแข็งตลอดเวลา โดยปกติแล้วหมายถึงมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองปีขึ้นไป (ที่จริงแล้วมันจะแข็งยาวนานเป็นหมื่น ๆ ปีก็ได้) ประมาณ 15% ของซีกโลกเหนือหรือ 11% ของพื้นผิวโลกอยู่ภายใต้ชั้นดินเยือกแข็งนี้ ด้วยความที่มันแข็งตัวได้เป็นหมื่น ๆ ปี Permafrost จึงมีชีวมวลจำนวนมาก และชีวมวลที่ย่อยสลายได้ซึ่งถูกเก็บไว้เป็นก๊าซมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ …

  • ยุโรปหันมาเลิกสนใจกับ “วันหมดอายุ” ที่ปิดไว้บนบรรจุภัณฑ์อาหารในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ “หมดอายุ” วันนั้นทันที แต่ยังสามารรับประทานได้อีกนานหรือไม่ก็สามารถนำมาแปรรูปได้ด้วย iGreen เคยนำเสนอประเด็นอาหารหมดอายุที่ยังบริโภคได้มาอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะมันช่วยลดภาระของโลกในการแบกรับของเสียจากอาหารกินทิ้งกินขว้างที่มีมากถึง 900 ล้านตันต่อปี และคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากคาร์บอนไดออกไซด์จากการทิ้งอาหารเหลือกินอยู่ที่ประมาณ 3,300 ล้านตัน ล่าสุด Morrisons ซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีชื่อเสียงในอังกฤษเตรียมเลิกกำหนดวันหมดอายุกับผลิตภัณฑ์นมเกือบทั้งหมด โดยกล่าวว่าการทำแบบนี้จะช่วยหยุดการเทนมทิ้งหลายล้านลิตรในแต่ละปี เพราะหมดเชื่อว่าถ้ากำหนดวันหมดอายุผู้บริโภคจะไม่กล้าดื่มมัน หลังจากเลิกบอกวันหมดอายุแล้ว Morrisons จะปิดฉลาด ‘best before’ หรือคุณภาพดีที่สุดก่อนวันที่ …

Copyright @2021 – All Right Reserved.