Climate Change

  • “อูลานบูวา” (Ulaanbuwa Desert) หรือ “ทะเลทรายกระทิงแดง” อยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียของสาธารณรัฐประชาชนจีน กระจายอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบเหอเท่า ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเหลือง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 0.99 ถึง 10,300 ตารางกิโลเมตร ติดอันดับหนึ่งในแปดทะเลทรายในประเทศจีนในแง่ของพื้นที่ “ทะเลทรายกระทิงแดง” มีสภาพเป็นทะเลแห่งทรายจริง ๆ นั่นคือเต็มไปด้วยเนินทราย แทบจะไร้ต้นไม้ มีเพียงบางจุดที่มีความชื้นหรือแหล่งน้ำเท่านั้นที่พอจะมีต้นไม้ไม่กี่ต้นและพุ่มหญ้าเป็นหย่อม ๆ มันจึงเป็นดินแดนที่แทบจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และด้วยสภาพภูมิอากาศโลกที่แย่ลงทุกที มีโอกาสที่ทะเลทรายจะขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ แต่จีนเสียอย่างไม่ยอมง่าย ๆ จึงผุดโปรเจกต์ใหญ่เปลี่ยนทะเลทรายเป็นพื้นที่สีเขียว ด้วยการสร้าง “กำแพงเมืองจีนสีเขียว” …

  • เมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา มาร์คุส ไรช์ไตน์ (Markus Reichstein) ผู้อำนวยการแผนกชีวธรณีเคมีบูรณาการของสถาบันมักซ์-พลังค์ว่าด้วยชีวธรณีเคมี (Max-Planck-Institute for Biogeochemistry) ในเยอรมนี ได้โพสต์ภาพเคลื่อนไหวบน Twitter เป็นภาพที่แปลกตามากเพราะดูเหมือนโลกกำลังพองขึ้นและยุบตัวลงเป็นจังหวะ ภาพนี้ไรชไตน์สร้างขึ้นจากข้อมูลจากการสังเกตการณ์ด้วยดาวเทียมและสถานีตรวจสอบคาร์บอนหลายร้อยแห่งทั่วโลก จะเห็นว่าโลกจะยุบตัวในช่วงฤดูร้อน ซึ่งบ่งบอกถึงเวลาและสถานที่ที่พืชพรรณเติบโต และพืชดูดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อถึงฤดูหนาว ทวีปต่าง ๆ ดูเหมือนจะพองตัว ซึ่งบ่งชี้ว่าพืชพรรณกำลังจะตาย (หรือจำศีล) และคาร์บอนก็ถูกปลดปล่อยออกมาอันที่จริงแล้วหากดูภาพเคลื่อนไหวของ NASA Goddard เมื่อปี …

  • การหนีตายจากคลื่นความร้อนที่กำลังวิกฤตในหลายพื้นที่ของโลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมชั้นสูง ลงทุนมาก และจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาลเสมอไป อย่างเช่น บริษัทสถาปนิก AREP ได้เสนอแนวคิดในธีม “การสร้างเมืองที่ยืดหยุ่น” ใช้อุปกรณ์ทำความเย็นทางเลือกจากไม้ไผ่ที่ไม่ใช้พลังงาน หรือก๊าซหล่อเย็นใด ๆ แต่แก้ปัญหาได้ยั่งยืน 100% แถมใช้เทคโนโลยีต่ำ และราคาไม่แพง เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศเสี่ยงเผชิญวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก เช่นจะเกิดปรากฏการณ์น้ำท่วม ไต้ฝุ่น คลื่นความร้อน และความแห้งแล้ง โดยคาดว่าจะความรุนแรงและความถี่มากขึ้นภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ท่ามกลางปัญหาที่เวียดนามกำลังเผชิญอยู่ คลื่นความร้อนน่าจะเป็นสถานการณ์ที่กินเวลานานและยืดเยื้อมากที่สุดสถานการณ์หนึ่ง ฉะนั้น “เครื่องปรับอากาศ” ที่จะช่วยลดความร้อนจึงจะเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นด้วย เพราะการใช้เครื่องปรับอากาศมีต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่สูง กินพลังงานมหาศาลจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และยังมีปัญหาการรั่วไหลของก๊าซหล่อเย็นสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย ภายในงาน …

  • ภาวะโลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เราเป็นเหมือน “กบถูกต้ม” ที่ความร้อนเดือดมากขึ้นทีละน้อยจนตายไม่รู้ตัว นี่คือข้อมูลล่าสุดที่เราได้มาจากปี 2564 ซึ่งเป็นอีกปีที่ร้อนที่สุดจากเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันที่โลกร้อนไม่หยุดเลย การประเมินประจำปีโดย Copernicus หน่วยงานด้านสภาพอากาศของยุโรปพบว่า 7 ปีที่ผ่านมาร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยที่อุณหภูมิโลกในปี 2564 อยู่ที่ 1.2 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม Copernicus ยังพบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทรงพลังมากนั้นเพิ่มขึ้น “อย่างมาก” ซึ่งเป็นสถิติใหม่เช่นกัน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยในปี 2564 ทำสถิติสูงสุดใหม่ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ 414 …

Copyright @2021 – All Right Reserved.